พระเครื่อง

เหรียญ "พระมงคลบพิตร" สี่จตุรเทพยุคอินโดจีน เสกเข้มขลัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถูกใจสายหนังเหนียว เหรียญ พระมงคลบพิตร รุ่นสอง ปี 2485 สี่จตุรเทพ " จาด จง คง อี๋" เกจิอาจารย์ยุคอินโดนจีน ร่วมเสก

เหรียญพระปฏิมากรมงคลบพิตร รุ่น 2  เป็นพระเหรียญยอดนิยมที่  4 จตุเทพแห่งยุคสงครามอินโดจีน  จาด จง คง อี๋
ร่วมนั่งปรกอธิฐานจิตปลุกเสก    จัดสร้าง ปีพ.ศ. 2485   และได้รับการขนานนามว่า  เสื้อเกราะอโยธยา  เป็น 1ใน13พระเครื่องที่โดนลองยิงแล้วปรากฏอิทธิคุณแคล้วคลาด คงกระพัน จากการลองยิงพระเครื่องเป็นหลายร้อยรายการ
สุดยอดเหรียญพระปฏิมาที่ทรงอิทธิคุณมากที่สุดเหรียญหนึ่งแห่งเมืองอโยธยา  และเป็นยอดพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่และเข้มขลังแห่งยุคสงครามอินโดจีนที่ยากจะหาพิธีไหนยิ่งใหญ่เทียบเคียงได้
ทั้งนี้ เมื่อถึงปี พ.ศ.2485  ได้มีการจัดสร้าง “วัตถุมงคลหลวงพ่อมงคลบพิตร” ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้เช่าบูชา
โดยจัดสร้างเป็น เหรียญรูปเหมือน และแหวนยันต์มงคล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านชนวนมวลสารหรือพิธีกรรม เรียกได้ว่า “ยิ่งใหญ่อลังการ” มีค่านิยมสูงมากและหาดูหาเช่าของแท้ยากยิ่งมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

 

 

 

เหรียญ "พระมงคลบพิตร" สี่จตุรเทพยุคอินโดจีน เสกเข้มขลัง
 

เริ่มจากการรวบรวมชนวนมวลสารในการจัดสร้าง  ประกอบด้วย  แผ่นทองแดงที่ลงอักขระปลุกเสก  จากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นจำนวนถึง 121  รูป   อาทิ

สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราช ชื่น) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส
พระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง
หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี
พระอธิการจันทร์ วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรีหลวงปู่
บ่าย วัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
พระอาจารย์แฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี
หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี
หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนคร ศรีอยุธยา
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
และหลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นต้น

 

 

เหรียญ "พระมงคลบพิตร" สี่จตุรเทพยุคอินโดจีน เสกเข้มขลัง

รวมกับ “โลหะเครื่องรางโบราณ” ที่พบในบริเวณพระราชวังโบราณ เมื่อคราวปรับปรุงเกาะเมืองฯ  เช่น ชินสังขวานร บนวิหารพระมงคลบพิตร-วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดป่าพาย ทองคำจากองค์พระมงคลบพิตร เนื้อสำริดกะเทาะจากองค์พระมงคลบพิตร พระชินขุนแผนจากวัดป่าพาย-วัดสะพานเงินสะพานทอง  พระชินกำแพงพัน วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดมหาธาตุ-วัดราชบูรณะ, พระปรุหนังวัดพระศรีสรรเพชญ์   พระชิน วัดขุนหลวงต่างใจ   พระปิดทวารในเจดีย์พระราชวังโบราณ   ลูกอมทองแดง วัดพระราม   แผ่นทองกะเทาะจากองค์พระธาตุเชียงใหม่
นอกจากนี้ยังมีทองชนวนจากพิธีสำคัญของพระอารามต่างๆ

 

 


เช่น   วัดอนงคาราม  วัดหิรัญรูจี   วัดราชบพิธฯ   วัดกัลยาณมิตร  วัดชนะสงคราม   วัดสุทัศน์
โดยพิธีการสร้างแบ่งเป็น 2 วาระ    วาระแรก เป็นพิธีหลอมทอง ณ วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา แบบข้ามคืน   ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ต่อเนื่องถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485    โดยพระญาณไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นประธานจุดเทียนชัย

ไฟที่ใช้จุดเทียนชัยเป็น “ล่อจากแสงอาทิตย์” และได้นำแม่พิมพ์ให้พระเกจิอาจารย์ลงเลขยันต์และปลุกเสกพร้อมมวลสารที่จะจัดสร้างอีกครั้ง หน้าพระพักตร์หลวงพ่อมงคลบพิตร ต่อเนื่องถึงวันรุ่งขึ้นเมื่อได้ปฐมฤกษ์
หลวงปู่จาด วัดบางกระเบา เป็นประธานหย่อนแผ่นเงินจารึกดวงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน กับดวงฤกษ์ลงเบ้า เพื่อหลอมรวมกับทองชนวนและโลหะมงคลต่างๆ


     จากนั้น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใส่ทองคำหนัก 1 บาท (ทองคำนี้พระเกจิอาจารย์ท่านได้ลงอักขระปลุกเสกโดยเฉพาะทุกแผ่น )
     แล้วหลวงปู่จาดจึงเริ่มเททอง  พระเกจิอาจารย์ 121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมเจริญชัยมงคลคาถา 

 

และเมื่อดับเทียนชัยแล้วท่านทั้งหลายยังบริกรรมคาถาปลุกเสกทองที่หลอมเสร็จกับแม่พิมพ์อีกครั้งหนึ่ง
วาระที่2 เป็นพิธีพุทธาภิเษก ประกอบพิธีในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ที่เรียกว่า “วันเสาร์ห้า” ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง  121 รูป ที่ลงอักขระปลุกเสกในการหล่อ ได้เมตตาเข้าร่วมพิธีเช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ