พระเครื่อง

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก ชุดวัตถุมงคลมหามงคล กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้าง ในปี 2517 เหรียญสองกษัตริย์ พระกริ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ ที่วัดสุทัศน์ฯ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นสองบูรพกษัตริย์ ที่ผู้คนทั่วไปให้ความเคารพสักการะ และในหมู่ทหารหาญ ให้ความศรัทธาอย่างยิ่ง และย้อนกลับไปในปี 2517 ได้มีการจัดพิธีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ นั่นคือ เหรียญในหลวงทรงผนวชและเหรียญชินราชและเหรียญสมเด็จพระนเรศวนหลังสมเด็จพระเอกาทศรถและพระกริ่งชินราช ภปร.

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ


สำหรับประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ พล.ท.สำราญแพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 จัดสร้างวัตถุมงคล พระพุทธชินราชภปร ขึ้นเป็นครั้งแรกและเสด็จพระราชดำเนิน พร้อม สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อพระพุทธชินราชภปร ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวรารามฯ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2516 เวลา 16.49 น. โดยมี สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นประธานสงฆ์ และประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งยุคนั้นจำนวน 45 รูป นั่งปรก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเททองหล่อ ภาพจาก http://www.longlivethekingshop.com/
 

วัตถุมงคล พระพุทธชินราชภปร รุ่นแรก ประกอบด้วย 1.พระพุทธชินราชภปร.ขนาดบูชา 5 นิ้ว และ 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ฐานหลัง ตรากองทัพภาคที่ 3 จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณะเขต์ เป็นประติมากรช่างหล่อ 2.พระกริ่งพระพุทธชินราช ภปร เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ (เบอร์แกะสลัก) 3.เหรียญพระพุทธชินราชหลังอักษรพระปรมาภิไธย ภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงินเนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง 4.เหรียญในหลวงทรงพระผนวชหลังอักษรพระปรมาภิไธยภปร (เหรียญอาร์ม) เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง (เหรียญเนื้อทองคำเป็นเหรียญอาร์มพิมพ์เล็ก เหรียญเนื้อเงิน เป็นพิมพ์กลาง   ส่วนเหรียญทองแดง และอัลปาก้า เป็นเหรียญพิมพ์ใหญ่) 5.เหรียญพระพุทธชินราช ด้านหลังพระบรมรูป ในหลวงทรงพระผนวชเนื้อนวโลหะ(เบอร์แกะพิมพ์เล็ก) เป็น (เหรียญแจกกรรมการจัดสร้าง)

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ
มวลสารชนวนที่มาหล่อพระมีจำนวนมากมาย ที่เป็นของพระเกจิดังๆ แถมที่ฐานพระกริ่งชินราช ยังมีอักษร ภปร. ที่ถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้บูชา วัตถุมงคลพระพุทธชินราช รุ่นนี้กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้างปีพ.ศ. 2517 เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของวัดศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง และมีพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งถึง 2 ครั้ง โดย ครั้งแรกที่ วัดสุทัศน์ ครั้งที่สอง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ

ในพิธีครั้งนั้นมีสร้างพระอีกหลายแบบเช่นเหรียญในหลวงทรงผนวช เหรียญพระพุทธชินราช เหรียญพระนเรศวรหลังพระเอกาทศรถ และ พระบูชา เป็นต้นโดยมี แม่ทัพภาคที่3 สมัยนั้น พลโท สำราญ แพทยกุล เป็นประธานจัดสร้าง ได้ทำพิธีปลุกเสกในวิหารของหลวงพ่อชินราชเลย มีโดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชและพระเกจิดังๆในสมัยนั้นมาร่วมพิธีมากมาย
 

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ

 

วัตถุมงคล ทั้งหมดได้ทำการตกแต่งเพื่อความสวยงาม "ร่วม 1 ปี" จึงแล้วเสร็จ จากนั้น พลโทสำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ 3 จึงได้อัญเชิญไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก และมี "พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกจำนวน 45 รูป อาทิ

รู้จัก "วัตถุมงคลกองทัพภาคที่3" เหรียญ พระกริ่ง พระนเรศวร-พระเอกาทศรถ

1.พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
2.พระโพธิวรคุณ(ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต
3.พระราชมุนี(มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม
4.พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
5.พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงพ่อเทียม) วักษัตราธิราช
6.พระครูรักขิตวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์
7.พระครูญาณวิจักษ์(พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส
8.พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ
9.พระครูกิตตินนทคุณ(หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง
10.พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี
11.พระครูสุตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง เป็นต้น
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ