พระเครื่อง

ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จัดพิมพ์หนังสือพระประวัติตรัสเล่า เป็นภาพลายเส้นสี่สี เพื่อเป็นที่ระลึก 101 ปี การสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า


วาระมงคล ทางวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้จัดการพิมพ์หนังสือ ในวาระ 2 สิงหาคม 2565 ครบ 101 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งหนังสือเรื่องพระประวัติตรัสเล่า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น เพื่อเป็นธรรมทาน 

ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์
ทั้งนี้ ทางวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ดัดแปลงหนังสือจากพิพนธ์แบบสารคดี มาเป็นภาพเขียนลายเส้น เล่าเรื่องง่ายๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้อ่าน ทุกเพศ ทุกวัย


ทั้งนี้ พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระ ดร. อนิลมาน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) และอธิการบดี มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก ได้มีความคิดริเริ่มให้เขียนภาพลายเส้นสี่สี 


 

ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์

สำหรับพระประวัติส่วนพระองค์ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้านั้น มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 47 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่12 เมษายน พ.ศ. 2403 เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนผนวชเป็นสามเณร นอกจากนี้ยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษและโหราศาสตร์อีกด้วย

ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์

ถึงปี พ.ศ.2416 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 8 เดือน จึงทรงลาผนวช เมื่อพระชนมายุครบ20พรรษาแล้ว ก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. 2422 ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม จนทรงมีพระปรีชาแตกฉานในภาษาบาลี ทรงสอบเป็นเปรียญ 5 ประโยค เสมอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนกนาถ พระองค์เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง ได้ทรงรับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส

ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์

พ.ศ. 2424 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงรับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2444 ทรงเลื่อนพระยศเป็นกรมหลวง พ.ศ.2453 ได้ทรงรับมหาสมณุตตมาภิเษกและเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยา เป็น สกลมหาสังฆปรินายก ประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึง พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ทรงครองวัดบวรนิเวศราชวรวิหารได้ 29 ปี สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่2 สิงหาคม 2464 พระชนมายุ 61 พรรษา

ยูเนสโก ประกาศยกย่อง เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยทรงเป็นผู้มีคุณูปการยิ่งต่อการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ทรงวางรากฐานการศึกษาแผนใหม่ ทรงให้กำเนิดหลักสูตรนักธรรม ทรงนิพนธ์ตำราวิชาการพุทธศาสนาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ 


ขณะที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้านั้น ได้เป็นพระอุปัธยาจารย์ พระมหากษัตริย์ 2 พระองค์  คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7



ต้องมี "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" หนังสือระลึก วัดบวรฯ จัดพิมพ์ 101 ปี สิ้นพระชนม์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ