พระเครื่อง

พระโคนสมอ พระกรุ หนึ่งในสาย คงกระพันชาตรี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตีกล้อง ส่องพระกรุ หนึ่งในพระเครื่องบรรจุกรุ ที่ว่ากันว่า เป็นหนึ่งในพระสาย แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ " พระโคนสมอ " มีทั้งกรุอยุธยา และ กรุ วังหน้า

พระโคนสมอ เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา และเนื้อชิน มีทั้งประทับนั่ง ประทับยืน หรือ ไสยาสน์ รวมทั้งอีกหลายๆ ปาง ประทับอยู่ในซุ้มเรือแก้ว ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ต่อเนื่องรัตนโกสินทร์ตอนต้น เหตุที่ได้ชื่อนี้ เนื่องจากได้มีการพบพระเครื่องส่วนหนึ่ง กองอยู่โคนต้นสมอ ในบริเวณพระราชวังบวร หรือที่เรียกกันว่า “วังหน้า” เป็นจำนวนมาก

พระโคนสมอ
 นักเลงพระยุคก่อนกล่าวไว้ว่า พระชุดนี้นำออกมาจากเพดานในวังหน้าจำนวนมากถึง 13 ปี๊บ จึงได้ชื่อว่า พระโคนสมอและในกาลต่อมา ยังพบ พระโคนสมอ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ อีกหลายวัด
ประวัติการสร้างพระกรุ โคนสมอ พระโคนสมอ เป็นพระศิลปะอยุธยายุคปลาย แต่พระส่วนมากกลับพบที่ในกรุงเทพฯ เสียเป็นส่วนใหญ่ และส่วนมากที่พบก็เป็นพระเนื้อดิน ซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือ และเป็นพระเครื่องที่ลงรักปิดทองมาแต่เดิม แรกเริ่มเดิมทีที่พบเนื่องมาจากได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ วังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม.ในปัจจุบัน

พระโคนสมอ

และได้พบพระโคนสมอเป็นจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำพระชนิดนี้มารวมกองกันไว้ที่โคนต้นสมอพิเภก หน้าพิพิธภัณฑ์ 

เนื่องมีพระจำนวนมากผู้คนที่พบเห็นจึงเรียกชื่อพระตามสถานที่พบเห็นว่า พระโคนสมอ ในตอนแรกๆ ก็ไม่มีใครสนใจพระชนิดนี้เท่าไรนัก ต่อมาก็มีคนหยิบไปบูชาบ้าง เนื่องจากว่าเห็นพระเป็นพระปางประจำวันก็นำไปตามวันเกิดของตนเอง และทางกรมศิลป์ ก็เปิดให้เช่าบูชาบ้าง จนพระหมดไปในที่สุด ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ ในกทม.และอยุธยา

พระโคนสมอ

เท่าที่ดูรูปแบบศิลปะแล้วสันนิษฐานว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย และตอนเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม. พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ใน กทม. นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ด้วย และ พระโคนสมอ ก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายคือ ไม่มีผู้ใดได้บันทึกไว้ว่า พระทั้งหมดนั้นได้นำมาจากที่วัดใดในอยุธยา 

พระโคนสมอ

พระโคนสมอ ที่ถูกพบนั้นส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีขนาดใหญ่ และเป็นพระที่มีการลงรักปิดทองทั้งหมด และมีพระเนื้อดินเผาที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษที่มักเรียกกันว่า "พระเท้าชมพู" ซึ่งเป็นพระยืนปางประทานพร ทรงเครื่องขัดติยราชประดับมงกุฎ สวยงามมาก ส่วนพระโคนสมอทั่วๆ ไปเป็นพระที่สร้างเป็นแบบพระประจำวันเสียเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะเป็นพระที่ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ฐานแบบย่อมุม ตามแบบศิลปะอยุธยายุคปลาย นอกจากพิมพ์พระประจำวันแล้วก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกบ้าง พระโคนสมอส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผา แต่ก็มีเนื้ออื่นๆ ที่พบน้อยมาก เช่น เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน และเนื้อแก้วน้ำประสาน 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ