ศรัทธาสายมู

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชีวประวัติ ตอนที่ 1 ของ พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ แห่ง วัดประดู่ฉิมพลี จากเด็กชายเมืองสมุทรสงคราม สู่เส้นทางร่มกาสาวพักตร์

พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉิมพลี  เป็นเถราจารย์ที่ผู้คนนับถืออย่างกว้างขวาง มีพระเครื่อง พระปิดตา เป็น วัตถุมงคลเอกของท่าน ด้วยวัตรอันปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจากเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย และหลวงปู่โต๊ะเป็นภิกษุที่อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสยาวนานถึง 69 ปี

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี
รายการศักดิ์สิทธิ์คงกระพัน บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นวัดเก่า สร้างในยุครัชกาลที่ 3 ปี 2375 สร้างเสร็จทั้งหมดใช้เวลา 8 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 4  ผู้สร้างคือ สมเด็จเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค)  สมัยยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า มีเนื้อที่เฉพาะเขตอาราม ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ถึง 13 ไร่เศษ จัดว่าเป็นวัดใหญ่และงดงามมั่นคงมาก ผิดกว่าวัดที่เป็น วัดราษฎร์ ทั่วไป
 

หนังสือ ชีวประวัติและวัตถุมงคล พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ วัดประดู่ฉิมพลี  ที่ทางวัดจัดสร้าง ได้บันทึกประวัติของท่านไว้ว่า  ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ ปีกุน ยังเป็นอัฐศก ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ปี 2429 ณ.บ้านคลองบางน้อย ตำบลบางพรมหม อำเภอคณฑี

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี
เป็นบุตร นายพลอย กับ นางทับ รัตนคอน มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันคนหนึ่งชื่อ เฉื่อย เมื่อเยาว์วัยอยู่กับบิดามารดาและได้เล่าเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ใกล้บ้านเกิด ต่อมาโยมมารดาของท่าน ถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว ผู้เป็นญาติบวชอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพน ฯ หรือ วัดโพธิ์ พาหลวงปู่โต๊ะ ในวัยเด็ก มาฝากให้อยู่กับอธิการสุข วัดประดู่ฉิมพลี เมื่ออายุได้ 13 ปี 

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่โต๊ะ เรียนหนังสือจนอายุ 17 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร มีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณะภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปาการะท่านต่อมา
 

จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน 8 อุตตราษาฒขึ้น 7ค่ำ ปีมะแม นพศก ตรงกับ วันที่ 16 กรกฎาคม ปี 2450  เวลา 15.30 นาฬิกา พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า “อินทสุวณโณ”

เถราจารย์แห่งคลองบางกอกใหญ่ ' หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ' วัดประดู่ฉิมพลี
เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความวิริยะอุตสาหะด้วยจิตที่มุ่งหวังที่จะบรรลุสู่แดนเกษม ต่อมาพระอธิการคำเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นได้ลาสิกขาบทออกไป ท่านจึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อท่านมีอายุได้ 26 ปี พรรษา 6 และมีฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา ท่านได้รับภาระ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบมา จนถึงแก่กาลมรณภาพ และถึงท่านจะมีภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ท่านก็มิย่อท้อต่อการศึกษาและการปฏิบัติทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ด้วยความมุมานะจนสอบได้ นักธรรมตรีได้ เมื่อปี 2455 เมื่อพระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งให้การอบรมสมาธิกรรมฐานแก่ท่าน ได้มรณภาพไปแล้ว ท่านก็ได้ออกแสวงหาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน


ติดตามตอนต่อไป....
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ