ศรัทธาสายมู

ตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ของดีแห่ง วัดสะพานสูง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนึ่งในของดีแห่งปากแกร็ด ตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห  แห่ง วัดสะพานสูง ของ หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ศิษย์เอก หลวงปู่กลิ่น

วัดสะพานสูง วัดเก่าแก่ในจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อารามสำคัญแห่งนี้ มีชื่อเสียงสำคัญในหมู่ผู้มมีความเชื่อ ความศรัทธา ในพุทธาคม ด้วยเป็นวัดของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น มีชื่อเดิมว่า วัดสว่างอารมณ์ สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะในคราวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหารเสด็จไปตรวจวัดสว่างอารมณ์ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงในวัด ชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า วัดสะพานสูง จนติดปาก จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสะพานสูง มาจนทุกวันนี้

วัดสะพานสูง

ประวัติของวัดสะพานสูง ก่อนหน้านั้น ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สภาพโดยทั่วไป ในวัดสะพานสูงยุคนั้น มีสภาพเก่าทรุดโทรม แสดงถึงความเก่าแก่ อายุของโบราณวัตถุ โดยเฉพาะสะพานสูงบริเวณหน้าวัด ส่วนอุโบสถ สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๙๗ โดย หลวงพิบูลย์สมบัติ ทางหลวงปู่เอี่ยม ได้ปรารภถึงความชำรุดทรุดโทรม ของถาวรวัตถุภายในวัด ทางหลวงพิบูลย์สมบัติ จึงยินดีช่วยเหลือ โดยการบอกบุญ แก่ผู้ที่ใจบุญสุนทาน จึงได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ หลวงปู่เอี่ยม ได้เริ่มจัดสร้าง พระเจดีย์องค์ประธาน แต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ หลวงปู่เอี่ยมก็ถึงแก่มรณะภาพ หลวงปู่กลิ่น เจ้าอาวาสรูปต่อมา จึงได้สานต่อจนก่อสร้างสำเร็จ ลุล่วงด้วยดี จวบจนกระทั้ง ปี 2516 พระเจดีย์องค์ประธานมีการชำรุด ทรุดโทรม ตามกาลเวลา ถึงยุคหลวงพ่อทองสุข เป็นเจ้าอาวาส จึงมีการซ่อมยอด พระเจดีย์
 

ในบรรดาวัตถุมงคลต่างๆ ของวัดสะพานสูงนั้น มีตั้งแต่ของปฐมบูรพาจารย์อย่าง หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่น และของหลวงพ่อสุข โดยเฉพาะที่น่าสนใจอย่าง  ตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห ของหลวงปู่ทองสุข ศิษย์ผู้ที่สืบทอดตำนานโดยตรงจากหลวงปู่กลิ่น ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์เอกหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปฐมนาม โดยใช้ การเขียน การลบ การจบ การลง แบบองค์อาจารย์อย่างเข้มขลัง เคร่งครัด ตามตำรับ ดังนั้นอนุภาพของตะกรุดจึงใช้ทดแทนของ หลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่นผู้เป็นอาจารย์ได้อย่างบริสุทธิ์

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร หรือ พระครูนนทกิจโสภณ

หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร หรือ พระครูนนทกิจโสภณ เกิด 11 มีนาคม 2446 แรม 10 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ ที่บ้านหนองไผ่เหลือง ต.หนองนาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรนายคง นางแพ มีพี่น้องทั้งหมด 5 คนท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่ออายุ 11 ปี ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่วัดอยู่กับอาจารย์จ้อย อาจารย์สาย และอาจารย์นิ่ม วัดหนองหว้า เพชรบุรี จนอายุ 13 ปี ออกจากวัดไปอยู่ราชบุรีกับอาของท่าน แล้วกลับมาอยู่กับโยมพ่อ โยมแม่ ช่วยท่านทำนาหาเลี้ยงชีพที่บ้านเกิด


จนอายุครบ 20 ปี จึงถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร กรมทหารราบที่เพชรบุรี ปลดแล้วสมัครเป็นตำรวจภูธรได้ยศสิบตำรวจตรี ประจำอยู่เพชรบุรี 2 ปีแล้วถูกย้ายไปจังหวัดต่างๆ ทั้งพัทลุง,ชุมพร,ด่านสะเดา สงขลา,จนได้ยศ สิบตำรวจโทก็ถูกย้ายไปนราธิวาส,สตูล,อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี,อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ,จ.สุรินทร์

จนครั้งหลังสุดย้ายกลับมาอยู่ที่ จ.เพชรบุรี บ้านเกิด อยู่ได้เพียงหนึ่งปีก็เกิดเบื่อหน่ายทางโลก จึงลาออกจากอาชีพตำรวจ บวชเมือปี 2470 ที่วัดนาพรม เพชรบุรี มีพระครูพิษ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชณาย์ พระอาจารย์ผ่องเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุปเป็นอนุสาวนาจารย์ แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดนาพรม ไปจำพรรษาที่วัดหนองหว้า แต่ก็อยู้ได้เพียงพรรษาเดียว เพราะมีอาจารย์เพ็ง จากวัดสะพานสูง ได้ธุดงค์มาพบกันจนท่านทั้งสองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอันดี ท่านอาจารย์เพ็งจึงชักชวนกันเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดท่าเกวียน ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำพรรษาอยู่วัดนี้ 3 พรรษา จึงพากันย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงในปี พ.ศ. 2474 เพื่อมาศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น) เป็นเจ้าอาวาส และอาจารย์เพ็งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม 

จนปี 2475 สอบนักธรรมได้ 2476 ได้นักธรรมโท พอดีวัดสะพานสูงขาดครูสอนพระปริยัติธรรม หลวงปู่กลิ่นจึงมอบหมายหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรช่วยกัน หลวงพ่อทองสุขได้เรียนตำราเวทย์ และพระคาถาสำคัญๆต่างๆของวัดสะพานสูง เช่น การลงตะกรุด การทำผง พระปิดตา ทำน้ำมนต์ จากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น 

จนเมื่อปี 2482 ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมวาจาจารย์ ปี 2497 หลวงปู่กลิ่นมรณะภาพลง ท่านจึงขึ้นรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่หนึ่งปี ก่อนจะได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสจากความห็นชอบของคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาวัดสะพานสูง 9 พฤษภาคม 2508 จึงได้รับแต่งตั่งเป็นพระอุปัชณาย์ ปกครองวัดด้วยคุณธรรมอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรให้อยู่ในพระธรรมวินัย  

จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ บั่นปลายของชีวิตท่านต้องรับภาระอย่างหนัก ทั้งประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านต่างๆนาๆ ภาระกิจของคณะสงฆ์ และกิจการงานต่างๆของวัดสะพานสูง จน 20 มีนาคม 2525 ท่านอาพาธด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ลูกศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จน 7 เมษายน ๒๕๒๕ เวลา 08.00 น.ท่านได้มรณะภาพลงด้วยอาการอันสงบ ศิริอายุได้ 79 ปี 19 วัน

ตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ของดีแห่ง วัดสะพานสูง
สำหรับความเชื่ออานุภาพแห่งตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห ของวัดสะพานสูงนั้น จะเด่นในทาง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ป้องกันโรคระบาด ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันคุณไสย ป้องกันลมเพลมพัด บ้านหรือเรือนใดที่ว่าร้ายอยู่ยาก ให้อธิษฐานฝังดินแก้ไขกลับร้ายให้กลายเป็นดี และ ยังมีทางด้าน มหาอุตม์ มหาเสน่ห์ มหาโชค มหาลาภ เมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน เพราะนอกจากตะกรุดแล้วยังมีอานุภาพแห่ง ผงโสฬสมงคล ที่ เรียกได้ว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว

ตะกรุดยันต์ตรีนิสิงเห หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ของดีแห่ง วัดสะพานสูง
ยันต์ตรีนิสิงเห นี้ดีสารพัด เรียกว่า ยันต์ครอบจักรวาล
โบราณาจารย์ท่าน นำเลขมาแทนอักขระคาถา
เลขเหล่านี้เป็นคาถาสำคัญ ก่อนจะลงยันต์
ท่านให้อัญเชิญ พระเทวดาตามเลขยันต์คือ
เลข 1 อาฬะวกยักษ์ (อาฬะวะกะ)
เลข 2 เทวดาเจ้าของกลางวัน-กลางคืน(ท้าววรุนเทวราช-ท้าวมิตรเทวราช)
เลข 3 พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เลข 4 ท้าวโลกบาลทั้ง 4 (ท้าวธตรถ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬปักข์ ท้าวกุเวรราช)
เลข 5 พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ (พระกุกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสปพุทธ พระโคตมะพุทธ พระศรีอริยเมตไตย)
เลข 6 เทวดาทั้ง 6 ชั้นฟ้า
เลข 7 พุทธนาคาทั้ง 7
เลข 8 พระอรหันต์ 8 ทิศ (พระโกณทัญญะทิศบูรพา พระกัสสปทิศอาคเนย์ พระภควัมบดีทิศพายัพ พระสารีบุตรทิศทักษิณ พระอุบาลีทิศหรดี พระอานนท์ทิศประจิม พระโมคคัลลาน์ทิศอุดร พระราหุลทิศอีสาน)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ