
คำวัด - อุโบสถ อุโบสถศีล
อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม ซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่งๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรม โดยการกำหนดตำแหน่ง สีมา เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผ
ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "อุโบสถ " ไว้ว่า เป็นคำที่มีหลายความหมาย คือ
-สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์
-การเข้าจำ คือ การรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า วันรักษาอุโบสถ หรือรักษาอุโบสถศีล
วันพระ หรือวันฟังธรรมของคฤหัสถ์ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถศีลกัน เรียกว่า วันอุโบสถ
-การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน หรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ
ในขณะที่คำว่า “โบสถ์” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกัน ทำสังฆกรรมตามพระธรรมวินัย เช่น สวดพระปาติโมกข์ ให้อุปสมบท ซึ่งมีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต ทั้งนี้คำว่า โบสถ์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น
โบสถ์ เรียกเต็มว่า อุโบสถ หรือโรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม
โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า วิสุงคามสีมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ถูกต้องพระธรรมวินัย จะต้องมีสังฆกรรมที่รียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมา ก่อน
อุโบสถศีล อ่านว่า “อุ-โบ-สด-สีน” คือ ศีลที่รักษาในวัดอุโบสถ
อุโบสถศีล ได้แก่ ศีล ๘ ข้อ ที่อุบาสกอุบาสิการักษากันในวันอุโบสถ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ หรือ แรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด
อุโบสถศีล ได้แก่ ศีล ๘ ข้อ ไก้แก่ ๑.เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒.เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ๓.เว้นจากประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๔.เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อล่วงผู้อื่น ๕.เว้นจากสุรา และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
๖.เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันไปแล้ว ๗.เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี อันเป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรงตกแต่งร้ายกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาต่างๆ และ ๘.เว้นจากการนั่งนอนบนเตียง หรือตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และบนที่นั่งที่นอนใหญ่ ที่ยัดนุ่นหรือสำลีภายใน
"พระธรรมกิตติวงศ์"