พระเครื่อง

ติด “หลอดผอมมาก T5” ให้วัด ๓๓,๐๐๐ แห่ง
ประหยัดค่าไฟ ๒๗% เกือบ ๑,๐๐๐ ล้านต่อปี

ติด “หลอดผอมมาก T5” ให้วัด ๓๓,๐๐๐ แห่ง ประหยัดค่าไฟ ๒๗% เกือบ ๑,๐๐๐ ล้านต่อปี

03 ส.ค. 2553

สัมภาษณ์
วีระพล จิรประดิษฐกุล
ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
กระทรวงพลังงาน
โทร.๐-๒๖๑๒-๑๓๕๒

 กระทรวงพลังงาน เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดฟรีไฟท์ เป็นหลอดแบบใหม่ หลอดผอม หลอดนี้คือหลอดผอมมาก เริ่มเปลี่ยนให้โรงเรียน วัด กระทรวง ทั่วประเทศไทย มี ๒๐๐ ล้านหลอด เป้าหมายเปลี่ยนให้ ๘๓ ล้านหลอด หน่วยราชการจะเปลี่ยนให้ฟรี ประหยัดได้ถึง ๒๗% ถ้าทำได้จะประหยัดโรงไฟฟ้าได้ประมาณ ๓ โรง

 หากสามารถดำเนินการเปลี่ยนใช้หลอด T5 ในวัดทั่วประเทศไทยที่มีอยู่กว่า ๓๓,๐๐๐ แห่ง จะสามารถลดค่าไฟเฉลี่ย ๖๘.๔ ล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็นการลดพลังงานไฟฟ้าลงประมาณ ๒๗๑.๕ ล้านหน่วยต่อปี หรือปีละประมาณ ๘๒๐ ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึงประมาณ ๑๓๘,๐๐๐ ตันต่อปี

 หลอดผอมมากนี้ ราคาชุดละ ๒๔๐ บาท เริ่มทยอยเปลี่ยนมาแล้วประมาณ ๓-๔ เดือน โดยมีนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ เริ่มเปลี่ยนให้ตั้งแต่วัดในจังหวัดนำร่อง สำนักปลัดกระทรวง และศาลากลางจังหวัดก่อน โดยใช้งบประมาณของกองทุนรู้รักษ์พลังงานกว่าพันล้านบาท จากงบประมาณทั้งหมด ๓,๐๐๐ กว่าล้าน

 นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กิจกรรมเปลี่ยนหลอดผอมใหม่ T5 ให้แก่วัดในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโครงการเปลี่ยนหลอดประหยอดไฟ ลดใช้พลังงาน ตาม ๑๑ มาตรการประหยัดพลังงานของกระทรวงพลังงานกำหนดขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 การพิจารณาดำเนินการในวัดนั้น เพราะวัดซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตใจของคนในชุมชน จึงใช้เป็นจุดนำร่อง เชิญชวนให้ประชาชนหันมาช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้า ด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอดชนิดเก่ามาเป็นหลอดประหยัดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งในกิจกรรมเปลี่ยนหลอดผอมใหม่ T5 ให้แก่วัดจะดำเนินการใน 4 จังหวัดนำร่องทั่วประเทศ ประกอบด้วย นครราชสีมา, พิษณุโลก, กระบี่ และแม่ฮ่องสอน จะมีการดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟให้วัดที่ได้รับคัดเลือก

 กิจกรรมเปลี่ยนหลอดผอมใหม่ T5 เริ่มที่วัดพระนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นตัวอย่างประหยัดพลังงาน นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ถวายหลอดตะเกียบประหยัดไฟ และเปิดกิจกรรมเปลี่ยนหลอดไฟด้วยการขึ้นเปลี่ยนหลอดไฟด้วยตนเอง

 การรณรงค์ประหยัดนี้ ยังมีมาตรการเพิ่มเรื่องประหยัดเป็นเรื่องที่ต้องรณรงค์ต่อไป ทั้งในภาคประชาชน และและภาคอุตสาหกรรม ต่อไปจะเริ่มมาตรการกึ่งบังคับด้วยกฎหมาย ที่ออกมาบังคับให้อาคารใหญ่ๆ โรงพยาบาล โรงงานใหญ่ๆ กำหนดการใช้พลังงานต้องเป็นแบบประหยัดพลังงาน

 ขณะนี้กฎหมายบังคับนี้ได้ผ่านรัฐสภามีผลบังคับแล้ว กำหนดให้การสร้างตึกใหม่ อาคารขนาดใหญ่ ถ้าไม่ได้มาตรฐานประหยัดพลังงานจะไม่อนุญาตให้สร้างอาคารนั้น โดยมีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้ปฏิบัติบังคับใช้กฎหมาย

 หลอดผอมใหม่ T5 ให้แสงสว่างไว้ตลอดอายุการใช้งานของหลอดไฟ ๒,๐๐๐ ชั่วโมง ใช้สารเรืองแสงแบบ Tri-phosphors ใย มีขนาดเล็ก จึงทำให้ใช้พื้นที่ในการเก็บและประหยัดพื้นที่ในการขนส่งน้อยกว่า ๖๐% เกิดมลภาวะน้อยกว่า

 หากประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้หลอดผอมใหม่ T5 ทั่วประเทศจำนวน 200 ล้านหลอด ภายในระยะเวลา ๕ ปี จะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุดถึง ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์ และลดการใช้ไฟฟ้าประมาณ ๘,๗๐๐ ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ถึง ๒๖,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ช่วยลดการนำเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๔.๔ ล้านตันต่อปี

ทำบุญด้วยหลอดไฟ ถวายวัด
 ชาวพุทธให้ความสำคัญกับการทำบุญมาก โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๘ ทั้งนี้การทำบุญของชาวพุทธมีหลายวิธี สามารถทำควบคู่กันไป อาทิ การตักบาตร การถวายสังฆทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การฟังธรรม การให้ทาน ฯลฯ

 ดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ขอเสนอแนะวิธีการทำบุญควบคู่กับการประหยัดพลังงาน
๐ ทำบุญตักบาตรด้วยหลอดตะเกียบ หรือหลอดผอมประหยัดไฟฟ้า
 หากในบริเวณวัดใช้หลอดประหยัดไฟก็จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ ทั้งยังสามารถเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนหันมาใช้หลอดประหยัดไฟได้ด้วย

๐ ทำบุญวัดใกล้บ้าน
 เพื่อประหยัดค่าน้ำมันในการเดินทาง แถมประหยัดเวลา ทำให้มีเวลาในการทำบุญทำทานได้นานขึ้น ตลอดจนมีเวลาชื่นชมธรรมชาติ หรือสถาปัตยกรรมในวัดด้วย

๐ ทำบุญด้วยการปลูกต้นไม้
 สร้างความร่มเย็นให้วัด เติมออกซิเจนให้โลก และดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยลดภาวะโลกร้อน

๐ ทำบุญถวายสังฆทานของจำเป็น
 หลีกเลี่ยงถวายอาหารบรรจุกระป๋อง เพราะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากสารกันบูด สารเคมี แถมสิ้นเปลืองพลังงานจากการผลิตมากกว่าของอาหารสดอีกด้วย