พระเครื่อง

อ่านประวัติ วัดไผ่โรงวัว อาราม จาก ปณิธานแรงกล้า ของ หลวงพ่อขอม เกจิดัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก กับ ประวัติของ วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี หลังเกิดเหตุไฟไหม้ โบสถ์ร้อยยอด อารามจากความศรัทธา และ ปณิธาน ของ หลวงพ่อขอม อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก

เป็นความน่าเสียดายอย่างมาก หลังเกิดเหตุไฟไหม้ วิหารร้อยยอด ของ วัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อกลางดึก วันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา บริเวณชั้นล่างของโบสถ์ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บของและประกอบพิธีกรรมเดินลอดฐานโบสถ์ ถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหายทั้งหมด แต่โชคดีเพลิงยังไม่ลามขึ้นสู่ชั้น 2 ที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา โดยไม่มีผู้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวนจะได้ประสานเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานเข้ามาตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงอย่างละเอียดครั้ง

วัดไผ่โรงวัว
สำหรับ วัดไผ่โรงวัว นั้น ในแง่มุมหนึ่ง เชื่อว่า หลายต่อหลายคน ต้องคุ้นเคยกับวัดนี้ โดยเฉพาะ คนที่ชอบดูละครพื้นบ้าน ละครจักรวงศ์ ยามเช้า เสาร์-อาทิตย์ จะเคยเห็นฉากหลัง ของ วัดไผ่โรงวัว ถูกเซตเป็นฉาก พระราชวัง ตำหนัก ต่าง ๆ ในละครเหล่านั้น และยังเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ท่องเที่ยว เชิงความเชื่อ ที่ไม่ว่าจะไหนสมัยใด ก็ยังมีผู้คนเดินทางไปยังอารามแห่งนี้ ไม่ขาดสาย 

วัดไผ่โรงวัว
“วัดไผ่โรงวัว” หรือ “วัดโพธาราม” ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามประวัติของกรมศาสนา วัดไผ่โรงวัวเริ่มก่อตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2469 ริมคลองพระยาบันลือ ซึ่งเป็นคลองที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน วัดไผ่โรงวัวเริ่มต้นด้วยการสร้างในเนื้อที่ 20 ไร่ เดิมเป็นที่ดอน มีกอไผ่ขึ้นเต็มพื้นที่ เมื่อถึงฤดูน้ำ ชาวบ้านจะเอาวัวควายมาเลี้ยงบนที่ดอนนี้โดยปลูกโรงวัวให้อาศัย

วัดไผ่โรงวัว

ต่อมาคิดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ให้ชื่อว่าสำนักสงฆ์ไผ่โรงวัว จนกระทั่งเป็นวัด เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดโพธารามแต่ไม่ค่อยมีใครเรียก แม้แต่ชาวต่างจังหวัดก็เรียกว่าวัดไผ่โรงวัว ทางวัดจึงเปลี่ยนชื่อกลับมาใช้เป็น “วัดไผ่โรงวัว” อย่างเป็นทางการ
 

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลาสมเด็จพระพุทธโคดม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 10.25 เมตร ความสูงรวมบัลลังค์ 26 เมตร เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์หนัก 50 ตัน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี

ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จวัดไผ่โรงวัว
ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา อาทิ “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี “พระกะกุสันโธ” พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และ “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย

พระกะกุสันโธ  ที่ หลวงพ่อขอม สร้างไว้ ที่ วัดไผ่โรงวัว
สำหรับ โบสถ์ร้อยยอด หรือ วิหารร้อยยอด ที่ถูกไฟไหม้นั้น ข้อมูลระบุไว้ว่า ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2521 เป็นโบสถ์ทรงไทยจัตุรมุข กว้าง 89 เมตร ยาว 127 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมประติมากรรมและจิตรกรรมรวมเข้าไว้ด้วยกันในอุโบสถหลังนี้โดยที่ตัว อุโบสถร้อยยอด

โบสถ์ หรือ วิหาร ร้อยยอด วัดไผ่โรงวัว

เป็นลักษณะงานสถาปัตยกรรมภายในอุโบสถ เช่น บานประตูและหน้าต่างแต่ละบานจะมีภาพแกะสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานเป็นปติมากรรมที่มีความงดงามวิจิตร ดูเหมือนมีชีวิตชีวา

ภายในโบสถ์ หรือ วิหาร ร้อยยอด วัดไผ่โรงวัว โบสถ์ หรือ วิหาร ร้อยยอด วัดไผ่โรงวัว
 

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นไฮไลท์ของสถานที่แห่งนี้ คือ เมืองนรกภูมิ แดนแห่งเปรตและอสูรกาย ซึ่งภายในวัดไผ่โรงวัวได้จำลองสถานที่ความเชื่อเรื่องบาปกรรมเมื่อตายไปต้องตกนรก เพื่อให้เป็นคติสอนใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ ซึ่งในนรกภูมินั้นเป็นหุ่นปูนปั้นตามนรกขุมต่างๆ อาทิ ปีนต้นงิ้ว กระทะทองแทง อีกาจิกฯ

นรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว นรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว นรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว
ตามความเชื่อของคนไทย เปรต คือ ผู้ที่ทำบาปกรรมมาชนิดหนึ่ง ยกตัวอย่างผู้ใดคิดร้ายกับพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณกับตัวเอง ด่าทอพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ หมอทำแท้ง ข้าราชการที่โกงกิน เมื่อตายไปแล้วจะเกิดในเปรตวิสัยซึ่งเป็น 1 ใน 4 อบายภูมิ (4 อบายภูมิ ประกอบด้วย 1. นรกภูมิ 2. เปรตภูมิ 3. อสุรกายภูมิ 4. ดิรัจฉานภูมิ) มีรูปร่างสูงเท่าต้นตาล ผมยาว คอยาว ผอมโซ ผิวดำ ท้องโต มือเท่าใบตาล แต่มีปากเท่ารูเข็ม

นรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว นรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว

และเปรตจะหิวอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากกินอะไรไม่ได้ จึงชอบมาขอส่วนบุญ ซึ่งต้องรับกรรมด้วยความทุกข์ทรมาน หิวโหยอดอยาก ร้อนหรือหนาวอย่างที่สุด เจ็บปวดอย่างที่สุด และรับความทุกข์ทรมานอย่างที่สุด


วัดไผ่โรงวัว นับได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะชื่นชมความงามของสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา เพราะวัดแห่งนี้มีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาที่หลากหลาย รวมไปถึงเมืองนรกภูมิ แดนแห่งเปรตและอสูรกาย ซึ่งเป็นไฮไลท์ที่สำคัญของวัดไผ่โรงวัว เพราะรูปปั้นเปรตเหล่านั้นสามารถเป็นสิ่งเตือนใจให้กับผู้คนที่พบเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ทำแต่ความดีและละเว้นการทำบาป


การเดินทางมาที่วัดไผ่โรงวัว สามารถขับรถส่วนตัวจากบางบัวทอง วิ่งมาตามถนนสายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (สาย 340) ราว 28 กิโลเมตร ตรงยาวไปตลอด ผ่านแยกนพวงศ์ ตรงต่อไปเจอทางแยกซ้ายไปอำเภอสองพี่น้อง ให้เลี้ยวซ้ายต่อไปตามถนนสาย 3422 ตรงต่อไปราว 14 กิโลเมตร วัดไผ่โรงวัวจะอยู่ทางขวามือ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ