พระเครื่อง

บารมี "หลวงปู่เอี่ยม" มรดกปู่ สู่ดิเรก ถึงฝั่ง ประสบการณ์แคล้วคลาด คงกระพัน

บารมี "หลวงปู่เอี่ยม" มรดกปู่ สู่ดิเรก ถึงฝั่ง ประสบการณ์แคล้วคลาด คงกระพัน

12 เม.ย. 2565

"หลวงปู่เอี่ยม" ปฐมนามแห่งวัดสะพานสูง วัตถุมงคลที่มีพุทธคุณอันเลื่องชื่อ จากประการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัว ดิเรก ถึงฝั่ง

'เมื่อมีเหตุสุขทุกข์อันใดเกิดขึ้น ก็นึกถึงฉันและเอ่ยชื่อฉันก็แล้วกัน' อมตะวาจา "หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม"แห่งวัดสะพานสูง ที่ท่านได้ลั่นวาจาไว้ ก่อนลมหายใจสุดท้าย แม้ไม่มีวัตถุมงคลของ "หลวงปู่เอี่ยม" ติดตัวไว้บูชา แต่หากเกิดเหตุขับขันนึกถึง "หลวงปู่เอี่ยม" เหตุร้ายก็จะเบาบางลง นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เหล่าบรรดาลูกศิษย์เอ่ยถึง เมื่อกล่าวถึง "หลวงปู่เอี่ยม"

หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม แห่งวัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี

"หลวงปู่เอี่ยม" แห่งวัดสะพานสูง ผู้เรืองอาคม ผู้สรางเครื่องรางของขลังอันเลื่องชื่อ "ตะกรุดมหาโสฬสมงคล" 1 ใน 5 เบญจภาคีเครื่องรางของขลัง ที่เลื่องชื่อด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ที่เป็นที่ใฝ่ฝันของบรรดานักสะสม และผู้ที่ศรัทธาในเครื่องรางของขลัง เนื่องจากเป็นตะกรุดที่ได้รับความนิยม และหายากที่สุด

หากจะกล่าวถึงเรื่องราวของประสบการณ์จากวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" คงไม่ผู้ใด ที่มีประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ได้เทียบเท่าอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนนทบุรี นายดิเรก ถึงฝั่ง เนื่องด้วยคุณปู่ของคุณดิเรก เป็นลูกศิษย์ที่คอยรับใช้ใกล้ชิด "หลวงปู่เอี่ยม" มาช้านาน

ดิเรก ถึงฝั่ง อดีตสว.จ.นนทบุรี

ท่านดิเรก ถึงฝั่ง ได้เปิดกรุ วัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง พร้อมบอกเล่าถึงประสบการณ์ แคล้วคลาด จากบารมีของพุทธคุณจากวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" ที่ส่งจากรุ่นสู่รุ่น
บารมี \"หลวงปู่เอี่ยม\" มรดกปู่ สู่ดิเรก ถึงฝั่ง ประสบการณ์แคล้วคลาด คงกระพัน
คุณปู่ของท่านดิเรก คือรองอมาตย์โท ต่วน ถึงฝั่ง ต้นตระกูลถึงฝั่ง ผู้เป็นลูกศิษย์รับใช้ "หลวงปู่เอี่ยม" และยังเป็นบุคคลที่มีพระปิดตา และวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" มากที่สุดในประเทศไทย จากนั้นวัตถุมงคล และคาถาบูชาต่างๆ จึงถูกถ่ายทอดมาที่รุ่นลูก คือปลัดสุพจน์ ถึงฝั่ง หรือคุณพ่อ ของท่านดิเรก ผู้ที่มีเชื่อเสียงโด่งดังอันเป็นที่เล่าขานถึงเรื่องแคล้วคลาดจากการปะทะกับเสือเพี้ยน และเสือแก่น ด้วยบารมีแห่งวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" ที่อาราธนาติดตัว อาทิ ตะกรุด พระปิดตา และปลัดขิก มาสู่รุ่นลูก ชายผู้รับราชการด้านปกครอง ผ่านการปะทะกับผู้ร้าย สัมผัสประสบการณ์แคล้วคลาดมาจนปัจจุบัน ท่านดิเรก ในวัย 76 ปี  (รับชมคำบอกเล่าเรื่องประสบการณ์แคล้วคลาดได้ในคลิป ที่นี่ )


มรดกตกทอดจากรุ่นปู่ สู่รุ่นหลานของตระกูลถึงฝั่ง ล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" ที่เป็นที่ใฝ่ฝันของผู้ที่ศรัทธาใน "หลวงปู่เอี่ยม" และเหล่าบรรดานักสะสม ที่บางชิ้นไม่สามารถประเมิณค่าได้เป็นตัวเงิน

บารมี \"หลวงปู่เอี่ยม\" มรดกปู่ สู่ดิเรก ถึงฝั่ง ประสบการณ์แคล้วคลาด คงกระพัน
เปิดกรุวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" ของตระกูลถึงฝั่ง ทั้ง "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" "ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม" และปลัดขิก ท่านดิเรกได้ให้ข้อมูลกับคมชัดลึกออนไลน์ว่า เนื้อของ "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" ถ้าไม่ได้ใช้งานเลยเนื้อจะเป็นสีน้ำตาลไหม้ เนื่องจาก "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" ทำด้วยผงว่าน 108 ชนิด ผงพุทธคุณที่ "หลวงปู่เอี่ยม" มีอยู่ ชันยาเรือ จึงเป็นที่มาว่า "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" จะมีสีน้ำตาลไหม้ เมื่อ ใช้ไปนานๆจะเป็นสีดำเนื้อจะไม่เนียนเรียบ เป็นรายงานเนื่องจากมีอายุกว่าร้อยปี และที่สำคัญไม่มีเนื้อสีขาว ซึ่งหากเป็นพระปิดตาเนื้อสีขาวจะเป็นในยุคหลวงปู่ศุข และหลวงปู่กลิ่น
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

"พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" มีทั้งเนื้อเปลือย และเนื้อคลุกรัก และเนื้อจุ่มรัก และในอดีตชาวบ้าน เรียก "พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม" พิมพ์ว่าวจุฬา เนื่องจากมีลักษณะเหมือนว่าวจุฬา ขนาดใหญ่เรีกพิมพ์จุฬาใหญ่และขนาดเล็ก เรียกพิมพ์จุฬาเล็ก แตกต่างกันไปตามขนาด แต่ปัจจุบันเซียนพระนิยมเรียกกันว่า พิมพ์ตะพาบ และพิมพ์ชะลูดแทน

พระปิดตา และรูปหล่อ หลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง
ส่วน "ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง" มาตรฐานจะไม่เกิน 4 นิ้ว มีตั้งแต่ 3 นิ้วครึ่งไปจนถึง 4 นิ้ว "ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง" มีไม่มากเนื่องจาก "หลวงปู่เอี่ยม" ไม่ได้สร้างเป็นรุ่นจำนวนมาก แต่ทำไปปลุกเสกไป อธิษฐานจิตไป แจกไป จึงมีจำนวนไม่มาก และหายากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร จึงเป็นที่ต้องการของเหล่านักสะสมและผู้มีจิตศรัทธา ทำให้ "ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง" มีราคาสูง
ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
นอกจากนี้อดีตสวดิเรก ถึงฝั่ง ยังได้เปิดกรุให้ยลโฉม พระปิดตา พร้อมสร้อยประคำ ที่ "หลวงปู่เอี่ยม" แขวนติดตัวเมื่อครั้งยังมีชีวิต ที่กลายเป็นมรดกตกทอดของตระกูลถึงฝั่ง โดยแต่เดิมมีเม็ดประคำมากถึง 108 เม็ดและเม็ดประคำ ใช้มวลสารเดียวกับพระปิดตา ซึ่งเป็นพระปิดตา เนื้อจุ่มรัก ร้อยกับสร้อยประคำ นับเป็นวัตถุมงคล "หลวงปู่เอี่ยม" ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

พระปิดตาเนื้อจุ่มรัก กับสร้อยปะคำ ของหลวงปู่เอี่ยม