พระเครื่อง

ท่านเจ้าคุณนรฯ แห่ง วัดเทพศิรินทราวาส ผู้ปฏิบัติดีกลางเมืองกรุง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศึกษาเรื่องราว ที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง ของ ท่านเจ้าคุณนรฯ พระสงฆ์ที่ได้รับเรียกขาน พระอรหันต์กลางกรุง กับ ตำแหน่งหน้ที่ที่น้อยคนจะเคยกล่าวถึง


พระอรหันต์ กลางกรุง คือ นามที่ผู้มีความศรัทธา เรียกขาน พระภิกษุ ธมฺมวิตกฺโก มหาเสวกตรี พระยานรรัตนราชมานิต  ซึ่งมักจะเรียกสั้น ๆ ว่า ท่านเจ้าคุณนรฯ หรือนามเดิม ตรึก จินตยานนท์ เป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ จำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตราบจนมรณภาพ

ท่านเจ้าคุณนรฯ สมัยรับราชการ รับใช้ รัชกาลที่6 ( คนที่7 จากซ้าย)

ตลอดการจำพรรษาที่วัดเทพศิรินฯ ท่านเจ้าคุณนรฯไม่เคยรับกิจนิมนต์ ออกนอกวัดตลอดชีวิตของท่าน อีกทั้งเรื่องของการต่อสู้กับ โรคมะเร็งที่ลำคอ เพื่อให้เป็นวิทยาทานและความรู้ในธรรมะ แก่คนทั่วไป ท่านไม่เคยเข้ารับรักษาอาการที่โรวพยาบาล มีเพื่อการปฐมพยาบาล จนกระทั่งวันสุดท้าย รวมทั้ง แม้จะมีอาการอาพาธ ท่านก็ไม่เคยขาดการทำวัตร ตามพระวินัยแม้แต่ครั้งเดียว 

สมัย ท่านเจ้าคุณนรฯ บวชพรรษา แรก ๆ
ท่านเจ้าคุณนรฯ ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ รับราชการหลายตำแหน่ง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นอย่างยิ่ง  จนได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งแปลว่า  คนดีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ ในขณะที่มีอายุเพียง 25 ปี
จนกระทั่งถึงวันที่ 4 เมษายน 2467 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี  และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งองคมนตรี จนถึงวันเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 6

และด้วยความจงรักภักดีอย่างที่สุด  ท่านพระยานรรัตนราชมานิต ได้ลาอุปสมบท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในวันที่ 24มีนาคม 2468  แต่แม้ว่าท่านจะบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 ด้วย  ทั้งที่ยังครองสมณเพศอยู่


ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตเป็นกรณีพิเศษ แต่สุดท้ายท่านก็ไม่ได้สึกออกไปรับตำแหน่ง จึงไม่มีชื่อของท่านอยู่ในทะเบียนรายชื่อ คณะองคมนตรีในรัชกาลที่7   ท่านได้รับการยอมรับยกย่องว่า เป็นผู้ที่มีพลังจิตตานุภาพแข็งแกร่งมาก เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ได้พบเห็น
และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ด้วย ว่าเป็นผู้สามารถแยกกายกับจิต ได้อย่างอัศจรรย์ยิ่งนัก
ท่านเจ้าคุณนรฯ ละสังขารในวันที่  8 มกราคม 2514 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 44


    ในเรื่องของ พระเครื่องและวัตถุมงคลของ ท่านเจ้าคุณนรฯ ล้วนมากด้วยพุทธคุณที่สูง และประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำให้ได้รับความนิยมทุกรุ่น หนึ่งในเหรียญที่ผู้สะสมพระเครื่องนิยม คือ  "เหรียญสังฆาฏิ" บางคนก็เรียกกันว่า "เหรียญนักกล้าม" ตามลักษณะของเหรียญที่มีความคมชัด โดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนเห็นกล้ามอย่างเด่นชัด ซึ่งช่างได้แกะตามภาพต้นแบบได้เหมือนมาก
   เหรียญสังฆาฏิ (นักกล้าม) เจ้าคุณนรฯ ปี 13 ต.หางสั้น เนื้อทองแดงรมดำ
 เหรียญนักกล้ามท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2513 ประกอบด้วยเนื้อทองคำจำนวน 140 เหรียญ ค่านิยมหลักแสนปลายๆ เนื้อเงิน 350 เหรียญ ค่านิยมอยู่ในหลักหมื่นปลายๆ เนื้อนวโลหะ 145 เหรียญ ค่านิยมอยู่ในหลักแสนกลางๆ ส่วนเนื้อทองแดงด้วยจำนวนการสร้างที่มากถึง 1แสน เหรียญ ทำให้ค่านิยมอยู่ในหลักพันกลางๆ เท่านั้น เนื่องจากต้องสร้างเหรียญสังฆาฏิพิมพ์นี้เป็นจำนวนมาก นายช่างเกษม มงคลเจริญ จึงต้องสร้างแม่พิมพ์ถึง 5 ชุด ด้วยวิธีแกะแม่พิมพ์แบบเหมือนจริง แล้วนำไปถอดเป็นแม่พิมพ์อีกครั้ง
 
ดังนั้น จะเห็นได้ว่ารูปท่านเจ้าคุณนรฯ ทั้ง 5 พิมพ์ จึงเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ตัวอักษรเท่านั้น เนื่องจากนายช่างเกษมมีงานจนล้นมือ ทำไม่ทัน จึงให้ นายช่างยิ้ม ยอดเมือง ช่วยแกะและตกแต่งตัวหนังสือให้ชัดเจนอีกครั้ง จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องมีความแตกต่าง ยิ่งเป็นการแกะบนเหล็กที่แข็ง การพลาดจะเกิดริ้วรอยและตำหนิจึงเกิดขึ้น
 
ด้วยเหตุนี้เองทำให้เซียนพระมาแยกพิมพ์ในภายหลัง ประกอบด้วย บล็อกทองคำ, บล็อก ต.หางยาว หลังลายผ้า, บล็อก ธ. มีเส้นผ่าน, บล็อก ต.หางสั้น และบล็อกหนังสือมีรอยตะไบ
 
จุดเด่นของเหรียญรุ่นนี้ คือชนวนมวลสารที่ใช้จัดสร้าง โดยลูกศิษย์ได้นำตะกรุดของพระเกจิดังมาหล่อหลอมเป็นชนวน จึงถือว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณสูง เล่นหากันได้ทุกระดับ ซึ่งนับว่าค่านิยมจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ

 

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ