โควิด-19

ศิริราช เผยผลศึกษาวิจัย "ฉีดวัคซีนไขว้" เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

22 ก.ย. 2564

คณะแพทยฯ ศิริราช เผยผลการศึกษาวิจัย "ฉีดวัคซีนไขว้" เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน ชี้ฉีด "ซิโนแวค" เข็มแรก ตามด้วย แอสตร้าฯ - ไฟเซอร์ เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี

วันที่ 22 กันยายน 2564 ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปผลจากการศึกษาวิจัยการ "ฉีดวัคซีนไขว้" เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน 

 

 

ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัย โดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปได้ว่า 

 

1. การ ฉีดวัคซีน "แอสตร้าเซนเนก้า" แล้วตามด้วยวัคซีน "ไฟเซอร์" ได้ระดับภูมิคุ้มกันสูงสุด 2,259.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร 

 

2. การฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" แล้วตามด้วยวัคซีน "ไฟเซอร์" ได้ระดับภูมิคุ้มกันดีรองลงมา ที่ 2,181.8 หน่วยต่อมิลลิลิตร 

 

3. การฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" แล้วตามด้วยวัคซีน "แอสตร้าเซนเนก้า" ได้ระดับภูมิคุ้มกัน 1,049.7 หน่วยต่อมิลลิลิตร 

 

การใช้ "วัคซีนซิโนแวค" เป็นเข็มแรก แล้วตามด้วย "แอสตร้าฯหรือไฟเซอร์" เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี 
 

การ "ฉีดวัคซีน" แอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มแรก ควรตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 

 

การวัดเป็นผล anti-RBD IgG วัดโดยเครื่อง Abbott และรายงานเป็นหน่วยมาตรฐาน BAU/mL ส่วนผลการวัดแบบ PRNT50 จะมีการรายงานต่อไป 

 

ศิริราช เผยผลศึกษาวิจัย \"ฉีดวัคซีนไขว้\" เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

 

 

นอกจากนี้ผลการศึกษายังไม่มีปัญหาเรื่อง "อาการข้างเคียง" หลัง ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ในระยะเวลาห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ 

 

ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนเพื่อยืนยันภูมิคุ้มกันจากการศึกษานี้ 

 

ศิริราช เผยผลศึกษาวิจัย \"ฉีดวัคซีนไขว้\" เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

 

ที่มา Siriraj Institute of Clinical Research

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง