ศรัทธาสายมู

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จักกับ 5 เกจิอาจารย์ ที่ทรงภูมิ วิทยาคม แห่งจังหวัดระยอง ที่เมื่อละสังขารแล้ว ร่างกายไม่เน่าเปื่อย

หากกล่าวถึงเรื่องราว ความเชื่อ ความศรัทธา ในเรื่องราวของ ครูบาอาจารย์ ที่ได้รับความนับถือ ทั้งในแง่มุมการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รวมทั้ง เรื่องราวพุทธาคม ย่อมต้องมีเรื่องราว ที่เกี่ยวกับความเข้มขลัง ในแง่วิชาและความบริสุทธิ์แห่งการเจริญธรรม จนสังขารของท่านเมื่อละชาติสิ้นภพแล้วนั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่ยากจะหาคำตอบในสิ่งที่เรียกว่า ร่างกายไม่เน่าเปื่อย 


และเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง พระสงฆ์ที่สังขารไม่เน่าเปื่อยนั้น มีด้วยกันหลายต่อรูป แต่ในจังหวัดระยองนั้น มีความน่าสนใจว่า มี พระสงฆ์ที่เป็นระดับ เกจิอาจารย์ ที่เมื่อละสังขารแล้วกลับมีร่างกายไม่เน่าเปื่อยอยู่ด้วยกันถึง 5 รูปในจังหวัดเดียว จึงจะขอนำมาเผยแพร่ว่า มีเกจิอาจารย์รูปใดกันบ้าง 


1.หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า 

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
พระมงคลศีลาจารย์ หรือ หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดวังหว้า และอดีตเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ อดีตเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ ท่านเป็นพระที่มีอายุยืนยาว และมีเมตตาธรรมสูง ท่านพัฒนาวัดวังหว้า จนมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน และให้ความสำคัญของการศึกษากับโรงเรียนวัดวังหว้าเป็นอย่างมาก เช่น ไปตัดไม้มาเพื่อสร้างอาคารเรียน และบริจาคเงินเพื่อการศึกษาต่างๆ มากมาย 
หลวงปู่คร่ำ อุปสมบทเมื่อวันจันทร์แรม 14 ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง จ.ศ. 1279 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. โดยมีพระครูสังฆการบูรพาทิพย์ (ปั้น) วัดทะเลน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เผือก วัดวังหว้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า ยโสธโร หลวงปู่คร่ำ ได้ปฏิบัติเหมือนกับพระนวกะทั่วๆ ไป และตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้ประโยคนักธรรมโท กับค้นคว้าตำรับตำราวิชาการต่างๆ จากนั้นจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระกรรมฐานและวิทยาคุณจากหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หรือ วัดเขาชากโดน ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมญานเป็นพระอาจารย์บอกกรรมฐาน มีจิตตานุภาพและวิทยาคมขลัง เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น หลังจากได้ฝากตนเป็นศิษย์แล้วก็ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จนบังเกิดความเชื่อมั่นในตนเองกับวิชาที่เรียนและเป็นที่พอใจของผู้เป็นอาจารย์

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงปู่คร่ำ ได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เวลา 14.20 น. ด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 80

2.หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง

หลวงปู่บุญ วัดบ้านนา อำเภอแกลง ระยอง หรือ พระครูสุทธิวัตรสุนทร เกิด วันที่ 31 มกราคม2447 เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของระยอง ในช่วงราวปี 2530 มีพระเครื่องวัตถุมงคลออกมาหลายแบบ หลวงปู่บุญ เป็นที่นับถือของชาวบ้านและคนทั่วไป ในอำเภอแกลง ชื่อเสียงของท่านอาจเป็นรองเพียงหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า เนื่องจากหลวงปู่บุญ ไม่ค่อยออกวัตถุมงคลมากนัก มีเพียงไม่กี่รุ่นที่ท่านอนุญาตให้จัดสร้างเท่านั้น


หลวงปู่บุญ เป็นพระเถระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นผู้รักสันโดษ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายยึดพรมวิหารธรรม และสังควัตถุธรรม เป็นหลักการบำเพ็ญศาสนกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความมั่นคง เพื่อความวัฒนาสถาพรแก่วัด และการพระศาสนามาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงปู่บุญ มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2543 เวลา 12.30 น. ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ สิริรวมอายุได้ 96 ปี 2 เดือน 16 วัน


3.หลวงปู่ก๋วน วัดตะเคียนทอง 

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงปู่ก๋วน หรือ พระครูสุกิจจานุรักษ์ นามเดิม ก๋วน สกุล ริมราง บิดา นายเปรม ริมราง ส่วนมารดาไม่สามารถสืบหาข้อมูลได้ เกิดปีมะเมีย วันที่ 16 มิถุนายน 2461 ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง อุปสมบท 24 พฤษภาคม 2491 ณ.วัดตะเคียนทอง ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง พระครูประทุมธรรมมาภิบาล(หลวงพ่อเย็น ธมฺมาภิปาโล)วัดบ้านแลง พระอุปัชฌาย์ พระอธิการสนธิ์(พระครูโกศลสังฆกิจ) พระกรรมมาจารย์ พระอธิการรวย(พระครูสุนทรธรรมมานุศาสตร์)พระอนุสาวนาจารย์  สำเร็จญัตติจตุตถกรรมวาจาเวลา 14.29 น.ฉายาว่า อคฺควโย มรณภาพเมื่อ 20 กันยายน 2548

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงปู่ก๋วน เป็นพระวิปัสสนา กัมมัธฐาน สายยุบหนอ พองหนอ  การปฏิบัติธรรมวัดตะเคียนทองลำดับสมาธิและญาณ 16 ของโยคีผู้ดำเนินทางสมถะวิปัสสนา
ลูกศิษย์ของหลวงปู่ก๋วน และที่ขยายสำนักของวัดตะเคียนทองมีดังนี้
1.พระอาจารย์น้ำเพชร มหาลาโภ เจ้าอาวาสวัดตะเคียนทอง มีอาจารย์ต้อย อาจารย์เมิน
2.อาจารย์สันต์ เจ้าอาวาสวัดเขาตะแบก บ้านค่าย ระยอง
3.อาจารย์สันติ ดอยแม่สลอง เชียงราย
4.อาจารย์บุญมี วัดป่าสันติวัน มหาสารคาม
5.อาจารย์บุญมี วัดพุทธรรมวนาราม สุรินทร์
6.อาจารย์นพ วัดถ้ำเขาชะอางค์ กิ่งอำเภอเขาชะเมา ระยอง
7.อาจารย์สมคิด วัดศรีพุ่มโพธิ์ ชลบุรี
8.อาจารย์ไพรสณฑ์ วัดโคกหลวง ราชบุรี
หลวงปู่เป็นพระที่มีศีลจารวัตรดีเลิศ เอาใจใส่ลูกศิษย์ทุกคน หลวงปู่เป็นพระปฏิบัติดี และสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติตามท่าน วัตถุมงคลของท่านนั้น มีเรื่องเล่าขานกันว่า มีประสพการณ์ยิงไม่ออก วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์ทุกรุ่น

4.หลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปิบผลิวนาราม

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีพื้นฐานในการศึกษาสูงองค์หนึ่ง คือ สมัยที่ท่านเป็นฆราวาส ท่านเป็นศิษย์เก่า ร.ร.อัสสัมชัญ ซึ่งอยู่ในรุ่นเดียวกันกับท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (นายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่ง) ภูมิรู้ทางโลกนั้น ท่านมีความคล่องตัวมากทางด้านภาษาต่างประเทศยกไว้เป็นข้อพิเศษ

ท่านเคยทํางานเข้ารับราชการในกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านทํางานอยู่ฝ่ายสรรพสามิต ใกล้ชิดกับสุรายาเมาแล้วดื่มเหล้าเก่ง  ต่อมาท่านมองเห็นโทษของการดื่มเหล้า เบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ท่านจึงได้ลาออกจากราชการ เข้ามารักษาศีลอุโบสถ โดยการนุ่งขาวห่มขาว แล้วเข้าฝากตัวอยู่กับสมเด็จพระวันรัต (ต่อมาทรงได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) วัดโพธิ์ท่าเตียน

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านมาบวชเมื่ออายุมากแล้ว คือ เมื่อ พ.ศ. 2505 ท่านอยู่จําพรรษาได้เพียง 1 พรรษา แล้วท่านก็ได้เข้ากราบลาสมเด็จป๋า ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ออกเดินธุดงค์เข้าป่าหาความวิเวกทางใจ


หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านเริ่มออกธุดงค์ครั้งแรกมุ่งไป จ.สระบุรี แล้วเดินทางไปอยู่บําเพ็ญธรรม ที่ถ้ำซับมืด หลังจากอยู่บําเพ็ญธรรม ที่ถ้้ำซับมืดแล้ว หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้เดินทางไปบําเพ็ญภาวนาที่ “ภูกระดึง” ณ สถานที่แห่งนี้ หลวงพ่อกัสสปมุนี้ได้บําเพ็ญธรรมอย่างยิ่งยวด ความก้าวหน้าทางธรรม เกิดขึ้นกับจิตใจมากมายนัก และ เป็นบุญวาสนาที่ท่านมาอยู่ที่นี่ถึง 6 เดือน


หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ทางด้านการสร้าง หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านได้ทําให้ถิ่นฐาน ใน จ.ระยองเป็นที่รู้จักของบรรดาพุทธบริษัทมากขึ้น ครั้งแรกหลวงพ่อมีความประสงค์ที่จะตั้งเป็นเพียงสํานักสงฆ์เท่านั้น ครั้นมีคณะศรัทธาไปบริจาคมากขึ้น ท่านจึงนําปัจจัย ที่ได้รับจากญาติโยม มาปลูกสิ่งที่เห็นว่าจําเป็น ประกอบด้วยคณะศรัทธา ชาวกรุงเทพฯ ได้นําวัสดุก่อสร้างไปถวายมากมาย ท่านจึงต้อง ดําเนินการสร้างเสนาสนะที่ถาวร ขึ้นอีกหลายหลัง ทําให้บริเวณภูเขาลูกย่อม ๆ นี้ กลายเป็น วัดปิปผลิวนาราม ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยลําดับ

หลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านเป็น พระเถราจารย์ฝ่ายวิปัสสนาที่ ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพเลื่อมใส ของสาธุชนองค์หนึ่งในจังหวัดระยองที่ชาวระยองให้ความเคารพและศรัทธาตลอดมากระทั่งปัจจุบัน
หลวงพ่อกัสสปมุนี มรณภาพลง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2531 อายุ 79 ปี


5.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ 

5 เกจิอาจารย์ สังขารไม่เน่าเปื่อย แห่ง เมืองระยอง
หลวงพ่อสาคร มีชื่อเดิมว่า สาคร ไพสาลี เกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนา เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2481โยมบิดา ชื่อนายกุ โยมมารดาชื่อ นางนิด ท่านเกิดที่บ้านท้ายทุ่ง หมู่ 2 ต.หนองกรับ อ.บ้านค่าย เป็นสถานที่เดียวกับบ้านเกิดของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 2 คน คือ นางอยู่ ไพสาลี และ หลวงพ่อสาคร 
ท่านได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2490 ตั้งแต่เล็กจนโตท่านก็ติดตามโยมพ่อโยมแม่ไปทำบุญที่วัดละหารไร่เป็นประจำ ขณะนั้นที่วัดละหารไร่มี หลวงปู่ทิม เป็น "ขรัววัด" เมื่อไปทำบุญบ่อยๆ เข้าก็พบว่าหลวงปู่ทิม ท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สงบนิ่ง สำรวม ทำให้หลวงพ่อสาครเกิดความเลื่อมใส และหลวงปู่ทิมท่านยังเก่งรอบด้านทั้งเป็นหมอยาสมุนไพรรักษาชาวบ้าน แก่กล้าด้านคาถาอาคม ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เมื่อโยมพ่อโยมแม่มอบถวายท่านให้เป็น "ลูกบุญธรรม" ของหลวงปู่ทิมแล้ว ท่านก็เที่ยวไปมาที่วัดละหารไร่ตลอด ชอบไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่แถววัด ใครมีวิชาดีๆ ก็จะไปดูไปลอง ไปขอเรียนด้วย หลวงพ่อสาครท่านมาปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ทิม โดยมากินมานอนค้างที่วัดบ้าง ตั้งแต่อายุประมาณ 13-14 ปี จวบจนเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ก็ไปเรียนเรื่องงานปั้น งานศิลป์ ถึงแม้ว่าโยมพ่อท่านจะไม่อยู่แล้ว แต่ท่านก็ยังมีหลวงปู่ผู้เปรียบเสมือนบิดาบังเกิดเกล้าคอยอบรมสั่งสอน
 เมื่ออายุย่างเข้า 21ปี โยมแม่ก็บอกกับหลวงพ่อท่านว่า อยากให้บวช ท่านก็ตกลงจะบวชให้ โดยมี "หมอเพี้ยน พงษ์ศรี" เป็นผู้ดำเนินการ หมอเพี้ยนท่านนี้ถือเป็นผู้มีบุญคุณกับครอบครัวของหลวงพ่อมาก เพราะท่านอุปการะต่อครอบครัวหลวงพ่อมานาน ครอบครัวของหลวงพ่อมีฐานะยากจน หมอเพี้ยนท่านส่งเสียดูแลหลวงพ่อให้ศึกษาเล่าเรียนในสมัยที่โรงเรียนวัดหนองกรับเปิดสอน โดยนำไปฝากกับครูกรี และครูต๊ะ จนเรียนจบชั้น ป.4 หลวงพ่อสาครอุปสมบทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2501ณ พัทธสีมาวัดหนองกรับ ได้รับฉายาว่า "มนุญโญ" แปลว่า  "ผู้มีใจฟูขึ้น หรือ ประเสริฐ"
   


นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 เป็นต้นมา ที่หลวงพ่อสาครเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดหนองกรับนั้น ท่านใช้ความรู้ความสามารถของท่านรังสรรค์ผลงานต่างๆ ทั้งงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ฝากไว้ในพระศาสนา ท่านบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม ก่อสร้างอีกหลายอย่าง และพัฒนาวัดหนองกรับให้สวยงาม หากท่านใดมีโอกาสเข้าไปที่วัด ไปกราบท่าน ก็จะได้เห็นความสวยงามตั้งแต่ประตูวัด สร้างหอยันต์ ล้วนแต่เป็นผลงานที่ท่านออกแบบ เขียนแบบเองทั้งหมด
หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ ได้จากไปด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2556 สิริรวมอายุ 75 ปี 7 เดือน 15 วัน พรรษา 55
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ