พระเครื่อง

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก 8 จุดเที่ยวทั่วกรุง เพื่อเรียนรู้ชีววิตและเรื่องราวหลัง ความตาย ทั้งวัด ทั้งศาลเจ้า ทั้งป่าช้า สายมูห้ามพลาด

ความตาย เป็นหนึ่งเรื่องราวที่ทุกชีวิต ไม่ว่าจะคนหรือสรรพสัตว์ที่จะต้องพบเจอ แต่ชีวิตที่อยู่หลังความตาย เรื่องราวหลังความตายนั้น เป็นเรื่องราวที่หลายคนมองข้าม หรือไม่ทันที่จะสังเกต เรื่องราวที่อยู่หลังความตายเหล่านั้น 

ในแง่เงาพระนคร หรือ กรุงเทพมหานคร ความทับซ้อนของเรื่องราว มีมากมายหลากยุคจน เราเองที่ได้ดำรงอยู่ในห้วงชีวิตนี้ ยังไม่สามารถเกี่ยวเก็บ และเรียนรู้ได้เท่าทัน และทั้งหมด แต่ในบางเรื่องและบางราว เราสามารถเกี่ยวข้องเรียนรู้ และเข้าใจมันได้ ไม่มากก็น้อย 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดกิจกรรม โศกนาฏกรรมกับชีวิตหลังความตายใต้เงาพระนคร เพื่อเรียนรู้เรื่องราวในแง่เงาชีวิตหลังความตาย 

 

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

เริ่มต้นกิจกรรม ที่วัดคณิกาผล วัดที่ถูกสร้างขึ้นจากเม็ดเงินของอาชีพ โสเภณี โดยเจ้าของสถานเริงรมย์ ยายแฟง ด้วยใจที่อยากจะไถ่บาป จากการประกอบอาชีพ จัดให้มีการค้าบริการทางเพศ แม้ในช่วงเวลานั้น ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 จะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่ผิดกฎแห่งกรรม ยายแฟง ผู้ที่กำลังอิ่มเอิบในการสร้างวัด ได้นิมนต์ ขรัวโต แห่งวัดระฆัง มาเทศน์ฉลองวัดใหม่ แล้วได้เอ่ยถามท่านว่า ตนสร้างวัด จะได้บุญมากน้อยเท่าใด ขรัวโต ท่านได้ตอบว่า เพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น 

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

ยายแฟงรู้สึกเสียหน้าที่ถูกขรัวโตว่า หนต่อมาได้นิมนต์พระวชิรญาณเถระ แห่งวัดบวรนิเวศ  มาเทศน์ฉลองวัดอีก แต่กลายเป็นถูกต่อว่ามากขึ้น และตรงไปตรงมา 
 

 


เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

 

ศาลเจ้าไต้ฮงกง สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพราะเป็นที่ทำการของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง หน่วยงานที่ทำเพื่อสังคม จากเรื่องราวของภิกษุชาวจีน ที่หวังช่วยผู้คน เอื้อเฟื้อศพไร้ญาติในยุคโบราณของประเทศจีน ทำการสังเคราะห์ฝังศพ นอกจากเรื่องราวการทำความดี ยังมีการแฝงสะท้อนศิลปะฝาผนัง ที่มีการบรรจุสัตว์การค้าอย่างปลาเค้า อยู่บนเหลี่ยมจั่วศาลด้านใน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการค้าในอดีต 

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว


วัดพลับพลาชัย ดินแดนประหารชีวิตในอดีตกาล การสังหารผู้ต้องโทษนั้น ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ตะแลงแกรง คือจุดประหารนักโทษ และประกาศให้สังคมรู้และไม่เอาเยี่ยงอย่างผู้กระทำความผิด ของกรุงรัตนโกสินทร์ มีจุดวัดพลับพลาชัย เป็นหนึ่งในสถานที่ประหาร วัดแห่งนี้ เป้นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหมุดหมายแรกของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นจุดที่ รัชกาลที่ 1 ตั้งพลับพลาเตรียมตัว ก่อนจะข้ามไปฝั่งกรุงธนบุรี 

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว


เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระราชกุศล ให้พระราชมารดา เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชทานเพลิงพระราชวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวง พระศพเจ้านายฝ่ายใน ราชนิกุล ขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ และเป็นสถานที่ประกอบหนึ่งในส่วนของพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพเจ้านายชั้นสูง นั่นคือก็ใช้เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบุพโพ หรือ น้ำเหลือง 

 


 

ป่าช้ามัสยิดมหานาค ปกติเรา ๆ ท่าน ๆ มักจะไม่มีใครอภิรมย์ในการเดินเข้าป่าช้า ยิ่งเป็นป่าช้า หรือ กุโบว์ ของอสลามด้วย ยิ่งน้อยครั้งจะเคยสัมผัส  แต่หากได้เข้ามาศึกษาข้อมูล การดูแลรักษาศพให้เรียบร้อยก่อนทำการฝัง ใน 24 ชั่วโมง จะพบว่า ความตาย สำหรับอิสลาม เป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านของสถานะเท่านั้น  ผู้ที่หายไปเพียงรอเวลาพิพากษาสุดท้ายของพระผู้เป็นเจ้า

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว


วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร พระอาราม ที่รัชกาลที่ 4 ทรงเตรียมการไว้สำหรับลี้ภัยทางการเมือง เพราะเวลานั้น ภาพรวมของการเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย แม้จะเปลี่ยนผ่านรัชกาลแล้วก็ตาม วัดขนาดกะทัดรัดแห่นี้ แต่เรื่องราวนั้นอันแน่นในขอบรั้ว  ไม่ว่าจะเป็นภาพจิตกรรมฝาผนัง ที่เสกสร้างด้วยฝีมือของ ขรัวอินโข่ง จิตกรมือดีศรีรัตนโกสินทร์ และบอกเล่าเรื่องราวของชาวตะวันตก 

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว


ศาลาอุรุพงศ์ เจ้าจอมมารดาเลื่อนมีศรัทธาสร้างศาลาธรรมสวนะขึ้นที่คณะกลาง ชื่อศาลาอุรุพงษ์เป็นการเปรียญใหม่ ที่วัดบรมนิวาส และปฏิสังขรณ์ พระประธานองค์ใหญ่มีนามว่า พระพุทธพิชิตมารมัธยมพุทธกาล ประดิษฐานไว้ในศาลานั้น สิ้นเงินในการนี่ 25,000 บาท เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลพระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์รัชสมโภช
ชื่ออุรุพงษ์ก็คือพระนามย่อของพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระราชปิโยรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาเลื่อน ประสูติเมื่อ พ.ศ.2436 สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2452 พระชันษาเพียง 16 ปี

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว
ศาลาอุรุพงษ์ รูปเเบบสถาปัตยกรรมไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์  เป็นศาลาโถงชั้นเดียว ผนังใต้ถุนก่อปูน ด้านบนเป็นไม้ หน้าบันผูกเป็นรูป พระอรุณสุริยเทพสารถี มีมือถือเเพนหางนกยูงตราประจำพระองค์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

เที่ยวไปกับเรื่องราว หลัง ความตาย ทอดน่องเดินเที่ยว

ทั้งหมดนี้ คือภาพรวมเรื่องราวหลังความตาย ที่น่าสนใจและศึกษาเพิ่มเติมอย่างยิ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ