พระเครื่อง

หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง เกจิอาจารย์ ผู้เข้มขลังในด้าน คงกระพัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่ หนองพะอง ย่าน หนองแขม เกจิอาจารย์ ผู้มากวิชาอาคม ศิษย์ พ่อท่านคล้าย วาจาศิษย์ หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สหธรรมมิก หลวงปู่โต๊ะ

จากกรณี ตำรวจสน.ตลิ่งชัน รับแจ้งเหตุโจรขโมยพระเครื่องภายใน งานประกวดพระเครื่องและวัตถุมงคล ตลาด SC พลาซ่า สถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) เขตตลิ่งชัน กทม. พบ นายอลงกต (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี ชาว จ.ชลบุรี นอนผู้บริเวณพื้นบันไดชั้นที่ 1 ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด บาดเจ็บศีรษะและคางแตก เลือดนองเต็มพื้น เจ้าหน้าที่จึงช่วยกันปฐมพยาบาลก่อนควบคุมตัวไปสอบสวนที่โรงพัก
โดยนายอลงกต ได้กระโดดลงจากช่องบันได บนชั้นที่ 3 ร่างกระแทกพื้น จากการตรวจค้นตามร่างกายพบ  "เหรียญ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง" รุ่นแรก เลี่ยมทองจำนวน 1 องค์ และ เหรียญ "หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว" ใส่ตลับเงิน อีก 1 องค์ 
ทำให้มีความสนใจกันว่า หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่นองพะอง นั้น คือใคร เพราะชื่ออาจจะไม่คุ้นหู กับ คนที่ห่างจากแวดวงนักสะสมพระเครื่อง แต่หากเป้นคนที่สนอกสนใจพระเครื่องแล้ว ย่อมต้องเคยได้ยิน รวมทั้งอาจจะมีสะสมวัตถุมงคลของท่านไว้ด้วย เพราะท่านมีกิตติศัพท์ทางด้าน หนังเหนียว คงกระพัน ซึ่ง หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ยังรับรองความสามารถในด้านพุทธาคมของท่าน 

สำหรับประวัติ ของ หลวงพ่อทองอยู่ นั้น มีระบุไว้ว่า  ท่านชื่อ ทองอยู่ นามสกุล ชมปรารภ ต่อมาเปลี่ยนเป็น สิงหเสนี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2430 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ ปีกุน เป็นบุตรคนที่ 3 ของ นายคำ และนางปั่น ชมปรารภ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน คือ 
1. นายหุ่น ชมปรารภ 
2. นางจิบ ชมปรารภ 
3. พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) ชมปรารภ (สิงหเสนี) 
4. นางหน่าย ชมปรารภ 
5. นางรอด ชมปรารภ 
 


เรื่องราวในชีวิตท่าน ยังได้กล่าวต่อไปว่า นับแต่วัยเด็กนั้น หลวงพ่อทองอยู่คลุกคลีอยู่กับวัดมาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วยงานการสร้างพรอุโบสถวัดหนองพะอง ช่วยเหลืองานในวัดมาโดยตลอด มีนิสัยรักเพื่อนพ้อง โอบอ้อมอารี ในทางพุทธาคม ท่านได้เรียนวิชาอาคมจาก พระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ นอกจากนั้น ท่านสนใจวิชาการเล่นแร่แปรธาตุศึกษาจนสามารถนำแร่ปรอทมาหุงให้เป็นทองคำได้ 

ต่อมา เมื่ออายุครบกำหนดเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารเรือ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5   การรับราชการของท่านอยุ่มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6  จึงลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพการทำนาอยู่ข้างวัดบึงพระยาสุเรนทร์ เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพฯ หลวงพ่อทองอยู่ ได้ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพกสิกรรมและมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ด้วยการเลี้ยงดูท่านเป็นการสนองน้ำใจของพ่อแม่

หลวงพ่อทองอยู่  วัดใหม่หนองพะอง

ลวงพ่อทองอยู่ ได้ใช้ชีวิตการครองเรือนมีภรรยาคือ นางหนู ชมปรารถ มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายย้อย ชมปรารถ และนางแย้ม ชมปรารถ จนกระทั่งเมื่อนางหนูเสียชีวิตจึงได้นางทองสุขเป็นภรรยามีบุตร 1 คน คือ นายหยด ชมปรารถ จนถึงอายุ 31 ปี หลวงพ่อท่านรู้รสชาติของการครองชีวิตคู่เป็นอย่างดี ท่านจึงกราบลาพ่อแม่เพื่อที่จะเข้ารับการ บรรพชาอุปสมบท โดยมีขุนหนองแขมเขมกิจ เป็นผู้ดำเนินการจัดการอุปสมบทให้ ณ วัดใหม่หนองพะอง 


เมื่อ หลวงพ่อทองอยู่ บวชเข้ามาแล้วได้ศึกษาหลักธรรมวินัยจนมีความรู้พอสมควร เมื่อครบพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ และทราบซึ้งในรสพระธรรม พอออกพรรษาแล้วท่านได้ขอลาพระอาจารย์แห ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมกขธรรม ใน สมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า 30 ปี ไปในที่ทุรกันดารต่าง ๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ 

การออกธุดงค์ของหลวงปู่ทุกครั้ง หลวงพ่อแหจะคอยควบคุมดูแลอยู่ที่วัดว่าหลวงพ่อทองอยู่ ไปอยู่ที่ไหน เมื่อมีญาติพี่น้องของพระที่ออกไปธุดงค์มาถาม ท่านก็จะตอบได้ว่าสบายดี ไม่มีอุปสรรคอันตรายอะไร   ในการออกธุดงค์ หลวงพ่อทองอยู่ ได้พบปะสนทนากับพระธุดงค์หลายรูปด้วยกัน ในจำนวนนั้นก็มีครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อทองอยู่ ได้สนทนาธรรมกันเป็นที่ถูกอัธยาศัยของกันและกัน เมื่อเวลาที่หลวงพ่อออกธุดงค์ไปทางเหนือท่านจะแวะไปพักสนทนาธรรมศึกษาวิชา

หลวงพ่อทองอยู่  วัดใหม่หนองพะอง

ความรู้ของกันและกันเสมอมาเป็นที่รู้ใจกันในวิชาความรู้ในวิชาสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวนหลวงพ่อทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่ หลวงพ่อทองอยู่ ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่จึงเดินทางกลับมา 

นอกจากนี้ หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมาก ๆ ในสมัยก่อน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธานี้ ท่าน เป็นศิษย์รุ่นน้องของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) ซึ่งในสมัยนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่านที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช, หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ชลบุรี และ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ 

หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง

ที่สำคัญ ท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ โดย เรียนวิชายันต์ตรีนิสิงเห มาจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร มาด้วยกัน งานไหนมีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือ วัตถุมงคล ที่นั่นจะมี หลวงปู่โต๊ะกับ หลวงพ่อทองอยู่ ด้วยเสมอ 

หลวงพ่อทองอยู่ เป็นเจ้าอาวาส วัดใหม่หนองพะอง ตั้งแต่ปี 2473 มรณภาพ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2526 สิริอายุ อายุ 96 ปี 9  เดือน 9 วัน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ