พระเครื่อง

พระกรุเมืองกาญจนบุรี " พระท่ากระดาน " พุทธคุณ คงกระพันชาตรี

04 ต.ค. 2565

หนึ่งในพระสายเหนียว " พระท่ากระดาน " ของดี ที่เชื่อกันว่า ฤาษีตาไฟ เสกสร้าง บรรจุในถ้ำ พุทธคุณโดดเด่น คงกระพันชาตรี

หากวิเคราะห์และมองตามหน้าประวัติศาสตร์ ดินแดนที่เป็น จ. กาญจนบุรี ในทุกวันนี้ เคยเป็นที่อยู่เดิมของชนหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ยุคสมัยหิน จนมาถึงยุคสมัยทวารวดี ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และมีพระกรุพระเครื่องจำนวนมาก ที่ขึ้นชื่อ ลือนาม 

พระกรุท่ากระดาน
หนึ่งในพระกรุ ที่มีเรื่องราว หนึ่งในพระเครื่อง หรือ พระกรุ ที่ว่ากันว่าตาม ความเชื่อ ว่าเป็น พระสายเหนียว คงกระพันชาตรี นักสะสม นักนิยมพระเครื่อง กล่าวว่า พระท่ากระดาน นั้น เป็นพระที่มีความโดดเด่น ในพุทธคุณนั้น 

สำหรับ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องประทับนั่งแบบมารวิชัย รูปแบบนูนสูงครึ่งซีก ด้านหลังแบนเรียบ หนา แบน ฐานสำเภา มีการค้นพบครั้งแรกจากกรุถ้ำลั่นทม ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 70 กิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่ มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดาน และต่อมาก็พบ พระท่ากระดาน เป็นจำนวนมาก ในเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่าในยุคนั้น กระทั่ง พ.ศ.2527 ก็ยังมีการพบที่ตำบลลาดหญ้า ใกล้ๆ กับ ค่ายทหารกองพลที่ 9

พระกรุท่ากระดาน
 ทั้งนี้ พระท่ากระดาน เป็นหนึ่งในพระเครื่องชั้นนำ ที่ถูกกล่าวขานของนักเลงพระในอดีต และเซียนพระในปัจจุบันว่า แคล้วคลาด คงกระพัน ถึงกระทั่งมีผู้กล่าวขานกันว่า พระท่ากระดาน คือ "ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง"

มีเรื่องราวประวัติเกี่ยวกับ พระท่ากระดาน ว่า เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างไม่ใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง 11 ตน และ มีฤๅษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย

พระกรุท่ากระดาน
 ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้าง พระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน  เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น
 จากคำบอกเล่าของคนเมืองกาญจนบุรีรุ่นเก่า ที่เรียก พระท่ากระดาน ว่า พระเกศบิดตาแดง นั้น มีความหมายลึกซึ้ง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงผู้สร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาว และบิดม้วน ดุจชฎาของพระฤๅษี พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤๅษีอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์ แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอาตาจญาณสมาบัติ  

 ส่วนคำว่า ตาแดง นั้น ดูเหมือนว่าจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายความว่า พระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่โดยทั่วไป

 จากลักษณะพิเศษต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้สันนิษฐานและประมาณการได้ว่า ผู้สร้าง พระท่ากระดาน นี้ น่าจะได้แก่ พระฤๅษีตาไฟ จารึกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี (ทางผ่านอู่ทอง) คงมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้ และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่างๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขต อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งกำเนิดของ พระท่ากระดาน โดยมีการขุดพบ พระท่ากระดาน จำนวนหลายร้ององค์ บรรจุอยู่ในพระเจดีย์โบราณหน้าถ้ำ  

พระกรุท่ากระดาน

พุทธลักษณะ พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องปฏิมากรรมแบบนูนสูง คือมีภาพด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังแบนเรียบ โดยจะเน้นส่วนนูนสูง และส่วนลึก องค์พระปางมารวิชัยขัดราบ มีสังฆาฏิแบบสี่เหลี่ยมกว้างหนา ยาวจรดลงมาถึงบริเวณส่วนพระหัตถ์ซ้าย ฐานสำเภา อันเป็นเอกลักษณ์ของพระยุคอู่ทอง พระเกศยาว ใบหน้าลึก เป็นลักษณะแบบพุทธศิลปะยุคอู่ทอง พระเกศจะเป็นแบบยาวตรงขึ้นไปทุกองค์ แต่เนื่องจากระยะเวลาของอายุพระมาก และอยู่ใต้ดิน ถูกทับถมมาก ทำให้ปลายเกศซึ่งมีความบอบบาง อาจจะหักชำรุด หรืองอคดไปด้านใดด้านหนึ่ง

พระกรุท่ากระดาน
 ปลายเกศของ พระท่ากระดาน จึงมีหลายลักษณะ คือ เกศยาวตรง เรียกว่า พิมพ์เกศตรง ส่วนเกศที่คดไปด้านใดด้านหนึ่ง เรียกว่า พิมพ์เกศคด พระองค์ใดที่เกศหักชำรุด ทำให้เกศหดเหลือสั้น เรียกว่า พิมพ์เกศบัวตูม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของ พระท่ากระดาน คือ มือหรือพระหัตถ์มีลักษณะหนา ตามเอกลักษณ์ของพระอู่ทอง

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek