ศรัทธาสายมู

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลังจากรัฐบาลเปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าออกประเทศได้ ส่งผลให้สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมกลับฟื้นขึ้นมา ไม่ว่าย่านถนนข้าวสาร หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นวัดโพธิ์ วัดพระแก้ว และศาลท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ สี่แยกราชประสงค์ ได้รับอานิสงส์ พลิกฟื้นไปด้วย

ผมไปที่ 4 แยกราชประสงค์ เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าบริเวณศาลท่านท้าวมหาพรหม เต็มไปด้วยผู้ศรัทธาทั้งไทยและต่างชาติ ในวัยต่างๆ กัน ที่มาสักการะบูชา โดยถือหรือทูนถาดบรรจุ พวงมาลัย ดอกไม้ ธูปเทียน และช้างไม้ขนาดเล็ก เหนือเกล้า เพื่อบูชาท่านท้าวมหาพรหม   การบูชากระจายกันไปโดยรอบ 4 ทิศ ไม่กระจุกที่ใดที่หนึ่ง ทั้งนี้เพราะพระพรหม ท่านมี 4 หน้า 4 มือ บูชาด้านใดก็ได้

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

ของบูชามิใช่เฉพาะดอกไม้ธูปเทียนเท่านั้น แต่สามารถบูชา ด้วยการรำถวาย แต่เราไม่ต้องรำเอง มีนางรำพร้อมดนตรีไทยทำแทนเรา ส่วนเรามีหน้าที่จ่ายค่ารำ กล่าวคำบูชาหรืออธิษฐาน ขณะที่ดนตรีบรรเลงเะลงไทยเดิมและนางรำเริ่มออกท่ารำ 

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

เสียงดนตรีไทยทำให้ศาลพระพรหมเพิ่มมนต์ขลังยิ่งขึ้น

 

ผู้บูชา พระพรหม น่าจะมาถวายของเมื่อสมปรารถนา (แก้บน) หรือบางกลุ่ม บางคนก็มาถวายสักการะเพื่อให้ชีวิตมีความสวัสดี มีมงคล

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

พระพรหม นั้นเป็นมหาเทพองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ ในจำนวนมหาเทพ 3 องค์ ได้แก่ พระนารายณ์ และพระอิศวร

 

พระพรหม มีหน้าที่สร้าง พระนารายณ์มีหน้าที่รักษา และพระอิศวร มีหน้าที่ทำลาย

 

ส่วนท่านท้าวมหาพรหมเอราวัณ นั้น มีความเป็นมาว่า บริษัทสหโรงแรม และการท่องเที่ยว จำกัด ที่มี พล.ต.อ เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ในยุค ก่อน พ ศ. 2500 เป็นประธานกรรมการ ได้สร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว เพื่อรับแขกเมือง ให้ชื่อว่า โรงแรมเอราวัณ เริ่มโครงการ พ.ศ. 2496

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

ระหว่างการก่อสร้างมีปัญหาและอุปสรรค ทำให้การก่อสร้างไม่เดินหน้า

 

ถึง พ.ศ. 2499 พล.ต.ต. จเร สุทัศน์ จเรตำรวจ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง ได้รับคำแนะนำจาก พล.ร.ต.หลวงสุวิชานแพทย์ ร.น.ให้ประกอบพิธีบวงสรวง ท่านท้าวมหาพรหม เพื่อขอนุญาต นำชื่อเอราวัณ (ชื่อช้าง) มาเป็นชื่อโรงแรม

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

เมื่อบวงสรวงตามคำแนะนำ แล้ว การก่อสร้าง เดินหน้า ไม่มีอุปสรรค ทางผู้บริหารจึงสร้าง ศาลประดิษฐานท้าวมหาพรหม ที่มุมของโรงแรมติด 4 แยกราชประสงค์

 

และอัญเชิญท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์มาประดิษฐานในศาล เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2499

 

ดังนั้นทุกวันที่ 9 พฤศจิกายน จึงเป็นวันบวงสรวง ประจำปี

 

ต่อมาเมื่อวันที่  21มีนาคม 2549 เวลากลางคืน เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อมีชายคนหนึ่ง ใช้ฆ้อนทุบองค์ท้าวมหาพรหม แตกหัก ใช้การต่อไม่ได้ ผู้คนระแวกนั้นได้เข้าจับกุม และทำประชาทัณฑ์คนที่ทุบท้าวมหาพรหมจนตาย

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

เมื่อท่านท้าวมหาพรหมถูกทุบ กรมศิลปากร ทึ่รับผิดชอบด้านรักษาโบราณวัตถุ ได้เข้ามาเก็บชิ้นส่วน และดำเนินการสร้างองค์ใหม่ทดแทนองค์เดิม แต่ครั้งนี้หล่อด้วยทองเหลือง มีความสูง 0.99 เมตร ความกว้างระหว่างริมชาณุ 0.56 เมตร
(เท่าองค์เดิม) แต่ครั้งนี้กรมศิลปากร  หล่อ 2 องค์ เผื่อว่าองค์หนึ่งเกิดถูกทุบทำลาย ก็นำองค์ที่เก็บที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร มาทดแทนได้

 

เมื่อหล่อและตกแต่งแล้วได้อัญเชิญมาแทนองค์เก่า ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 รวมเวลา 2 เดือนนับแต่เกิดอุบัติเหตุ

การบูชาสักการะ 'ท่านท้าวมหาพรหม เอราวัณ' พลิกฟื้นแล้ว

ศาลพระพรหม นี้ดูแลโดยมูลนิธิท่านท้าวมหาพรหม และจัดการเรื่องเงินบริจาคที่ศาลด้วยมูลนิธิแสดงตัวเลขเงินบริจาค ตั้งแต่เริ่มต้น ถึง 31 ธันวาคม 2564 ว่ามียอดรวม 2,469,612,132.92 บาทซึ่งมูลนิธิบริจาคเป็นสาธารณกุศลทั้งหมด โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

 

การท่องเที่ยวดี พลิกฟื้นท่านท้าวมหาพรหม ทำให้มูลนิธิมีเงินบริจาคเพื่อการกุศล ได้เหมือนเดิม

 

คอลัมน์ : สยามอัศจรรย์

โดย : สสต.
 

logoline