พระเครื่อง

4 ตะกรุด สาย เมตตามหานิยม ที่ สายมู ควรรู้จัก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รวบรวมข้อมูล เครื่องราง ตะกรุด 4 พระอาจารย์ เด่นด้าน เมตตามหานิยม สาย มูเตลู สายค้าขาย เจรจา ไม่ควรพลาดการศึกษาข้อมูล

ในบรรดา เครื่องราง ที่ผู้มีความศรัทธา สนใจบูชากันนั้น สายวิชาเครื่องราง ด้าน แคล้วคลาด ปลอดภัย กับ เครื่องราง ในสายวิชา เมตตามหานิยม ถือว่า เป็นสาย เครื่องราง ที่ผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่เกี่ยวกับ เมตตามหานิยม นั้น เป็นสิ่งที่ผู้คนที่มี ความเชื่อ ต้องการนำมาครอบครองบูชา เพื่อให้ได้มาซึ่ง เงินทอง ความรักใคร่ หรือสิ่งต่าง ๆ เท่าที่มนุษย์สามารถนึกคิดขึ้นมาได้ 
ทั้งนี้ เครื่องรางเมตตามหานิยม ตั้งแต่อดีตมานั้น มีทั้ง รูปแบบ พระเครื่อง วัตถุมงคลต่าง ๆ รวมถึง เครื่องราง ที่ต่าง ได้รับความนิยม และ กล่าวถึงประสบการณ์ในการบูชา  ทั้งนี้ ทีมข่าว รอยความเชื่อ ขอรวบรวม 4 ตะกรุด ด้านเสน่ห์เมตตา ที่สามารถจับต้องได้ รวมทั้งสามารถนำมาบูชาได้อย่างสบายใจ 

1.ตะกรุดดอกไม้ทอง ตำรับ หลวงพ่อพูนวัดบ้านแพน

ตะกรุดดอกไม้ทอง
เครื่องราง เมตตามหานิยม จากสายวิชา ของ หลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง ต.จำปาหล่อ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง สู่ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน ต.เสนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็น เครื่องราง ที่มี ครูบาอาจารย์ และ ศิษย์ ในสายวิชา รับสืบทอดตะกรุดนี้ไว้ เช่น หลวงพี่เลี้ยง ธีรวโร วัดจอมเกษ ก็เป็นหนึ่งในผู้สืบสานสายวิชา ตะกรุดดอกไม้ทอง สำหรับในกรุงเทพฯ นั้น

พระอาจารย์เบ๊นซ์ วัดราชาธิวาส

มี พระปฏิภาณ สุรปฏิภาโณ หรือ พระอาจารย์เบ๊นซ์ วัดราชาธิวาส ย่านมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดการทำ ตะกรุดดอกไม้ทอง มาจาก"หลวงพ่อพูน" ซึ่งรับวิชามาจากการจดจำ และเป็นผู้ช่วยจารตะกรุดตั้งแต่หลวงพ่อพูนยังดำรงขันธ์ ซึ่งได้มีการสร้าง ตะกรุดดอกไม้ทอง ออกมาให้ผู้ศรัทธา ได้นำไปติดตัว และ ตะกรุดดอกไม้ทอง วัดราชาธิวาสฯ นี้ ได้รับการกล่าวขวัญอยู่ไม่ใช่น้อย ถึงประสบการณ์ที่ได้รับ 
 

2.ตะกรุดแดง หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง พระนครศรีอยุธยา 

ตะกรุดแดง วัดเจดีย์แดง 1 ใน 4 ตะกรุดของ หลวงพ่อจำลอง
ในปัจจุบัน หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง ได้มรณภาพไปแล้ว แต่ความเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียง ลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งนอกและในตัวจังหวัดอยุธยา ยังทำให้เครื่องรางของท่านนั้น ยังได้รับการกล่าวขวัญมาจนถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง

 ซึ่งตะกรุดของหลวงพ่อจำลอง ทำตามตำรับโบราณซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำจากตะกั่วรีดเป็นแผ่น ลงยันต์เฉลียวเพชร ม้วนกลมแล้วถักด้วยด้ายสายสิญจน์ นำมาลงรักปิดทอง
ตะกรุดของท่านมี 4 อย่าง คือ ตะกรุดดำ แดง สาริกา และ ตะกรุดไตรมาส ซึ่งพุทธคุณในแต่ละดอกหรือวาระการทำก็จะมีความคล้ายหรือแตกต่างกันออกไปบ้าง
ตะกรุดแดง ให้พุทธคุณด้านเมตตามหานิยม เจรจา ค้าขาย  ตะกรุดดำ มีพุทธคุณด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพัน
ตะกรุดคู่สาริกา มีพุทธคุณด้านเมตตา มหาเสน่ห์ เจรจา ค้าขาย และ ตะกรุดไตรมาส ปลุกเสกตลอดเข้าพรรษา รวมสุดยอดพุทธคุณ
 

3.ตะกรุดเมียมาก หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา

ตะกรุดเมียมาก รุ่น 12 ปี 2565
หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าตำรับต่อเส้นวาสนา และ มี ตะกรุดเมียมาก เป็นเครื่องรางสำคัญ ที่ผู้คนต้องการได้มาครอบครอง เพราะมี ความเชื่อ ในพุทธคุณ สำหรับการสร้าง ตะกรุดเมียมาก นั้น

หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัด

หลวงปู่ลอง ได้ลงเมตตามหาเสน่ห์ นะจังงัง ทำผงพุทธคุณ นะอกแตก ยอมยกใจให้เราหมด หลวงปู่ลอง ปิดกุฏิปลุกเสกตะกรุดเมตตาดอกน้อยนี้ ตามครูบาอาจารย์หลายวันหลายคืนจนเอาว่าใช้ได้แล้วท่านจึงยอมเปิดกุฏิ ให้เอาไปใช้ได้ แต่มีข้อห้ามว่า  ตะกรุดนี้ สมณะ ชี พราหมณ์ ห้ามใช้ ตะกรุดเมียมาก เด็ดขาด

4.ตะกรุดพญาจิ้งจก พระอาจารย์เลี้ยง วัดจอมเกษ 

ตะกรุดพญาจิ้งจก พระอาจารย์เลี้ยง วัดจอมเกษ

พญาจิ้งจก หนึ่งในวิชาเมตตาสำคัญ ของ พระอาจารย์จิรพงษ์ ธีรวโร หรือ พระอาจารย์เลี้ยง วัดจอมเกษ ต.ขยาย อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

พระอาจารย์เลี้ยง ธีรวโร วัดจอมเกษ

ซึ่งท่านได้เคยเมตตาให้ความรู้ว่า จิ้งจก หรือ ยันต์จิ้งจก นี้ คือ ยันต์ครูสำคัญของสำนักวัดจอมเกษ โดยท่านได้ร่ำเรียนวิชานี้ ในสายวิชาของ หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง โดยผู้ที่ถ่ายทอดวิชาให้ พระอาจารย์เลี้ยง คือ หลวงพ่อพิมพ์ วัดพฤกษะตะวัน จ.พิจิตร 
ยันต์จิ้งจก นี้ มีพุทธคุณเด่น ในด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม เหมาะกับงานด้าน ค้าขาย ทำธุรกิจ การเจรจาต่าง ๆ 
 

อัพเดทประเด็นที่เป็นกระแส กับ คมชัดลึก เพิ่มเติม ที่นี่
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  ในครั้งนี้
รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform https://awards.komchadluek.net/#

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ