พระเครื่อง

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ

13 มิ.ย. 2565

ทม. แม่เหียะ สืบสานประเพณี “เลี้ยงดง” บวงสรวงยักษ์ปู่แสะย่าแสะ มุ่งดันพลังศรัทธา สู่ การรักษาผืนป่าที่ยั่งยืน

ที่บริเวณลาน เชิงวัดพระธาตุดอยคำ บ้านแม่เหียะใน ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ได้จัดพิธีเลี้ยงดงไหว้ผีปู่แสะย่าแสะ ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญทางภาคเหนือ โดยสืบทอดกันมากว่า 100 ปี เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าให้อยู่คู่กับเชียงใหม่ 

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ


สืบเนื่องจากความเชื่อที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนของบรรพบุรุษของชาวลัวะ ในการถวายเครื่องเซ่นบูชาแก่ยักษ์ปู่แสะย่าแสะ ที่เชื่อว่าเป็นผู้ปกปักรักษาดอยสุเทพ-ปุย และ ดอยคำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะถือเอาวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ หรือก่อนฤดูทำนาเป็นวันประกอบพิธี

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ


โดยมี นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ ประธานฝ่ายฆราวาส นำคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา กำนันผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยคณะศรัทธา ประชาชน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ ซึ่งในช่วงเช้าได้เริ่มพิธีด้วยการนำข้าวตอกดอกไม้ ผลไม้ อาหารคาวหวาน บวงสรวงศาลรูปปั้นปู่แสะ-ย่าแสะ บริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยคำ

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ
 


ก่อนจะเคลื่อนขบวนเครื่องบวงสรงไปที่ลานเลี้ยงดง ทั้งนี้ในทุกๆปีที่ผ่านมาจะมีพิธี ประทับร่างทรง โดยร่างทรงจะกินเนื้อควาย สด ๆ ตามความเชื่อคือควายดำกลีบเผิ้ง เขากับหูยาวเท่ากัน และเป็นควายหนุ่มยังไม่ผ่านการใช้งาน ที่ถูกใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ แต่ในปีนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้พิธีบางส่วนได้ถูกงดไป

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ

 

 


 มีการจำกัดผู้คนที่เข้าร่วมพิธี ไม่มีการสังเวยควายทั้งตัว และไม่มีการประทับทรง แต่เป็นการกล่าวคำโอกาสถวายเครื่องสังเวย โดยพ่ออาจารย์ผู้ประกอบพิธี เรียกว่า ปริวรรตคำอัญเชิญปู่แสะย่าแสะ คำอัญเชิญกุมภัณฑ์ คำอัญเชิญขุนหลวงวิรังคะ คำอัญเชิญสุเทวฤๅษี คำอัญเชิญท้าวทั้งสี่ จากนั้นจะมีพิธีแห่ผ้าบฎ จากวัดป่าจี้  เป็นผืนผ้าที่มีรูปวาดของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2469  เข้ามาในบริเวณพิธี นำมาผูกห้อยต้นไม้ บริเวณที่มีการเลี้ยงดง

แม่เหียะ สืบสานประเพณี เลี้ยงดง บวงสรวงบูชา ยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะ
 


โดยพระบฏจะมีอาการแกว่งไปมาเสมือนว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา เพื่อโปรดมนุษย์ และห้ามมิให้ยักษ์ปู่แสะย่าแสะทั้งสองตน กินเนื้อมนุษย์ และให้ได้คำนึงถึงว่าตนมีหน้าที่ในการเป็นผู้ปกปักรักษาป่าต้นน้ำผืนสุดท้ายในอุทยานดอยสุเทพ ดอยคำ เพื่อเลี้ยงชีวิตชาวแม่เหียะและชาวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพลังศรัทธาสู่การรักษาผืนป่าที่ยั่งยืน