Program Online

(คลิป) ครั้งแรกในไทยนำ ‘ขวดพลาสติก’ PET กลับมารีไซเคิลเป็นแบบ rPET 100%

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิป) ครั้งแรกในไทยเป๊ปซี่ใช้ขวดรีไซเคิล rPET จาก ‘ขวดพลาสติก’ ใช้แล้ว นำมาบรรจุเครื่องดื่มหลังจาก อย.ปลดล็อกกฎหมายให้ใช้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลมากขึ้น

ข่าวดีของประเทศไทยเพราะเมื่อปี 2565 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ผ่านหลักเกณฑ์การอนุญาตให้นำพลาสติกกลับมารีไซเคิล เพื่อบรรจุอาหารได้เป็นครั้งแรก

หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทยที่มีมากถึง 4.7 ล้านตันต่อปี เฉพาะ "ขวดพลาสติก" ก็มีมากถึง 0.4 ล้านตันแล้ว ขยะเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพราะต้องใช้เวลานานในการย่อยสลาย แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือการกำจัดขวดพลาสติกที่ผิดวิธีจนก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซค์ในชั้นบรรยากาศ 

 

 

 

ปัจจุบันหลายผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ "ขวดพลาสติก" ประเภท PET หันมาให้ความสนใจใช้บรรจุภัณฑ์แบบรีไซเคิลมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ผลิตและจำหน่ายเปปซี่ อย่าง บริษัท ซันโทรี่ เปปซี่โค ประเทศไทย ที่เปิดตัวขวดเป๊ปซี่แบบ rPET 100% ถือว่าเป็นครั้งแรกของไทยที่มีการใช้ขวดรีไซเคิลบรรจุเครื่องดื่มภายหลังจากที่ อย. ปลดล็อกกฎหมาย 


ทุกขั้นตอนในการรีไซเคิลขวดเปปซี่แบบ rPET  ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ได้ร่วมมือกับ เอ็นวิคโค่ ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุญาตให้รีไซเคิลขวดพลาสติกเกรดคุณภาพอาหาร โดยในกระบวนการผลิต และรีไซเคิลทุกขั้นตอนดำเนินการตามมาตรฐานของ อย. เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกขวดที่เป็นชนิด PET เท่านั้น 


หลังจากนั้นจึงนำขวดเข้าสู่ระบบการทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยี ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ความปลอดภัยระดับสากล จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา จากนั้นขวดพลาสติกทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวน คัดแยกขวดและฝา และเข้าสู่ขั้นตอนการตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ  ก่อนจะถูกทำความสะอาดซ้ำๆ อีกครั้งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อทำให้เป็นเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก ก่อนที่ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค จะนำไปขึ้นรูปเป็นขวดบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลแบบ 100%  

 

สำหรับการนำขวดแบบ rPET มาใช้บรรจุเครื่องดื่มเป๊ปซี่ หรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆจะช่วยลดขยะได้มากถึง  6 หมื่นตันต่อปี ลดปริมาณก๊าซคาร์บอน 7.5 หมื่นตันต่อปี เท่ากับการปลูกต้นไม้ 8 ล้านต้น ที่สำคัญกว่านั้นคือการนำขวดรีไซเคิลแบบ rPET มาใช้ยังเป็นการลดขยะพลาสติกจากขวดเป๊ปซี่ และขวดพลาสติกอื่นๆ แบบ 100% เพราะสามารถรีไซเคิลซ้ำๆ ได้ตลอดไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ