Program Online

(คลิปข่าว) กห.แจง "งบกองทัพ"ถูกตัดช่วงวิกฤติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) กห.แจง "งบกองทัพ"ถูกตัดช่วงวิกฤติ ศก.ส่งผลให้อาวุธเสื่อมสภาพ

กห.กางข้อมูล "งบกองทัพ"ถูกตัดไปช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้อาวุธเสื่อมสภาพ ไม่มีงบฯ ฝึก ต้องกลับมาพัฒนาให้พร้อมรับภัยคุกคาม ไร้นัยพิเศษ อัตราการเพิ่มไม่ต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เผยตัวเลขงบประจำ 49% ซื่ออาวุธ ชี้ผ่านขั้นตอน พ.ร.บ.งบประมาณ ระบุโปร่งใสตรวจสอบได้มากขึ้นใน "ยุคลุงตู่" ขอให้นักการเมืองมาพูดคุย อย่าพูดลอยๆ พร้อมรับข้อเสนอแนะ หาแนวทางปฏิรูปกองทัพให้เหมาะสม

พล.ท.คงชีพ ระบุเดิมงบประมาณทั้งประเทศวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท ถึงปัจจุบันเพิ่มเป็นจำนวน 3 ล้านล้านบาท ซึ่งการจัดทำงบประมาณในส่วนของกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ 2536 ถึง 2541 อยู่ที่ 12.7% ของประเทศ แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจก็ถูกลดจนเหลือเพียง 6.5 ถึง 6.3% แต่อย่างไรก็ตามหลังปี 2549 งบประมาณได้เพิ่มเป็น 7.38% จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังอยู่ที่  227,126 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.57 % ของงบประมาณประเทศ โดยปี 2549-2562 ก็อยู่ที่ประมาณ 7.59 % ไม่ต่างจากยุคของรัฐบาล นส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร ที่มีการการเติบโตยังคงอยู่ที่เกณฑ์ 7% ซึ่งเป็นปกติไม่มีนัยยะพิเศษใด  ทั้งนี้  ช่วงเกิดวิกฤติจนงบประมาณกระทรวงกลาโหมถูกปรับลดลงเหลือเพียง 6% จนทำให้ไม่มีงบประมาณในการฝึก งบประมาณ ในการใช้น้ำมัน ต้องใช้กระสุนสำรองในอัตราสงครามมาใช้ฝึก หรือแม้แต่การบำรุงยุทโธปกรณ์ทำให้ยุทโธปกรณ์เสียหายโดยเฉพาะ นักบินเกิดวิกฤติสมองไหลเพราะไม่มีชั่วโมงบิน  ซึ่ง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมต.กลาโหม  ทราบเรื่องนี้ดีและเมื่อผ่านวิกฤติไปแล้วเป็นช่วงฟื้นฟูในปี 2549 ถึง 2551 ทำให้งบประมาณถูกปรับขึ้นมาเป็น 7.9% เมือเปรียบเทียบการจัดทำงบประมาณที่มีการเติบโตตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ (จีดีพี) ตามแผนพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพที่ตั้งไว้ของประเทศไทย อยู่ในอันดับ 6 หรือ 7 ของประเทศในอาเซียน โดยอันดับ 1 คือประเทศสิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม มาเลเซีย ซึ่งการพิจารณาแผนพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพจะเป็นการรับรองภัยคุกคามตามห้วงระยะเวลาต้องมียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยสมัย ป้องกันการสูญเสียอธิปไตยแต่ไม่ได้ทำมากเกินไปการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นการจัดหาที่เป็นไปได้และดำรงสภาพในการป้องกันประเทศได้ตามรัฐธรรมนูญอีกทั้งต้องสร้างความพร้อมรบให้เพียงพอต่อการปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดภัยคุกคาม ภายใต้ภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทยอย่างไรก็ตาม งบประมาณกระทรวงกลาโหม 49% เป็นงบรายจ่ายที่ให้กับบุคลากร อาทิ เงินเดือน สิทธิกำลังพล ด้านสวัสดิการของกำลังพล ซึ่งเป็นงบประจำอยู่แล้ว ส่วนอีก 20 %  เป็นงบประมาณด้านการเตรียมกำลัง การพัฒนายุทโธปกรณ์ การจัดตั้งหน่วยใหม่ ซึ่งเป็นงบฯ ในการจัดหายุทโธปกรณ์ 14.75 % ซึ่งการจัดซื้อเป็นเรื่องของกองทัพในการผูกพันงบประมาณแต่ละปีเช่นโครงการเรือดำน้ำ ที่เป็นไปตามแผนพัฒนากองทัพ รวมไปถึงการจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อทดแทนของเก่าที่กำลังปลัดประจำการ เช่น  รถถังเอ็ม 41 ที่ใช้มานานตั้งแต่ยุคสงครามโลก หรือ เฮริลคอปเตอร์ที่สหรัฐฯ  ให้กับไทยมา 52 ลำที่ตอนนี้ใช้ได้แค่ 3 ลำ มีการซ่อมบำรุงแต่ก็มีสภาพเก่ามาก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุก่อนหน้านี้ จึงมีความจำเป็นที่จัดหาใหม่   สำหรับงบประมาณกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ปี 2557-2562 มีดังนี้ ปี 2557 ได้รับงบประมาณ 183,819 ล้านบาท  ปี 2558 ได้รับงบประมาณ 192,949 ล้านบาท ปี 2559 ได้รับงบประมาณ 206,461 ล้านบาท ปี 2560 ได้รับงบประมาณ  213,544 ล้านบาท ปี 2561 ได้รับงบประมาณ 218,503 ล้านบาท และปี 2562 ได้รับงบประมาณ 227,126 ล้านบาท

(คลิปข่าว) กห.แจง "งบกองทัพ"ถูกตัดช่วงวิกฤติ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ