พระเครื่อง

ทำไมต้อง ? "วัดหงษ์" เมื่อ "อัจฉริยะ" ท้า "แซน" สาบานถึงบุรีรัมย์ พระเจ้าใหญ่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อมีคู่กรณีเกิดการฟ้องร้องกันแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ถ้ามาออมชอมกันต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่ ก็เกิดความเมตตาสงสารกันและตกลงกันได้ด้วยดีไปหลายรายแล้ว แม้แต่ศาลก็เคยนำฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมาสาบานต่อหน้า “พระเจ้าใหญ่” เช่นกัน

"วัดหงษ์" หรือ "วัดศีรษะแรด" ตั้งอยู่ที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐาน "พระเจ้าใหญ่" พระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งได้รับการค้นพบในราว พ.ศ.1792 โดยท้าวศรีปาก (นา) และไพร่พลซึ่งตามแรดใหญ่มา จึงได้มีการตั้งรกรากในบริเวณนั้น แต่ก็ได้เสื่อมลงตามกาลเวลา

 

ทำไมต้อง ? "วัดหงษ์" เมื่อ "อัจฉริยะ" ท้า "แซน" สาบานถึงบุรีรัมย์ พระเจ้าใหญ่

 

ต่อมาใน พ.ศ. 2200 พรานป่า 2 คนได้ตามหงส์เข้ามาในป่า ได้พบองค์พระเจ้าใหญ่ ซากเจดีย์ นอแรด และกระดูกแรด จึงชวนผู้คนมาตั้งรกราก ตั้งชื่อว่า "บ้านศีรษะแรด" และสร้างวัดชื่อ "วัดหงษ์" และในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการขุดค้นพบพระปรางค์สูง 70 เซนติเมตร ในบริเวณวิหารพระเจ้าใหญ่อีกด้วย

 

 

"พระเจ้าใหญ่" ภายใน "วัดหงษ์" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย วัสดุสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ช่างที่สร้างอาจเป็นช่างสกุลลาว ศิลปะล้านช้าง โดยดูจากพระเกศที่มีลักษณะเฉพาะในภาคอีสานและในประเทศลาวเท่านั้น

 

ทำไมต้อง ? "วัดหงษ์" เมื่อ "อัจฉริยะ" ท้า "แซน" สาบานถึงบุรีรัมย์ พระเจ้าใหญ่

 

สําหรับองค์พระนั้น มีอักษรขอมจารึกบนแผ่นดินเผา ปัจจุบันถูกทําลายแล้ว อ่านได้เฉพาะคําหน้าว่า “พระเจ้าใหญ่” อักษรตัวอื่นไม่มีใครอ่านออก จึงเรียกองค์พระว่าพระเจ้าใหญ่ตั้งแต่นั้นมา ส่วนเจดีย์มีอักษร ขอมจารึกไว้ที่ฐานแต่ไม่มีใครอ่านออก จนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา

 

ส่วนเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่นั้น ในสมัยก่อน หากมีผู้ใดมาตัดไม้ทําลายป่าในบริเวณใกล้ๆ กับที่ประดิษฐานขององค์พระ ก็จะเกิดการหลงป่าหลงทางกลับบ้านไม่ถูก หรือไม่ก็จะเห็นว่าบริเวณนั้นเต็มไปด้วยน้ำต้องว่ายน้ำกลับบ้าน แต่เมื่อมีคนมาพบก็จะเห็นว่าคนนั้นกําลังว่ายอยู่บนบก อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหล่านี้ได้ มีผู้ประสบหลายครั้งหลายคราว จึงมีผู้คิดจัดงานฉลองให้ผู้คนเข้านมัสการ และปิดทองคําเปลวที่องค์พระเจ้าใหญ่ ในช่วงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

ทำไมต้อง ? "วัดหงษ์" เมื่อ "อัจฉริยะ" ท้า "แซน" สาบานถึงบุรีรัมย์ พระเจ้าใหญ่

 

มีเรื่องเล่าอีกว่า ในปี พ.ศ.2478 มีผู้มาสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่ว่าจะเลิกเสพสิ่งเสพติดจะเลิกดื่มสุราและเครื่องดองของเมาต่างๆ แล้วมีหลายรายที่ไม่ทําตามคําสาบาน ก็ต้องมีอันเป็นไปในลักษณะอาเพศต่างๆ ตามคํามั่นสัญญาที่ตนสาบานไว้ จึงไม่มีผู้ใดกล้ามาสาบานอีก ต่อมาในระยะหลังๆ จึงมีผู้ไปพึ่งบารมีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่ โดยการสาบานเลิกดื่มสุรา และเห็นผลตามคําสาบานทุกประการ

 

นอกจากนี้ ยังมีอิทธิฤทธิ์เกี่ยวกับการขอบุตร มีสามีภรรยาหลายคู่ที่แต่งงานกันมา นานนับสิบปี แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน พากันไปนมัสการขอบุตรจากพระเจ้าใหญ่ ปรากฏว่ามีบุตรตามที่ปรารถนา และในด้านคดีความ เมื่อมีคู่กรณีเกิดการฟ้องร้องกันแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ถ้ามาออมชอมกันต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่ ก็เกิดความเมตตาสงสารกันและตกลงกันได้ด้วยดีไป หลายรายแล้ว แม้แต่ศาลก็เคยนำฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมาสาบานที่นี่เช่นกัน

 

ภาพ : เพชเฟซบุ๊กเทศบาลตำบลพุทไธสง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ