ศรัทธาสายมู

ตักบาตรเที่ยงคืน ประเพณีสำคัญของล้านนา ปีนี้มีเพียง 2 ครั้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

งานบุญสำคัญ ประเพณีโบราณแห่งล้านนา ตักบาตรเที่ยงคืน ปี 2566 มี 2 ครั้ง ความเชื่อ ทำบุญกับ พระอุปคุต อรหันต์ผู้ขจัดอุปสรรค

วันเพ็ญพุธ หรือ วันเป็งปุ๊ด  คือวันพุธที่ตรงกับคืนเดือนเพ็ญ ในปี2566นี้ ตรงกับวันที่ 4 เมษายน 2566 และ วันที่ 26 ธันวาคม 2566 วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ หรือประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือ วันเป็งปุ๊ด ภาพจาก กองการศึกษา ทต.เวียงเชียงแสน

โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา 00.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน และแพร่ จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา 24.00 น. เป็นต้นไป บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวเหนือจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่หลังเที่ยงคืน โดยจะไปคอยใส่บาตรที่หน้าบ้าน ตามถนนสายต่าง ๆ หรือตามแยกใกล้ชุมชน เป็นต้น

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือ วันเป็งปุ๊ด ภาพจาก นครเชียงราย

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือคงรับเอามาจากประเทศพม่า สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระอุปคุต ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ

พระอุปคุต

จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเป็นเศรษฐีและบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนวันเป็งปุ๊ด ถือเป็นประเพณีล้านนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เพราะว่าแต่ละปีอาจมีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น

พระอุปคุต
สำหรับการบูชาพระอุปคุต นอกจากการตักบาตรเที่ยงคืน ยังมีคาถาสำหรับสักการะบูชา ที่ควรเก็บไว้สำหรับสวดสักการะ

คาถาบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มหาเถโร สัมพุทเธ นะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โสอิทา นิมหาเถโร นะมัสสิตตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มหาเถรัง ยัง ยัง อุปะทะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
 

คาถาขอโชคลาภพระอุปคุต
มหาอุปะคุตโต จะ มะหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโม โจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม ฯ
เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุตโต จะ มหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุณณะตา จะ เทวะตานัมปิ มะนุสสานัมปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิฯ

คาถาพระอุปคุตผูกมาร
มหาอุปะคุตโต มหาอุปะคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมัง ทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะธิษฐามิ ฯ
คาถานี้มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุด ใช้เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ 108 ครั้ง สามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวะอันตรายต่างๆ

logoline