พระเครื่อง

พระถ้ำเสือ หนึ่งในพระกรุ แห่ง แดน สุพรรณบุรี ตำนานกล่าวขาน พระฤาษี สร้าง

พระถ้ำเสือ หนึ่งในพระกรุ แห่ง แดน สุพรรณบุรี ตำนานกล่าวขาน พระฤาษี สร้าง

28 ก.ย. 2565

พระกรุ แห่ง เมือง อู่ทอง สุพรรณบุรี พระถ้ำเสือ ศิลปะยุคโบราณ ตำนานเล่าขานระบุ เป็น พระเครื่อง ที่ ฤาษี จัดสร้างเอาไว้

พระถ้ำเสือ พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนยุทธหัตถี จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่านที่มีชื่อเป็นมงคล มีข้อสันนิษฐานไว้ว่า ผู้สร้าง พระถ้ำเสืออาจเป็น พระฤาษีหรือ กลุ่มนักบวชพื้นเมือง ที่หันมาศรัทธานับถือพระพุทธศาสนาโดยสร้างบรรจุไว้ในถ้ำบนภูเขาต่างๆ ด้านทิศตะวันตกของลำน้ำจระเข้สามพัน พระฤาษีกลุ่มนี้อาจหมายถึงพระภิกษุคณะอรัญวาสีที่บำเพ็ญเพียรทางจิต  ปฏิบัติสมณธรรมอยู่ในเขตป่าเขาสถานที่เงียบสงบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระธุดงค์ ส่วนอีกคณะหนึ่งเรียกว่า คณะคามวาสี

เบื้องหลังการพบพระพิมพ์นี้ มีบันทึกกล่าวไว้ว่าชาวไร่ผู้หนึ่งขึ้นไปหาขี้ค้างคาว บนเขา “ถ้ำเสือ” ประมาณ พ.ศ.2470เมื่อเข้าไปในถ้ำแล้วได้พบพระเครื่องที่มีพิมพ์ค่อนข้างแปลก ไม่เหมือนพระเครื่องทั่วๆ ไป จำนวนมากมาย จึงขนลงมาแล้วนำออกจำหน่ายจ่ายแจกไปจนหมด ต่อมามีผู้พบพระพิมพ์นี้อีกหลายกรุ ลักษณะพิมพ์ทรงเหมือนกัน ซึ่งส่วนมากจะพบในถ้ำบนภูเขา และตามวัดก็มี

พระถ้ำเสือ ที่พบจากกรุถ้ำเสือเป็นครั้งแรกนั้น เนื้อพระละเอียดแน่นและนุ่ม มีทั้งหมด ๓ สี คือ เหลือง แดง และเขียว แยกออกเป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์จิ๋ว  นับเป็นการแตกกรุครั้งแรกของพระถ้ำเสือเมื่อ พ.ศ. 2470 หลังจากนั้นได้มีผู้พบพระที่มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเช่นเดียวกับพระถ้ำเสือ ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในถ้ำ เนินเขา วัด และเจดีย์ อาทิ พระถ้ำเสือ ที่พบในถ้ำเขานกจอด เขาวงพาทย์ เจดีย์เขาพระ วัดหลวงเขาดีสลัก และตามถ้ำต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านพุทธคุณ พระถ้ำเสือ นับเป็นพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี ที่เชื่อถือได้ในด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี

พระถ้ำเสือ

การแตกกรุ นับตั้งแต่ครั้งแรกของ พระถ้ำเสือ เมื่อ พ.ศ.2470 หลังจากนั้นได้มีผู้พบพระที่มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเช่นเดียวกับพระถ้ำเสือ ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในถ้ำ เนินเขา วัด และเจดีย์ อาทิ พระถ้ำเสือ ที่พบในถ้ำเขานกจอด เขาวงพาทย์ เจดีย์เขาพระ วัดหลวงเขาดีสลัก และตามถ้ำต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี   อย่างไรก็ตามภายหลังมีการขุดพบ พระถ้ำเสือ อีก 2 ครั้งใหญ่ คือ พ.ศ.2535 และ พ.ศ.2542 จึงเกิด เรื่องราวข้อพิพาท “พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก” แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ "เซียนบางกลุ่มยอมรับว่าแท้ แต่อีกหนึ่งกลุ่มบอกว่าเก๊" เลยกลายเป็นพระมีปัญหา ถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจนถึงทุกวันนี้

พระถ้ำเสือ

 

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  ในครั้งนี้
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#