พระเครื่อง

ชวนอ่านประวัติ " ครูบาบุญชุ่ม " ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ

เปิดประวัติ "ครูบาบุญชุ่ม " ตนบุญแห่งล้านนา และ ประเทศเพื่อนบ้าน พลังศรัทธารอรับหน้าถ้ำ ก่อนครบสัจจะปิดวาจา 3 ปี

พื้นที่หน้าถ้ำแน่นขนัด ภายหลังจาก แฟนเพจ มูลนิธิดอยเวียงแก้ว พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ ได้เปิดกำหนดการออกจากถ้ำหลวงเมืองแก๊ด โดยมีกำหนดการ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรญฺญวาสีภิกขุ จะออกจากถ้ำ วันที่ 31 ก.ค. ที่จะถึงนี้ 


ทำให้พื้นที่ด้านหน้าถ้ำเมืองแก๊ด ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ได้มีการเผยแพร่ภาพในสังคมโซเชียลแล้วว่า ถึงปัจจุบัน มีผู้ที่ศรัทธาได้เข้าไปจับจองพื้นที่ เพื่อรอรับ ครูบาบุญชุ่ม หลังจากออกจากถ้ำ หลังทำการปิดวาจาปฏิบัติธรรมในถ้ำ 3 ปี 3 เดือน 

ชวนอ่านประวัติ \" ครูบาบุญชุ่ม \" ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ

ภาพครูบาบุญชุ่ม จากแฟนเพจ พระครูบาบุญชุ่ม


ชื่อเสียงเรียงนามของ ครูบาบุญชุ่ม เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และอีกหลายประเทศ และในช่วงเหตุการณ์ช่วยชีวิต 13 หมู่ป่า ที่ติดในถ้ำขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ในแง่มุมของความเชื่อ ครูบาบุญชุ่ม ได้มาทำพิธีกรรมตามความเชื่อ จนสถานการณ์คลี่คลายลงในมุมกำลังใจ
จากนั้น ท่านก็ได้เดินทางข้ามไปฝั่งเมียนมา และตั้งสัจจะปิดวาจาในถ้ำ จนใกล้ครบกำหนด

ประวัติของครูบาบุญชุ่มนั้น ตามข้อมูลระบุว่า ท่านเป็นชาวไทยใหญ่  เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช

ชวนอ่านประวัติ \" ครูบาบุญชุ่ม \" ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ
อุปนิสัยแต่วัยเด็กของท่านนั้น จะไม่ชอบในการกินอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ถึงขนาดที่ว่า ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก้จะทำเพียงเอาข้าวเหนียวจิ้มน้ำแกงเท่านั้น 

หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี และได้รับการขนานนามว่า หน่อตนบุญ ตั้งแต่บวชเรียนยังไม่ถึงพรรษา จากนั้น ครูบาบุญชุ่มทำการศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 และได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ ในปัจจุบันได้ผนวกรวมกับวัดสวนดอก พระอารามหลวงไปแล้ว  โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์
 

ครูบาบุญชุ่ม ได้เดินทางธุดงค์เรียนกรรมฐานกับครูบาอาจารย์หลายรูป ไม่ว่าจะทั้งในไทย เมียนมา อินเดีย เนปาล ภูฏาน และหนึ่งในนั้น ก็คือ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร พระเกจิผู้เห็นนิมิตแม่นยำและระลึกชาติได้ เป็นพระอาจารย์รูปสุดท้ายของครูบาบุญชุ่ม และเป็นผู้ที่ส่งศิษย์รูปนี้ไปบำเพ็ญเพียรที่ภูเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล 

ชวนอ่านประวัติ \" ครูบาบุญชุ่ม \" ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ
ในช่วงปี 2547 ครูบาบุญชุ่ม ถูกทางการเมียนมา ขับออกนอกประเทศ ท่านจึงเดินทางกลับเข้าประเทศไทย และทำการซ่อมแซมบูรณะ ก่อสร้าง วัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ ปัจจุบันจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา เป็นเวลาร่วม 20 ปี จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว เมียนมา และภูฏาน

ชวนอ่านประวัติ \" ครูบาบุญชุ่ม \" ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ
สำหรับการเข้าถ้ำนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกของครูบาบุญชุ่ม ท่านเคยตั้งสัจจะเข้าถ้ำมาแล้วก่อนหน้านี้ช่วงปี 2553 ครูบาบุญชุ่ม เข้าไปบำเพ็ญเพียรภายในถ้ำวัดถ้ำราชคฤห์ อ.งาว จ.ลำปาง เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน 3 ชั่วโมง 33 นาที ไม่มีการปลงผม ไม่ฉันอาหาร และไม่รับกิจนิมนต์ แต่ฉันเพียงผลไม้ และออกจากถ้ำในวันออกพรรษา 19 ตุลาคม 2556

ชวนอ่านประวัติ \" ครูบาบุญชุ่ม \" ก่อนถึงวันออกจากถ้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม