บูชา 'พระอุปคุต' วันเพ็ญพุธ หรือ 'วันเป็งปุ๊ด' เที่ยงคืน 26 ธ.ค. 66
บูชา 'พระอุปคุต' วันเพ็ญพุธ หรือ 'วันเป็งปุ๊ด' วันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ สำหรับปี 2566 มี 2 วันคือ 4 เม.ย. และ 26 ธ.ค. 66
วันเพ็ญพุธ หรือ วันเป็งปุ๊ด คือวันพุธที่ตรงกับคืนเดือนเพ็ญ ซึ่งจะตรงวันที่ 26 ธ.ค. 2566 วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ จะมีประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน
ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระอุปคุต ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ บุคคลผู้นั้นจะเหลือกินเหลือใช้ ร่ำรวยเป็นเศรษฐี สุขภาพแข็งแรงรักยืนยาว บังเกิดแต่สิ่งดีที่เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
อานิสงส์ในการบูชา พระอุปคุต วันเป็งปุ๊ด
- มั่งมีพลัง มั่งคั่ง ความสำเร็จ
- มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืน
- มีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูน
- มีอาหารบริบูรณ์
- มีบารมีมาก
- มีความกตัญญูระลึกถึงคุณมารดา เมื่อบูชาพระอุปคุต จักได้ผลมาก
วิธีบูชา ใส่บาตรถวายข้าว พระอุปคุต วันเป็งปุ๊ด
- นำข้าวสุก, ข้าวเหนียว ใส่ถ้วย น้ำ1 แก้ว ตั้งหน้าพระอุปคุต บนห้งพระ หรืออัญเชิญมาไว้นอกชายคาก็ได้
- จุดธูป 3 ดอก เทียน 1 คู่
- กล่าวคาถาบูชาพระอุปคุต ตั้งจิตระลึกถึงพระอุปคุตมารับบิณฑบาตร
- อธิษฐานจิต นึกถึงคุณความดีที่เราได้ทำเป็นที่ตั้งขอบารมีองค์พระอุปคุตเถระเจ้า ได้โปรดดลบันดาลประทานพร ให้ข้าพเจ้า (เอ่ยชื่อ นามสกุล) เหลือกินเหลือใช้ให้มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืน ให้มีคนรัก และมีรักยั่งยืน อาจจะสวดบทธรรมจักร หรือบทบารมี 30 ทัศ และอธิษฐานจิตถวายบุญกุศลและแผ่เมตตาให้นทวดาประจำตัว ให้องค์พระอุปคุตและเจ้ากรรมนายเวร
- ลาข้าวสุกและน้ำ ไว้ที่พื้นดิน หรือต้นไม้ เพื่อให้กับสัมภเวสี และนำน้ำรดพื้นดิน
- อย่าลืม ดับรูปเทียนให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน
คาถาบูชา พระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธ
นะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะ
ลัญจะ โสอิทา นิมะหาเถโร นะมัส
สิตตะวา ปะติภูฐิโต อะหัง วันทามิ
อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะมะหาเถรัง
ยัง ยัง อุปะทะวัง ชาตัง วิธัง เสติ
อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุแ ฯ
คาถาขอลาภ พระอุปคุต
มหาอุปคุตโต จะ มหาลาโภ พุทโธ
ลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุ
ริโส อิถีโยมานัง นะโม โจรา
เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะ
มะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มนุส
สานัง สัพพะลาภัง กะวันตุ เม ฯ
เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุโต จะ
มหาเถโร พุทระสาวะกะ อานุภาเวนะ
มาระวิชะยะ นิระกะยะ เตชะปุญณะตา
จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิต
ตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง
อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ
คาถา พระอุปคุต ผูกมาร
มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กา
ยะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร
ธัมมัง ทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะ
อัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพัน
ทะนัง อะธิษฐามิ ฯ