พระเครื่อง

พิธีโบราณ ชาว พัทลุง ร่วมงานคึกคัก พิธี แต่งงานพญานาค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเพณีโบราณ นับ 100 ปี ชาว พัทลุง จัดขบวนขันหมาก ร่วมงานสมรส แต่งงานพญานาค กิจกรรมแต่อดีต ส่วนหนึ่งในการซ่อมเรือ พิธีลากเรือพระ

     9 ตุลาคม 2565 ที่ วัดยางงาม ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ชาวบ้านประมาณ 500 คน แห่ขบวนขันหมากในงานพิธีมงคลสมรสของ พญานาคโกศล เจ้าบ่าว ซึ่งมี โนราห์ดักดูก บันเทิงศิลป์ จ.นครศรีธรรมราช รับหน้าที่เป็นแม่เจ้าบ่าว และพญานาคยอดยาหยี เจ้าสาว มีโนราห์ภิญโญ สองหิ้ง จ.พัทลุง รับหน้าที่เป็นแม่เจ้าสาว โดยมีขบวนกลองยาว ขบวนขันหมากตามด้วยรถของเจ้าบ่าว มาจาก วัดบ้านสวน ในพื้นที่ ต.ควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง เมื่อขบวนขันหมากมาถึงวัดยางงามมีกิจกรรมมากมายเช่นกั้นประตูขบวนเจ้าบ่าวเป็นระยะๆ มีพิธีทางศาสนามีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ก่อนจะนำพญานาคเจ้าบ่าวเข้าในพิธีต้องมีพิธีชำระร่างกายด้วยน้ำมนต์ จากนั้นญาติฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวกล่าวบทกลอนหยอกล้อกันสนุกสนาน

แต่งงานพญานาค

    หลังจากพิธีสงฆ์เสร็จทางญาติเจ้าบ่าวมอบสินสอดให้ทางเจ้าสาวเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท จากนั้นมีพิธีเจิมหน้าให้เจ้าสาว เจ้าบ่าว ต่อด้วยสวมสายมงคล โดยนายโสภณ จันทรเทพ รองนายกเทศบาลเมืองพัทลุง และนายวิญญ์ สิทธิเชนทร์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นแขกผู้ใหญ่ของเจ้าสาว น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นญาติผู้ใหญ่ของเจ้าบ่าว ทั้ง 2 สวมมาลัยแก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาว จากนั้นแขกเหรื่อที่เข้าร่วมงานต่างเข้าแถวร่วมรดน้ำสังข์ เมื่อพิธีการเสร็จสิ้นทางวัดบ้านสวนซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าบ่าว นำพญานาคคู่บ่าวสาวกลับไปทำพิธีเรียงสาดเรียงหมอนที่วัดบ้านสวน เพื่อนำไปประดับเรือพระของวัดบ้านสวน และจะใช้ในพิธีลากเรือพระออกโปรดสัตว์ในเดือน 11 หลังออกพรรษา ต่อไป

แต่งงานพญานาค
 


สำหรับ พิธีมงคลสมรสพญานาค เป็นประเพณีโบราณที่ไม่ได้ทำติดต่อกัน เนื่องจากพญานาคที่ประจำเรือพระของวัดต่างๆ ไม่มีการชำรุด หรือหากชำรุดเล็กน้อยก็สามารถซ่อมแซมได้ แต่ในกรณีที่ชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดั่งเช่นพญานาคของวัดบ้านสวน ซึ่งจะต้องแกะสลักพญานาคขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 องค์ ต้องเป็นเพศผู้และเพศเมีย โดยทางช่างของวัดยางงามมีฝีมือในการแกะสลักพญานาค ทางวัดบ้านสวนจึงต้องทำพิธีไปสู่ขอและแต่งงานให้ถูกต้องตามประเพณี ในส่วนของจังหวัดพัทลุงนับเป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปี ที่ได้จัดพิธีดังกล่าวขึ้น ซึ่งเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมสืบต่อให้อยู่คู่กับท้องถิ่นและลูกลานได้เรียนรู้ต่อไป

แต่งงานพญานาค

    ทางด้านพระใบฎีกายศ ยโสธโร เจ้าอาวาสวัดยางงามกล่าวจากการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านรอบๆลุ่มน้ำทะเลสายสงขลา จากนั้นได้ไปพบพิธีแต่งงานของพญานาค อ.สิงหนคร จ.สงขลา เห็นว่าเป็นประเพณีที่น่าจะสืบสานต่อ ก่อนที่จะปล่อยให้ห่างหายไป ประกอบกับตนมีฝีมือในการแกะสลักพญานาคอยู่แล้ว 

เมื่อทางวัดบ้านสวนมาขอให้แกะสลักพญานาค ตนจึงเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะจัดงานแต่งงานพญานาคขึ้นเพื่อสืบสานประเพณี นอกจากวัดบ้านสวนแล้วยังมีวัดป่าตอ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อีกที่ต้องการให้แกะสลักพญานาคให้ ซึ่งต้องจัดในปีถัดไป

แต่งงานพญานาค

    สำหรับความเป็นมานั้นพระครูบอกว่า เนื่องด้วยสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้ไปโประพระมารดาในชั้นดาวดึง จากนั้นได้ลงมาโปรดสัตว์ในเมืองมนุษย์ โดยลงมาทางบันไดเงินและบันไดแก้ว ทางเมืองมนุษย์ต้อนรับด้วยบุสบก มีพญานาค2 สามีภรรยารับหน้าที่เคลื่อนบุสบกไปตามสถานที่ต่างๆ เมื่อเวลาล่วงเลยไป บุสบกก็คือเรือพระที่ใช้ในพิธีประเพณีลากพระในปัจจุบัน ซึ่งเรือพระต้องประดิษฐ์ด้วยพญานาค 2 มีภรรยา ประจำเรือพระ ซึ่งเป็นยานพาหนะพาพระพุทธเจ้าออกโปรดญาติโยม หลังจากเทศกาลออกพรรษาเสร็จสิ้น ในปีนี้จะจัดพิธีลากเรือพระในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 นี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ