ประวัติ 'หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ' แห่ง วัดบางพระ นครปฐม ตำนานแห่งยันต์เสือ
ศึกษาประวัติ 'หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ' แห่ง วัดบางพระ นครปฐม การเป็นเจ้าอาวาส และตำนานการสักยันต์เสือ สัญลักษณ์ประจำสำนัก
หลังจากช่วงชีวิตในการออกธุดงค์ ของ หลวงพ่อเปิ่น เท่าที่มีข้อมูลชัดเจน เป็นการรวบรวมของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ที่ได้เก็บประวัติของหลวงพ่อเปิ่น เป็นเสมือนหนึ่งเรื่องราวสำคัญ ที่เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ ของเมืองแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี บันทึกนั้น ระบุไว้ว่า ท่าน หรือ หลวงพ่อเปิ่น ออกจาริกธุดงควัตรและไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด
ศึกษาวิทยาคมจากท่านประมาณ 1 ปี ก่อนออกธุดงค์ต่อไปยังภาคใต้ ในปี พ.ศ.2504 หลวงพ่อเปิ่น มาปักกลดที่ชายทุ่งนาใกล้วัดทุ่งนางหลอก อ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ใช้ความรู้ด้านสมุนไพรยารักษาโรค รักษาชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วย จนชาวบ้านนิมนต์ท่านให้มาช่วยพัฒนาวัดทุ่งนางหลอก
รายการเปิดบันทึกตำนาน ได้เคยบันทึกเรื่องราวของท่านไว้ ในชื่อตอน หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม มีหาในรายการนั้นระบุไว้ว่า ท่านล้มป่วยกะทันหัน กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ กระทั่งหาย ท่านตั้งใจจะเดินทางไปที่อื่น แต่ชาวบ้านขอให้ไปพัฒนาวัดโคกเขมาแทน จึงได้ไปอยู่ที่วัดโคกเขมา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ
หลวงพ่อเปิ่น สร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกในชีวิตของท่าน เป็นเหรียญหลวงพ่อเปิ่นรุ่นแรก พ.ศ.2509 หลวงพ่อเปิ่นยังได้จัดสร้างเหรียญและวัตถุมงคลออกมาอีกหลายรุ่น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าหาบูชากัน นำเงินบำรุงพัฒนาวัด
ปัจจุบันพระเครื่องวัดโคกเขมาหายากมาก
ในปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดบางพระ มรณภาพ ชาวบ้านจึงพร้อมใจนิมนต์หลวงพ่อเปิ่นให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระสืบต่อ
หลวงพ่อเปิ่นเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2518
ในสมัยที่หลวงพ่อเปิ่นท่านยังไม่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรหลวงพ่อเปิ่นท่านจะลงมือสักให้กับลูกศิษย์ทุกคนด้วยมือของท่านเองแต่ต่อมาภายหลังหลวงพ่อได้ประสิปประสาทวิชาการสักให้แก่พระลูกศิษย์เป็นผู้สักแทน
ส่วนตัวหลวงพ่อเปิ่นท่านจะทำพิธีครอบให้เท่านั้น
สำหรับที่มาที่ไปเกี่ยวกับยันต์เสือประจำตัวของท่านหลวงพ่อเปิ่นได้เคยกล่าวไว้ว่าท่านชอบเสือด้วยเหตุผลที่บอกเพียงสั้นๆกับบรรดาลูกศิษย์ว่าเสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจเพียงเสียงคำรามของเสือที่ดังกึกก้องสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้ยินก็จะเงียบสงบกินสาบเสือนั้นสัตว์ทั้งหลายได้สัมผัสก็ยอมทันทีหลีกทันทีจัดอยู่ในทางมหาอำนาจและเสือเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างสง่างามเต็มไปด้วยบารมีจึงจัดอยู่ในมหานิยมเช่นกัน
ส่วนตำนานที่เกี่ยวข้องกับการนำเสือมาเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของท่านนั้นเกิดจากสิ่งมีอยู่ในสมัยหนึ่งท่านเคยประจันหน้ากับเสือมาแล้วกลางป่าลึกในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์แถบป่าใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีท่านจึงเกิดความประทับใจในเสือโคร่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและท่านได้นำเอาลายยันต์เสือโคร่งมาประสิทธิ์ให้กับลูกศิษย์ที่เดินทางมากราบฝากตัวกับท่านด้วยการสักอย่างมือของท่านเองจนเกิดเป็นตำนานพญาเสือมหาอำนาจอันลือลั่น