
คำวัด - อบายภูมิ-อบายมุข
คำว่า "อสุรกาย" นั้น ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเพียงแต่ชื่อ รายละเอียดภพของอสุรกายเป็นอย่างไร ท่านก็ไม่ได้แสดงเอาไว้ แต่ว่าจากความหมายของรูปศัพท์ ก็หมายถึงชีวิตชนิดหนึ่งเป็น อทิสสมานกาย คือบุคคลไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เป็นจำพวกปีศาจ ที่บางครั้งบางคราวก็
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อบาย (อะ-บาย ) ตามรูปศัพท์แปลว่า จากไป (ไปปราศ) ไปเป็นอย่างอื่น ใช้ในความหมายต่างๆ ที่มีลักษณะไปจากความสุข ไปจากความเจริญรุ่งเรือง ไปจากกำไร
อบาย ทั่วไปแปลว่า ความเสื่อม ความหายนะ ความฉิบหาย ความสูญเสีย ความรั่วไหล การขาดทุน นิยมใช้ในรูปคำเดียวคำนำหน้าคำอื่น เช่นใช้ว่า
- เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
- ผู้ใดระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ
- อบายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม
ส่วนคำว่า “อบายภูมิ” (อะ-บาย-ยะ-พูม) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือดินแดนที่ปราศจากความเจริญ หมายถึง ภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดของผู้ทำบาปกรรมไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลแห่งบาปกรรมนั้นจะส่งเขาไปเกิดในอบายภูมิ หลังจากเขาตายแล้ว
อบายภูมิ มี ๔ ตาระดับบาปกรรมของคน คือ
- นรก เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโทสะ ชอบฆ่าฟัน ชอบท้าผู้อื่น
- เปรต เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ ชอบฉ้อโกง ลักขโมย เบียดบังทรัพย์
- อสุรกาย เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ
- ดิรัจฉาน เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโมหะ หลงงมงาย อกตัญญูเห็นผิด
ในขณะที่คำว่า “อบายมุข” (อะ-บาย-มุก) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ทางแห่งความฉิบหาย ทางแห่งความเสื่อม สาเหตุให้ถึงความเสื่อมเสีย มี ๒ หมวด คือ
อบายมุข ๔ ได้แก่ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน และคบคนชั่วเป็นมิตร
อบายมุข ๖ ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และ เกียจค้านทำการงาน
อบายมุขทั้งหมดนี้ หากประพฤติเข้าแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สิน แก่เกียรติยศชื่อเสียง หรือ แก่ชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ
"พระธรรมกิตติวงศ์ "