ศรัทธาสายมู

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน "พระแม่ลักษมี" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน "พระแม่ลักษมี" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

31 ต.ค. 2567

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน "พระแม่ลักษมี" เทวีแห่งความร่ำรวย ความรัก โชคลาภ อุดมสมบูรณ์ เช็กของต้องห้ามนำไปถวาย พร้อมคาถาบูชา

เทวีลักษมี พระแม่ลักษมี เทพีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์

 

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน \"พระแม่ลักษมี\" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

พระแม่ลักษมี ลักษมีเทวี เป็นเทวีตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นพระชายาของพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี เป็นเทวีแห่งความงดงาม ความรัก ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักจะประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ

 

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน \"พระแม่ลักษมี\" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

คาถาบูชาพระแม่ลักษมี

 

โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ

 

 

คาถาบูชาพระแม่ลักษมี (แบบสั้น)

“โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะฮา”

 

 

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน \"พระแม่ลักษมี\" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

เทศกาลดิวาลี ประจำปี 2567 (Diwali Festival Bangkok 2024) หรือเทศกาลแห่งแสงสว่าง นับเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับคนเชื้อสายอินเดีย โดยมีความเชื่อว่าเป็นเทศกาลแห่งการฉลองชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด ความรู้เหนือความเขลา และความดีเหนือความชั่วร้าย

 

“ดิวาลี” (Diwali) หรือ “ดีปาวลี” (Deepavali) ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอินเดีย และยังเป็นวันบูชาพระแม่ลักษมีด้วย สายมูเตลูต้องห้ามพลาด สักการะ “พระพิฆเนศ” และ “พระแม่ลักษมี” เพื่อเสริมดวงชะตา โชคลาภ เพิ่มความสำเร็จให้ชีวิต

ดิวาลี 2567 เปิดตำนาน \"พระแม่ลักษมี\" เทวีแห่งความร่ำรวย โชคลาภ อุดมสมบูรณ์

 

สิ่งของต้องห้าม บูชาพระแม่ลักษมี

  • เมนูหรืออาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์
  • เมนูหรืออาหาร ของไหว้ ของหวานที่มีไข่ไก่เป็นส่วนประกอบ เพราะเชื่อว่าไข่ไก่มาจากไก่ เป็นการเบียดเบียนสัตยว์อยู่ดี

 

 

 

สิ่งของบูชา สักการะพระแม่ลักษมี

  • ดอกบัวสีชมพู (หรือดอกไม้อื่น ๆ ที่มีสีแดง/ชมพู) จะใช้ 1 ดอก หรือ 2 ดอกก็ได้ แต่ดีที่สุดควรใช้ 8 ดอก เพราะเหมือนเป็นการระลึกถึงพระอัษฏลักษมี หรือ พระแม่ลักษมีทั้ง 8 ปาง
  • ผลไม้ 5 ชนิด หรือ ผลไม้รสอ่อน เช่น มะพร้าว หรือแอปเปิลแดง 5-8 ผลขึ้นไป เพราะมีความเชื่อว่าหากจะขอพรในเรื่องความรัก อยากได้คู่ครอง หรือความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต ให้นำแอปเปิลแดงไปไหว้พระแม่ลักษมี จะช่วยส่งเสริมให้คนคนนั้นได้รับพรจากพระแม่ลักษมีเป็นพิเศษ และเมื่อขอพรเสร็จแล้วก็สามารถลาของไหว้และนำกลับมาได้เลย
  • ขนมพื้นบ้านของอินเดีย เช่น ขนมดอกบัวชมพู, ขนมดอกกุหลาบ, ขนมโมทกะ และ ขนมลาดู
  • น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด
  • กำยาน หรือ ธูป 9 ดอก
  • น้ำเปล่า
  • นม