พระเครื่อง

คำวัด - เปรต-อสุรกาย

คำวัด - เปรต-อสุรกาย

22 เม.ย. 2554

คำพูดหนึ่งที่พูดกันติดปากเมื่อเอ่ยถึงชื่อวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) และวัดสุทัศนเทพวราราม คือ "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ คือ เรื่องของวัดสระเกศ ในช่วงรัชกาลที่ ๒ เกิดโรคห่าระบาดเมือง มีคนตายชนิดที่ขุดและเผาไม่ทัน ต้องกอ

  ส่วนที่วัดสุทัศน์ เล่ากันว่า วัดแห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องเล่าเปรตวัดสุทัศน์นั้น มาจากภาพวาดบนฝาผนังในพระอุโบสถ ที่เป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่ และมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู และสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าเป็นเปรตนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณวัดแห่งนี้มายาวนานบอกว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่อยู่หน้าวัด ในสายหมอกยามเช้าต่างหาก

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เปรต"  ไว้ว่า ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ตายไปแล้ว

 เปรต ในคำวัด หมายถึง สัตว์พวกหนึ่งที่เกิดในเปรตวิสัย ซึ่งเป็น ๑ ในอบายภูมิ ๔ มีหลายประเภท เช่น ประเภทหนึ่งเรียกว่า ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยส่วนบุญที่มีผู้ทำอุทิศให้ มีรูปร่างสูงโย่งเท่าต้นตาล ผมยาว คอยาว ผอมโซ ตัวดำ ท้องโต มือท่าใบตาล มีปากเท่ารูเข็ม

 หากไม่มีผู้อุทิศส่วนบุญให้ก็จะกินเลือดและหนองของตัวเองเป็นอาหาร มักจะร้องเสียงโหยหวนในเวลากลางคืนเพื่อขอส่วนบุญ

 เรียกการพลีกรรมแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายว่า เปตพลี หรือ บุปเปตพลี
 ส่วนคำว่า “เปรตวิสัย” (อ่านว่า เปรด-วิ-ไส) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือที่กำเนิดของเปรต โลกของเปรต

 เปรตวิสัย ใช้ว่า เปรตวิษัย เปตวิสัย ก็มี
 เปรตวิสัย จัดเป็นอบายภูมิ ๑ ใน ๔ อย่าง คือ นรก เปรต อสุรกาย และเปรตวิสัยเปรตวิสัย ดิรัจฉาน เป็นดินแดนที่เกิดหลังจากล่วงลับ หรือตายไปแล้วของผู้มากด้วยโลภะ ผู้ที่ไม่เคยให้ทาน หรือเสียสละแก่ใคร เป็นดินแดนที่มีความอดอยาก ผู้เป็นเปรตมีแต่ความทุกข์ทรมานด้วยไม่มีอาหารจะกิน แม้มีอยู่ก็กินด้วยความยากลำบาก

 ผู้ที่เกิดเป็นเปรตอยู่ในเปรวิสัย เป็นอยู่ได้ด้วยข้าวน้ำที่มีผู้อุทิศไปให้ ที่เรียกว่า เปตพลี ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็อดตายอยู่อย่างนั้น

 ในขณะที่คำว่า “อสุรกาย” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นเป็นศัตรูกับเทวดา ได้แก่ พวกอสูร มาร หรือ ยักษ์

 อสุรกาย ในคำวัดหมายถึง อบายภูมิอย่าง ๑ ในจำนวน ๔ อย่าง นอกจากนี้แล้วยังใช้เรียกสัตว์ที่เกิดในอบายภูมินั้นด้วย นัยว่าชอบเที่ยวหลอกหลอนคนเหมือนผี ป็นคู่กับพวกเปรต

"พระธรรมกิตติวงศ์"