โควิด-19

เริ่มแล้ว "อินเดีย"อนุมัติใช้"วัคซีน DNA"ตัวแรกของโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเทศอินเดีย อนุมัติใช้"วัคซีน DNA" วัคซีนไร้เข็ม ตัวแรกของโลก ทดสอบในวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี เล็งเพิ่มกำลังการผลิตสูงสุด 120 ล้านโดสต่อปี

เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2564 กระทรวงสาธารณสุขอินเดีย แถลงว่า ทางการอนุมัติเป็นกรณีฉุกเฉิน ให้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19  ZyCoV-D ของบริษัท Cadila Healthcare ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตจาก "ดีเอ็นเอ" ตัวแรกของโลก และยังเป็นวัคซีนตัวแรกของอินเดีย ที่ฉีดโดยไม่ต้องใช้เข็ม

วัคซีน ZyCoV-D เป็นวัคซีนแบบ 3 โดส ผลิตจากพลาสมิด หรือวงแหวนดีเอ็นเอเล็ก ๆ ที่มีข้อมูลของยีน เมื่อฉีดเข้าร่างกายแล้ว พลาสมิดนี้จะสอนให้เซลล์สร้างโปรตีนหนาม หรือ Spike Protein ที่ โควิด-19 ใช้ยึดเกาะแล้วเข้าเซลล์ของมนุษย์ เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลิตแอนติบอดี และสู้กับเชื้อไวรัส

 

เริ่มแล้ว "อินเดีย"อนุมัติใช้"วัคซีน DNA"ตัวแรกของโลก

โดยเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ไซดัส คาดิลา ได้ยื่นขออนุมัติวัคซีน ZyCoV-D แบบฉีด 3 โดส ซึ่งเป็นวัคซีนพลาสมิดดีเอ็นเอ (Plasmid DNA)ตัวแรกของโลก ต่อองค์การควบคุมยาแห่งอินเดีย (DCGI) พร้อมระบุว่า ZyCoV-D เป็นวัคซีนชนิดไร้เข็ม หรือวัคซีนที่ใช้วิธีฉีดผ่านเครื่อง เพื่อให้น้ำยาเข้าไปในผิวหนัง และปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยวางแผนจะดำเนินการผลิตสูงสุด 120 ล้านโดสต่อปี

 

วัคซีน ZyCoV-D เข้าสู่การทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย ในศูนย์ทดลองมากกว่า 50 แห่ง และนับเป็นครั้งแรกของอินเดีย ที่ทดสอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประชากรวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี พร้อมระบุว่า มีประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว เข้าร่วมการทดลองราว 1,000 คน และพบว่า วัคซีนมีความปลอดภัย และมีความทนทานดีมาก

โดยผลการทดลอง ไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรง หรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 พร้อมชี้ว่า การปรับใช้เทคโนโลยีพลาสมิดดีเอ็นเอนั้น เหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 เนื่องจาก สามารถปรับให้เข้ากับการกลายพันธุ์ของไวรัสได้อย่างง่ายดาย ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์
ที่อุบัติขึ้นแล้ว หากผ่านการอนุมัติ วัคซีน ZyCoV-D จะกลายเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ที่ถูกนำมาใช้งานในอินเดีย ถัดจากวัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) 
ของสถาบันเซรุ่มอินเดีย (SII) วัคซีนโควาซิน (Covaxin) ของภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) วัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ของรัสเซีย และวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ของสหรัฐ

 

 

logoline