Program Online

กระทรวงศึกษาธิการ "บัณฑิตยุคใหม่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กระทรวงศึกษาธิการ "บัณฑิตยุคใหม่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล"

กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งมั่นจริงจังในการขับเคลื่อนการพัฒนายกระดับสถาบันการศึกษาของประเทศให้สร้างบุคลากร หรือแรงงานในอนาคตให้มีทักษะดิจิทัลที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเทคโนโลยีเปลี่ยนฉับพลัน (Disruptive Technology) ถือเป็นการปฎิรูปการศึกษาแบบพลิกโฉมครั้งสำคัญของประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้การรับรองวุฒิบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์สากล (International Computer Driving License : ICDL) ให้กับทุกหลักสูตรอย่างเป็นทางการ

 

กระทรวงศึกษาธิการ \"บัณฑิตยุคใหม่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล\"

โดยมีการมอบประกาศนียบัตรรับรอง (Certificate of Recognition) ให้กับ ICDL เพื่อเป็นการยอมรับและยืนยันถึงความต้องการจำเป็นในการร่วมกันพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของกำลังคนด้านดิจิทัลของประเทศให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะ นักเรียน นิสิตและนักศึกษาทุกระดับในสถาบันการศึกษาที่เป็นรากฐานแห่งแรงงานสมรรถนะสูงในอนาคต ซึ่ง ICDL จะเป็นใบเบิกทางของคนทำงานยุคใหม่ ที่สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศและทั่วโลก  อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์การขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 ในยุทธศาสตร์ที่สาม “การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน”  

 

จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (World Talent Ranking) จำนวน 63 ประเทศ ในปี 2561 โดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าประเทศไทยมีอันดับที่ตกลง 3 อันดับ โดยลดลงจากอันดับที่ 27 ในปี 2560 มาเป็นอันดับที่ 30 ในปี 2561 

 

เมื่อพิจารณาคะแนนที่ประเทศไทยได้รับในระยะตั้งแต่ปี 2557 - 2561 จะเห็นได้ว่ามีคะแนนที่สูงขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา แต่ในปี 2561 คะแนนของประเทศไทยลดลง โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีคะแนน 79.45 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของ 63 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเท่ากับ 76.61 คะแนนของประเทศไทยยังอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

แต่รัฐบาลและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศควรมีการเร่งดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสภาพแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้ทุกภาคเศรษฐกิจสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้บริบทใหม่ของโลก จะทำให้ประเทศไทยมีอันดับขีดความสามารถที่สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน

เราพบว่า ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี นั้น ได้มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน เพื่อมุ่งไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประเทศ ในขณะที่แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนด้วยเช่นเดียวกัน

 

นอกจากนั้น ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 ยังมีเป้าหมายด้านผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นทักษะการรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) เป็นการทำให้ผู้เรียนก้าวทันต่อการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) กระทรวงศึกษาธิการจึงเดินหน้าปลดล็อคครั้งสำคัญ รับรองวางเกณฑ์การประเมินทักษะด้านดิจิทัลด้วยมาตรฐานสากล ICDL ในทุกหลักสูตร ถือเป็นการปฎิรูปการศึกษาครั้งสำคัญเพื่อสร้างตัวชี้วัดให้ภาคการศึกษาที่ต้องพัฒนานักเรียน นิสิตและนักศึกษาให้มีความเข้มแข็งด้านทักษะดิจิทัลระดับสากล มีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังคนคุณภาพที่พร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ในอนาคต

 

กระทรวงศึกษาธิการ \"บัณฑิตยุคใหม่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล\"

 

ทุกหลักสูตรของ ICDL ที่ทางกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองนั้น ถือว่าเป็นใบบิกทางให้กับ นักเรียน นิสิตและนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ได้มีความพร้อมด้านทักษะดิจิทัลเพื่อเข้าสู่การทำงานในอันที่บ่งบอกถึงขีดความสามารถด้านดิจิทัลที่มีมาตรฐานของตนได้ เป็นประโยชน์และเพิ่มโอกาสให้กับผู้สมัครงาน และบริษัทหรือผู้ประกอบการสามารถเลือกบุคลากรที่มีความสามารถได้โดยพิจารณาจากการมีใบรับรองด้านทักษะดิจิทัลของผู้สมัครนั้นเอง  โดยหลักสูตร ICDL ที่ได้รับการรับรอง ครอบคลุมตั้งแต่ทักษะดิจิทัลระดับพื้นฐานที่จำเป็นไปจนถึงระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มทักษะหลัก ได้แก่

 

1  กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับที่จำเป็นสำหรับกำลังคน (Workforce Digital Skills) ได้แก่ 1.1 กลุ่มหลักสูตรทักษะดิจิทัลพื้นฐาน (Basic skills) ได้แก่ พื้นฐานคอมพิวเตอร์ (Computer Basics) พื้นฐานการออนไลน์ (Online Basics) 1.2 กลุ่มหลักสูตรเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน (Productivity Skills) ได้แก่ หลักสูตรเพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลหรือโปรแกรมอำนวยความสะดวก (Application) ขั้นต้นสำหรับการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ได้แก่ การประมวลผลคำ (Word Processing) แผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และการนำเสนอ (Presentation) 1.3 กลุ่มหลักสูตรเพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสม การทำงานร่วมกันออนไลน์ (Online Collaboration) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่คงและปลอดภัย (IT Security) และ

 

2. กลุ่มทักษะดิจิทัลระดับสูง (Professional/Occupational Digital Skills) จัดกลุ่มตามลักษณะเฉพาะของงาน อาทิ  2.1 กลุ่มหลักสูตรสำหรับสายการตลาดและการสื่อสาร 2.2 กลุ่มหลักสูตรสำหรับสายการเงินและการบริหาร 2.3 กลุ่มหลักสูตรสายการออกแบบ 2.4 กลุ่มหลักสูตรสายเทคนิค 2.5 กลุ่มหลักสูตรสำหรับครูอาจารย์นักการศึกษา

 

หลักสูตรวุฒิบัตรล่าสุดตอบโจทย์ความต้องการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่สำหรับอนาคต อาทิ Computing, Digital Marketing, 3D CAD  Information Literacy, ICT in Education, Data Protection, Data Analytics เป็นต้น

 

ปัจจุบัน ICDL ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานและสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ของรัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ สหประชาชาติ ยูเนสโก หน่วยงานด้านการศึกษา และบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งหลักสูตรมาตรฐาน สากล ICDL ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้นำอันดับหนึ่งเรื่องมาตรฐานการวัดความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันได้ใช้ ICDL กันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับราชการ บริษัทเอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนต่าง ๆ ในระดับนานาประเทศรวมมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก

 

อีกทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ รวมมากกว่า 42 ภาษา รวมทั้งภาษาไทยด้วย ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนสอบ ICDL ไปแล้วกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก ข้อสอบและวุฒิบัตรที่มอบไปแล้วจำนวนมากกว่า 54 ล้านฉบับ และยังมีการจัด ICDL Digital Challenge  สุดยอดการแข่งขันด้านทักษะดิจิทัล เพื่อคัดเลือกและเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนไทยด้านทักษะการใช้ดิจิทัล เพื่อไปชิงตำแหน่งสุดยอดของเอเซีย! ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นในระดับประเทศวันที่ 31 พฤษภาคม

 

แท้จริงแล้ว ภารกิจสำคัญของรัฐบาลที่ต้องทำการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและนำประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และดิจิทัลไทยแลนด์ให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น ยิ่งต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา คนทำงาน และบุคคลทั่วมีศักยภาพด้านดิจิทัลมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ