พระเครื่อง

หนึ่งในพิมพ์โบราณ พระสมเด็จ พิมพ์เล็บมือ วัดระฆังโฆสิตาราม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตีกล้องศึกษาพระเครื่อง หนึ่งในพิมพ์แบบโบราณ พระสมเด็จ ที่เรียกได้ว่า เป็น พิมพ์โบราณ พิมพ์เล็บมือ วัดระฆังโหสิตาราม

"หนังสือพระสมเด็จฯ" เป็นหนังสือที่เรียบเรียงโดย ตรียัมปวาย หรือ พันเอกผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้บัญญัติศัพท์ เบญจภาคี อันโด่งดัง เป็นหนังสือเชิงวิชาการรวบรวมชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) และตำนานการสร้างพระสมเด็จฯ โดยได้กล่าวไว้ทั้งสามวัดอย่างละเอียด พร้อมด้วยรูปภาพประกอบ (ขาว-ดำ)

ผู้แกะพิมพ์พระสมเด็จ ถวายคือ "หลวงวิจารณ์เจียรนัย" ช่างทองในราชสำนัก" ถูกจำแนกออกไปเป็น ๕ พิมพ์ใหญ่ด้วยกัน คือ 1.พิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์ทรงเจดีย์ 3.พิมพ์เกศบัวตูม 4.พิมพ์ฐานแซม และ 5.พิมพ์ปรกโพธิ์ สำหรับพระพิมพ์นี้มีให้พบน้อยมาก ภายหลังจึงไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง
ในกรณีของสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เล็บมือ ซึ่งมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ คือ พิมพ์โบราณ พิมพ์ขอบกระด้ง รวมทั้งหลังเบี้ย ก็เช่นกัน เมื่อพบน้อยมาก ภายหลังจึงไม่ค่อยจะมีผู้กล่าวถึง การเรียกชื่อสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เล็บมือ คือลักษณะคล้ายเล็บมือหรือขอบกระด้งนั่นเอง แรกเริ่มของการสร้างพระสมเด็จนั้น ท่านสร้างเป็นพิมพ์เล็บมือหลังเบี้ยนี้ขึ้นมาก่อนเเต่เนื่องจากรูปแบบที่ไม่สวยงามหรือประเด็นอื่นก็ไม่ทราบได้ก็เลยยกเลิกไป

  "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2409 ภายหลังจากโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระสมเด็จพุฒาจารย์ จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า "พระสมเด็จ" และได้สร้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2415 โดยได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้นหมดก็สร้างใหม่

หนึ่งในพิมพ์โบราณ พระสมเด็จ พิมพ์เล็บมือ วัดระฆังโฆสิตาราม

เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะเอาติดตัวไป ญาติโยมที่ใส่บาตรท่าน ท่านจะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่าเก็บเอาไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ในยุคสมัยนั้นแล้วว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม

นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า มวลสารที่ใช้สร้างพระที่สำคัญ คือ ท่านยังเอาข้าวก้นบาตรและอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้าคำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่งถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ

ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม มีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ