พระเครื่อง

รู้จัก "หลวงปู่โง่น "แห่ง วัดพระพุทธบาทเขารวก อาจารย์ของ ครูบาบุญชุ่ม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก "หลวงปู่โง่น" ครูบาอาจารย์ของ ครูบาบุญชุ่ม จากอดีตนักเรียนนอก พูดได้ 7ภาษา สู่พระเถระผู้มีญาณหยั่งรู้ เปิดเผยเรื่องราว พระสุพรรณกัลยา พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร

ครูบาบุญชุ่ม นับเป็นพระเถราจารย์ที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นตนบุญ ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ และ ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยวัตรปฎิบัติ และการออกทำนุบำรุงซ่อมแซม ก่อสร้าง วัดต่าง ๆ 
ในอดีต ครูบาบุญชุ่ม ได้ออกธุดงค์ เพื่อศึกษาปฏิบัติในด้านวิปัสสนากรรมฐาน กับครูบาอาจารย์หลายท่าน และหนึ่งในนั้น คือ หลวงปู่โง่น โสรโย แห่ง วัดพระพุทธบาทเขารวก ซึ่งเป็นพระอาจารย์องค์สุดท้าย ของครูบาบุญชุ่ม 

รู้จัก "หลวงปู่โง่น "แห่ง วัดพระพุทธบาทเขารวก อาจารย์ของ ครูบาบุญชุ่ม

สำหรับประวัติของ  หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บนแพกลางลำน้ำปิง บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10  ปี

รู้จัก "หลวงปู่โง่น "แห่ง วัดพระพุทธบาทเขารวก อาจารย์ของ ครูบาบุญชุ่ม

ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้ หลวงปู่โง่น ในสมัยนั้น ได้รับการศึกษาอย่างดี และได้ไปศึกษาต่อยังที่ต่างประเทศ จนจบปริญญาเอก  ณ  มหาวิทยาลัยในเยอรมนี หลวงปู่โง่น ท่านมีความรู้ความสามารถ  สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา และก่อนจะอุปสมบท ท่านยังได้นับถือศาสนาคริสต์ 
 


แต่ต่อมา หลวงปู่โง่น อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมีท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์   มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรก พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ผู้อุปการะ คือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมฺมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราช มหาวิหาร นครหลวงพระบาง  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 

ต่อมา เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมฺมญาโณ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์เกิดเหตุจลาจล ใน พ.ศ. 2518  พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ ใน  พ.ศ. 2528  ส่วนหลวงปูโง่นในขณะนั้นเป็นพระนวกะ  ได้เรียนนักธรรมและบาลีแบบลาว  เจ้ายอดแก้ว บุญทัน  บุปผรัตน์  ทรงรักใคร่โปรดปรานมาก  เพราะดั้งเดิมเป็นสายญาติกันและใช้งานได้คล่อง  พูดไทยได้เก่ง  พูดลาวได้ดี  ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสก็อาศัยได้  เพราะในระยะนั้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยังเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นของฝรั่งเศส  ท่านจึงต้องการให้พระภิกษุที่คุยกับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ หลวงปู่โง่น ยังเคยถูกทหารลาวจับ เพราถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นจารชนของไทย จนได้รับใบสุทธิจากพระสังฆราชลาว ให้เป็นภิกษุชาวลาว จึงได้รับการปล่อยตัว 

รู้จัก "หลวงปู่โง่น "แห่ง วัดพระพุทธบาทเขารวก อาจารย์ของ ครูบาบุญชุ่ม


ช่วงหนึ่งท่านได้กลับมาไทย ทางเมืองท่าแขก  แต่ถูกตำรวจจับในข้อหาเป็นขารชนของลาว แต่ได้รับความช่วยเหลือจากอดีตเจ้าเมืองท่าแขก และไปศึกษาพระกรรมฐานกับ พระอาจารย์วังที่ถ้ำไชยมงคลภูลังกา  และไปหาพระอาจารย์เสาร์  กนฺตสีโล  ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต  ตามคำสั่งของท่านเจ้าคุณสารภาณมุณี  เวลานั้นท่านได้ศึกษพระปริยัติธรรมทั้งในไทย และ ลาว จนสำเร็จ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อ ทั้งใน เมียนมา อินเดีย จนไปถึงทิเบต 


ในปี 2507 หลวงปู่โง่น ได้จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร และได้ดำเนินการพัฒนาวัด จากวัดที่กันดารเป็นวัดที่มีความเจริญ รวมทั้งพัฒนาสังคมในด้านสาธารณูปโภค สร้างถนน โรงเรียน 


เรื่องราวของหลวงปู่โง่น ที่สังคมรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุด คือ การเปิดเผยและเผยแพร่ เรื่องราวเกี่ยวกับ พระสุพรรณกัลยา พระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกทศรถ รวมทั้งยังได้บอกเล่าเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย

 
หลวงปู่โง่น  ละสังขารเมื่อวันที่  7  มีนาคม  พ.ศ.  2542     อายุ 94  ปี

 

ตลอดชีวิต หลวงปู่โง่น ในสมณเพศบำเพ็ญประโยชน์และคุณูปการแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ตลอดถึงสังคมทุกระดับอย่างดียิ่ง เป็นแบบอย่างอันงดงามของผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง หลวงปู่โง่น มีอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา สันโดษ รักสงบ เสียสละ ตามวิสัยของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แนะนำสั่งสอนเหล่าประชากรโดยพุทธวิธี มีกุศโลบายในการรักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งภายนอกและภายใน มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติตนที่สมสมัย มีจิตใจใฝ่รู้วิชาทุกแขนง เพื่อนำมาแก้ไขดัดแปลงก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

logoline