พระเครื่อง

เปิดประวัติ "หลวงปู่กาหลง" เกจิอาจารย์ ผู้มีสิ่งของกายสิทธิ์คู่บุญบารมี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก หลวงปู่กาหลง แห่งวัดเขาแหลม สระแก้ว กับตำนานการกำเนิด และ เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

เขี้ยวแก้ว หรือ ฟันกลางเพดานปาก เป็นหนึ่งในของกายสิทธิ์ และ ทนสิทธิ์ ที่ได้จากร่างกายมนุษย์ โดย จะมีของกายสิทธิ์ ได้แก่ เคราคนเป็นทองแดง ตับคนเป็นเหล็ก และ ฟันที่ขึ้นกลางเพดานปาก ว่ากันว่า ผู้มีฟันขึ้นกลางเพดานปาก จะมีพลังหรือฤทธิ์อยู่ในตัว 

ในเรื่องเล่า และ ตำนาน ต่าง ๆ น้อยทั้งน้อย จะมีผู้ที่มีฟันกลางเพดานปาก แต่ก็ยังมีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งมีเขี้ยวแก้ว ซึ่งท่านมีนามว่า หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ
หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว

สำหรับประวัติของหลวงปู่กาหลง  นั้น เดิมท่านเป็นชาวคลอง 7 ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2461 มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ท่านเป็นบุตรคนโต ในชีวิตวัยเยาว์ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีใจฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ท่านชอบไหว้พระ หรือเมื่อพ่อแม่ของท่านชวนท่านไปวัด ท่านก็จะไปวัดกับพ่อแม่เป็นประจำ ท่านชอบนั่งสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2481 ตอนนั้น ท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาบุญ คลอง 7 จังหวัดปทุมธานี

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
หลังจากอุปสมบท ท่านก็ได้บวชเรียนและจำพรรษาที่ วัดนาบุญ และร่ำเรียนวิทยาคมกับ หลวงพ่อเนียม และ หลวงพ่อซึ้ง ท่านทั้ง 2 นี้เป็นกพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดนาบุญ จนท่านมีความชำนาญในการเข้ากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดน้ำซับ หลวงปู่ท่านได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านได้สร้างโบสถ์หลายๆหลังขึ้นมาอีกมากมาย จากนั้น ท่านก็ได้ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาแหลม  อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว และเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแหลมในปี พ.ศ. 2513

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
เรื่องราวอันพิสดารของหลวงปู่กาหลงนั้น เริ่มต้นตั้งแต่ท่านถือกำเนิด โดยมีเรื่องราวว่า มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง กำลังออกหาปลา อาชีพของเขาในตอนนั้น ในตอนนั้นเขากำลังอยู่ใกล้บริเวณบ้านของหลวงปู่ ตอนนั้นท่านยังไม่เกิด ตอนนั้นลุงบางได้เห็นลูกไฟลูกหนึ่งลอยมาหน้าบ้านของหลวงปู่ ทันใดนั้นดวงไฟนั้นก็ได้กลายเป็นฤๅษี กำลังจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านหลวงปู่ เมื่อแกเห็นเป็นเช่นนั้น

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
 แกจึงได้ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเด็กในบ้านนี้เกิดเป็นผู้ชาย แกจะเลิกจับปลาเด็ดขาด ต่อมา ผู้หญิงผู้ชายในบ้านนี้ก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า กาหลง หลังจากนั้นลุงบางก็ได้เลิกหาปลาตามที่เขาได้สัญญาไว้ ในวันที่ท่านบวช ลุงบางก็ได้เล่านิมิตที่ลุงบางได้เก็บมานานถึง 20 ปี ให้หลวงปู่ฟัง และหลังจากหลวงปู่ท่านอุปสมบทแล้ว ลุงบางก็ทำหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐาก คอยดูแลหลวงปู่อย่างใกล้ชิด 

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
และในเรื่องของพลังอำนาจจิต ที่หลายคนประจักษ์นั้น มีเรื่องเล่าเช่นกันว่า ในครั้งหนึ่ง ที่หลวงปู่กาหลง ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษฏ ในพิธีนั้น มีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ร่วมการปลุกเสกดังกล่าว หลังพีการเสร็จสิ้น หลวงปู่โต๊ะ ท่านได้กล่าวกับ หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ โดยชี้มาทางหลวงปู่กาหลง พร้อมกล่าวว่า "พระรูปนี้ชื่ออะไรอยู่วัดไหน ทำไมพลังอำนาจจิตถึงได้รุนแรงพิศดารแบบนี้ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน"   ซึ่งหลวงปู่กาหลง ได้กราบเรียนหลวงปู่โต๊ะว่า สาเหตุที่มีพลังจิตดังกล่าวนั้น เป็นเพราะหลวงปู่ท่านมี ฟันที่ขึ้นกลางเพดานปาก เป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ติดตัวท่านมาแต่เกิด หลวงปู่บอกว่าของดีนี้เกิดขึ้นเองและจะมีก็แต่บุคคลที่พิเศษจริง เช่น ของพระพุทธเจ้าเป็นต้นที่มี

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว

ถ้าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว แต่ของหลวงปู่ท่านเรียกว่า เขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นของดีเฉพาะตัวเฉพาะบุคคล เวลาใครไปกราบท่านแล้วให้ท่านปลุกเสกของท่านก็มักจะเอามือล้วงไปในปากท่านแตะที่เขี้ยวแก้วของท่านแล้วนำมาคลึง ที่พระหรือ ของที่มาให้ท่านปลุกเสกเป็นการเพิ่มพลังพุทธคุณ ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า "ของๆฉันตั้งใจทำมากับมือต่อไปจะมีค่ายิ่งกว่าทองคำจะหายากยิ่งกว่าเพชร" ฉันทำเครื่องรางของขลังทั้งสักทั้งเสกเพื่อคุ้มครองชีวิตคนมาตั้งแต่ปี 2485 แต่ไม่เคยประกาศให้ใครรู้มีแต่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก เมื่อก่อนใครจะมาเอาของๆฉันไปบูชาต้องแบกปืนมาลองด้วย ถ้าฉันไม่แน่จริงฉันคงสร้างโบสถ์ได้ไม่ถึง8หลังหรอก คือว่าเมื่อก่อนท่านย้ายวัดไปหลายวัดท่านสร้างโบสถ์เสร็จท่านก็ย้ายไปจำวัดอื่น แล้วก็สร้างโบสถ์อีกเป็นแบบอยู่หลายวัด 8หลังแล้วที่ท่านสร้างมา

หลวงปู่กาหลง ภาพจากเพจ พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
 หลวงปู่กาหลง ท่านได้อาพาธตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา และได้เข้ารักษาอาการอาพาธ ซึ่งท่านได้ตรวจพบเจอ มะเร็งที่ลำคอ ต่อมาอาการของหลวงปู่ท่านก็ได้ทรุดหนักลงจนกระทั่ง ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ โรงพยาบาลเปาโล รวมสิริอายุได้ 91 ปี บวชเรียนมา 71 พรรษา หลังจากนั้นได้นำศพของท่านมาตั้งสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 คืน และสวดศพ 100 วัน จากนั้นได้นำศพของท่านนำบรรจุใส่โลงแก้ว ให้สาธุชนได้กราบไหว้ต่อไป
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ