Lifestyle

ทำงานใช้คอมพิวเตอร์ด้วยมือผิดท่า เสี่ยง "โรคเอ็นข้อมืออักเสบ" 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรคเอ็นข้อมืออักเสบ" ที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง

ทำงานใช้คอมพิวเตอร์ด้วยมือผิดท่า เสี่ยง "โรคเอ็นข้อมืออักเสบ" 

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ

  • กลุ่มคนทำงาน , ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
     

อาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือเกิดจากอะไร     

อาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือด้านหลังทางฝั่งนิ้วโป้ง ทำให้เกิดการตีบหรือหดตัวการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายในโดยส่วนใหญ่สาเหตุของอาการเกิดจากความเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้นหรือจากการใช้งาน รวมถึงโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์

อาการของเอ็นอักเสบที่ข้อมือ

  • เจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะเมื่อขยับนิ้วโป้งมาที่กลางผ่ามือ
  • เจ็บเมื่อกดบริเวณเอ็น ใต้รอยต่อข้อมือ ถัดจากโคนนิ้วโป้งลงมา
  • มีการอักเสบของเอ็น หากคลำพบว่ามีผิวหนังร้อน หรือก้อนที่บริเวณข้อมือ
  • กล้ามเนื้อที่ยึดต่อกับเอ็นนั้น อาจมีอาการเกร็ง แข็ง หรืออาจมีการอักเสบ

 

การรักษา

ถ้าเป็นใหม่ ๆ ควรพักข้อมือข้างที่เป็น ใช้ยาระงับการอักเสบ อาจใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดช่วย โดยใช้ความร้อนช่วย ถ้าเป็นมาหลายครั้งเป็น ๆ หาย ๆ หรือใช้ยารับประทานแล้วไม่ได้ผล อาจใช้สเตอรอยด์ฉีดเข้าปลอกเอ็นเพื่อชโลมให้เอ็นลดการอักเสบลง และถ้าฉีดยาแล้วยังไม่ทุเลา ก็จำเป็นต้องผ่าตัด วิธีผ่าตัด คือ ตัดขยายปลอกเอ็นเพื่อลดการกดและเสียดสีลง

ข้อควรระวัง

  • การผ่าตัดบริเวณนี้ต้องระวังเส้นประสาทที่จะทอดผ่านบริเวณแผลที่ผ่าตัด ถ้าเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บอาจมีอาการชาหรือปวดบริเวณข้อมือ
  • หลังผ่าตัดแล้วยังมีอาการปวดอยู่

         – ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นไม่หมด เนื่องจากบริเวณนี้มีปลอกหุ้มเอ็นหลายอัน อาจจะผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นออกไม่หมด

         – เส้นเอ็นเคลื่อนหลุด เนื่องจากเทคนิคผ่าตัดผิดวิธี ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนหลุด ทำให้เกิดอาการปวดหรือมีเสียงคลิก  เวลาขยับนิ้วโป้ง

 

หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นเอ็นอักเสบที่ข้อมือ ควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทรมานกับอาการเจ็บปวดข้อมือ ที่คุณต้องพึ่งพาใช้งานไปอีกนาน

 

ที่มาข้อมูล :

www.sikarin.com/doctor-articles/

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ