พระเครื่อง

คำวัด - จันทรอลังการ-จันทรคติ

คำวัด - จันทรอลังการ-จันทรคติ

18 มี.ค. 2554

วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ซึ่งเป็นวันพระ สำหรับความพิเศษของวันนี้ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ สุริยปฏิทินพันปี บอกว่า ชาวโลกทั้งมวลจะได้เห็นปรากฏการณ์ “จันทรอลังการ” หรือ Supermoon ดว

 ในแง่มุมของนักโหราศาสตร์มีข้อมูลเทียบเคียงที่น่าคิด เพราะทุกครั้งที่ดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกมักจะเกิดวิกฤติการณ์ทางธรรมชาติ เช่น วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขนาด ๙.๐ ริกเตอร์ที่ประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันก็เกิดพายุเฮอริเคนขนาดยักษ์ชื่อ แคทารินา ถล่มเข้าใส่เมืองนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา

 นอกจากนี้แล้วใน พ.ศ. ๒๔๙๘ พ.ศ.  ๒๕๑๗ พ.ศ. ๒๕๓๕  และ พ.ศ. ๒๕๔๘  เกิดอากาศวิปริตในหลายประเทศ เช่น หิมะตกหนักที่สุดในสหรัฐอเมริกา ปรากฏการณ์เหล่านี้อาจมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในมุมมองของ ดร.วิกเตอร์ โกสติน นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแอดเลห์ ตอนใต้ของประเทศออสเตเรีย กล่าวว่า มีการเชื่อมโยงระหว่านัยวงน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งมีผลจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแถบเส้นศูนย์สูตรของโลกเพราะมันไปกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งเต็มไปด้วยรอยต่อที่เปราะบางอยู่แล้ว
 
 สำหรับท่านที่เป็นคอพันธุ์แท้ของโหราศาสตร์และการพยากรณ์ คงจะคุ้นกับการพาดหัวหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศ หรือข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ที่พาดหัวอย่างน่าตระหนกว่า “ดวงจันทร์เบียดประชิดโลก ๑๙  มีนาคม ๒๕๕๔ อาจเกิดพายุและน้ำท่วมหนักขึ้น” โดยภาษาอังกฤษจะใช้คำที่น่าตื่นเต้นว่า "Extreme Lunar Perigee March 19, 2011 Means More Storms and Flooding"

 อย่างไรก็ตามในฐานะผู้สนใจทางดาราศาสตร์ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่เป็นมือกล้องเตรียมถ่ายภาพดวงจันทร์สวยๆ ได้ตั้งแต่หกโมงเย็นเป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนหัวค่ำดวงจันทร์จะใหญ่มากและอาจมีสีแดงคล้ำๆ เหมือนเลือด เนื่องจากฝุ่นละอองและไอน้ำที่อยู่ใกล้ผิวดิน สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลทางราศีดวงจันทร์จะอยู่ระหว่างราศีสิงห์กับราศีหญิงสาว โดยมีดาวเสาร์ตามมาติดๆ ในราศีหญิงสาวที่ขอบฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่สองทุ่มครึ่งเป็นต้นไป

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "จันทรคติ" อ่านว่า “จัน-ทะ-ระ-คะ-ติ” หมายถึง การเดินทางของดวงจันทร์ การโครจรของดวงจันทร์

 จันทรคติ ทั่วไปใช้เรียกวิธีการนับวัน และเดือน โดยถือเอาการโครจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นหลัก คือ นับวันเป็นขึ้นแรม แบ่งเป็นข้างขึ้น ๑๕ วัน ข้างแรม ๑๕ วัน (ในเดือนขาดจะมี ๑๔ วัน) โดยเรียกว่า ขึ้น ๑ ค่ำ ขึ้น ๕ ค่ำ แรม ๑ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ เป็นต้น

 ทั้งนี้จะมีการนับเดือแน เป็น ๑๒ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนอ้าย (เดือน ๑) เดือนยี่ (เดือน ๒) เดือน ๓ เดือน ๔ ไปตามลำดับ จนถึงเดือน ๑๒ นับอย่างนี้เรียกว่า นับวันนับเดือนตามจันทรคติ

 จันทรคติ ใช้คู่กับคำว่า สุริยคติ ซึ่งเป็นวิธีการนับวันนับเดือน โดยถือเอาการโครจรของดวงอาทิตย์เป็นหลัก ซึงเป็นวิธีการนับแบบสากล เช่น วันที่ ๑ เดือน มกราคมเป็นต้น

 จันทรคติ ใช้เป็นวิธีนับวันนับเดือนในวงพระพุทธศาสนา และตามธรรมเนียมไทยเดิม

"พระธรรมกิตติวงศ์ "