พระเครื่อง

ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จุดเริ่มต้นของความเชื่อ "ราหูอมจันทร์" กะลาตาเดียวที่หายากผสมผสานกับการใช้ศิลปะการแกะสลัก ปลุกเสกจากคุมภีร์ใบลาน ต้นตำรับของ "หลวงพ่อน้อย" วัดศรีษะทอง พยุงดวงชะตาและป้องกันภัย ให้คนเกลียดกลับมารักดั่งเดิม

วัดศีรษะทอง  เริ่มแรกเดิมทีนั้น พื้นที่ขึ้นอยู่กับท้องที่ ตำบล ห้วยตะโก ซึ่งสมัยนั้นยังไม่ได้ตั้งชื่อว่า คำว่า ศีรษะทอง

ต่อมา ประมาณสมัยรัชกาลที่  2-3  พวกลาวเวียงจันทร์อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยกันมาก โดยเฉพาะ จังหวัดนครปฐม แถวริมแม่น้ำนครชัยศรี ละไปเรื่อย บางพวกก็เข้าไปอยู่ลึกกว่าพวกอื่นก็มี เช่น พวก ตำบล ศีรษะทองในปัจจุบัน พวกลาวเวียงจันทร์กลุ่มนี้ ได้เข้ามาอยู่โดยช่วยกันพัฒนาพื้นที่จนเกิดความเจริญรุ่งเรือง จากไม่กี่หลังคาเรือน ก็กลายเป็นหมู่บ้านขึ้น เมื่อต่างคนต่างก็มีกินมีใช้เหลือบ้าง ต่อมาคิดจะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้านของตัวเอง เพราะวัดอื่น ๆ ก็อยู่ห่างไกลมาก ครั้นชาวบ้านคิดจะทำบุญสร้างกุศล แต่ละครั้งลำบากมาก บรรดาชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น ขณะที่ทำการขุดดินสร้างวัดนั้นเอง ปรากฏว่าได้ขุดพบ เศียรพระเป็นทองจมอยู่ใต้ดิน ชาวบ้านจึงถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี จึงนำมาตั้งชื่อวัด และชื่อหมู่บ้านว่า “หัวทอง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ครั้นต่อมาในยุคสมัยของ "หลวงพ่อน้อย" ซึ่งท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบ้านเลื่อมใส และเคารพนับถือกันมาก ท่านได้เห็นว่า คำว่า "หัวทอง" ควรเปลี่ยนเสียใหม่ให้ไพเราะขึ้น ท่านจึงใช้คำว่า "ศีรษะทอง" เพื่อรักษาความหมายเดิมเอาไว้ และได้พัฒนาไปตามยุคสมัย มีฐานะจากหมู่บ้านกลายเป็นตำบลศีรษะทอง จนมาถึงทุกวันนี้

 

ประวัติการแกะราหูอมจันทร์ จากกะลาตาเดียว

การแกะพระราหูจากกะลาตาเดียวนั้น ชาวลาวตำบลศีรษะทองได้ทำการแกะกันมาตั้งแต่ครั้งอพยพแล้ว   เมื่อชาวบ้านได้สร้างวัดจนสำเร็จเป็นวัดขึ้น   ชาวบ้านทั้งหมดจึงพร้อมใจกันนิมนต์ "หลวงพ่อไตร"  ซึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาด้วยกัน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นรูปแรก

"หลวงพ่อไตร" นั้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาคาถาอาคม และการทำเครื่องรางแก่กล้ามาก โดยเฉพาะการสร้าง ราหูอมจันทร์ แกะจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว กรรมวิธีการแกะเป็นตำราที่ท่านได้นำมาจาก เวียงจันทร์สมัยอพยพ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้บูชา หรืออาราธนาพกติดตัวตามความเชื่อทางศาสนา และไสยศาสตร์

และนี่คือ จุดเริ่มต้นของงานศิลปะพื้นบ้าน การแกะพระราหูจากกะลา โดยการฝึกฝนการแกะขึ้นกันในหมู่บ้าน มีการพัฒนารูปแบบให้สวยงาม สุดแล้วแต่ความสามารถของช่างแต่ละคน จะออกแบบลวดลาย การแกะจึงมักไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน

ต่อมาศิลปะวิชาการแกะกะลาพระราหูนี้ได้ตกทอดสืบต่อกัน โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือมนต์พิธีต่าง ๆ  

 

อันดับเจ้าอาวาสต่อเนื่องกันมา หลังจากหลวงพ่อไตร เจ้าอาวาสองค์แรก คือ

2.หลวงพ่อตัน ท่านเป็นหลานหลวงพ่อไตร ท่านได้สร้างราหูอมจันทร์ เช่นกัน แต่ไม่มากนัก และมีรูปแบบที่ไม่ได้เป็นมาตรฐาน

3.หลวงพ่อลี ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน ท่านสร้างราหูอมจันทร์เช่นกัน แต่ไม่มากนัก รูปแบบก็ไม่ได้เป็นมาตรฐานเช่นกัน

4.หลวงพ่อทอง ท่านเป็นชาวไทย ท่านไม่ได้รับการถ่ายทอด และครอบครู จึงไม่ได้สร้างพระราหูเลย

5.หลวงพ่อช้อย ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน แต่เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจเรื่องวิชาอาคม สมัยท่านจึงไม่มีการสร้างพระราหูเลย

6. "หลวงพ่อน้อย" ท่านก็เป็นชาวลาว ในพื้นที่บ้านศีรษะทองเช่นกัน ส่วนวิชาคาถาอาคมนั้น ส่วนใหญ่ท่านได้รับการถ่ายทอดเล่าเรียนมาจากหลวงพ่อลี เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ และโยมบิดา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ และมีตำรับตำรา คาถาอาคมการสร้างพระราหูจากกะลาแกะ หลวงพ่อน้อยท่านเป็นคนที่มีความสนใจมากทางด้านนี้ จึงศึกษาจนได้รับความรู้มาโดยละเอียดทั้งหมด จากหลวงพ่อลี และโยมบิดา

กะลาตาเดียวเต็มใบ แกะราหู 3 หน้า หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ลงอักขระยันต์เต็มสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

"เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแล้ว ท่านก็ได้เริ่มวางรากฐานรูปแบบ และขั้นตอน ตลอดจนลวดลายการแกะกะลาพระราหูให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการพัฒนาเป็นขั้นตอน ตามตำราในใบลานต้นฉบับ การแกะกะลาพระราหูที่หลวงพ่อไตร ได้นำติดตัวมาจากประเทศลาว แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น รูปแบบ หรือลาย จะแกะเป็นลายอย่างไรก็ตาม กะลาที่นำมาแกะพระราหูนั้น จำเป็นต้องเป็นกะลามะพร้าวที่มีเพียงตาเดียวเท่านั้น อ่อน หรือ แก่ ไม่เป็นอะไร"

การพัฒนางานแกะ เห็นได้ว่าในยุคต้น ๆ นั้น การแกะพระราหูไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน มีทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปกลม รูปกลีบบัว ก็มี สุดแล้วแต่ช่างจะแกะกัน แต่ในยุคหลวงพ่อน้อยก็มีบ้าง คือ ช่างชาวบ้านที่แกะกันเอง แล้วนำมาให้หลวงพ่อน้อยปลุกเสกให้ แต่ส่วนใหญ่ กะลาแกะพระราหูของ "หลวงพ่อน้อย" นั้น จะมีศิลปะการแกะที่เป็นมาตรฐาน โดยใช้ช่างแกะไม่กี่กลุ่ม ซึ่งได้แก่

1.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นพระภายในวัด แรก ๆ ก็แกะเป็นรูปสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลมบ้างเหมือนกัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแบบเดียวกัน คือ แกะเป็นรูป เสมาคว่ำ

2.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นนักโทษ เรือนจำจังหวัดนครปฐม โดยหลวงพ่อน้อย ท่านมีลูกศิษย์ลูกหา เป็นผู้คุมเรือนจำ ในสมัยนั้นผู้คุมเรือนจำ เป็นช่างฝีมือแกะหลายคน ซึ่งเป็นครูคอยสอนนักโทษด้วย แล้วให้นักโทษช่วยกันลองแกะพระราหูกันดู จากกะลาตาเดียว และได้คัดอันที่สวยที่สุดมาเป็นตัวอย่าง

ในครั้งนั้น คัดได้มีลักษณะรูปแบบเป็นรูปเสมาคว่ำ และมีขนาดเล็ก กะทัดรัด สวยงาม และเหมาะสำหรับพกพาติดตัวด้วย รูปแบบการแกะนี้จึงได้รับความสนใจเรื่อยมา หลวงพ่อน้อยจึงอาศัยรูปแบบนี้เป็นมาตรฐาน ในการแกะสืบต่อกันมา

 

กะลาตาเดียวแกะราหู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจารครบสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

ในยุคของ "หลวงพ่อน้อย" ถือว่ามีการสร้างพระราหู จากกะลาตาเดียวมากที่สุด หลังจากหลวงพ่อน้อยมรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ก็มีการสร้างพระราหูเช่นกัน รูปแบบคล้ายกันบ้าง ต่างกันบ้าง เช่น

อาจารย์ปิ่น ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาจาก "หลวงพ่อน้อย" และได้รับการถ่ายทอดวิชาปลุกเสกกะลาพระราหู จากหลวงพ่อน้อย ภายหลังได้สึกออกมา

กะลาตาเดียวแกะราหู 2 หน้า(พิเศษ) พระอาจารย์ปิ่น วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจารครบสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด กะลาตาเดียวแกะราหู พระอาจารย์ปิ่น วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจารครบสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

กะลา3 ตา(พิเศษ) แกะราหู 3 หน้า  อาจารย์ปิ่น วัดศรีษะทอง ลงอักขระครบสูตรเต็มใบ จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

อาจารย์คล้าย ซึ่งเคยบวชเรียนอยู่กับหลวงพ่อน้อย แล้วภายหลังก็สึกออกมาเช่นกัน

ลุงศรี และอาจารย์สม คืออีกท่านหนึ่งที่เป็นช่างฝีมือแกะแบบมืออาชีพเลย

กะลาแกะพระราหูของวัดศีรษะทองนั้นมีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ แกะจากกะลาครึ่งลูก หรือ แกะจากกะลาทั้งลูกก็มี เอกลักษณ์สำคัญ กะลาแกะพระราหูอมจันทร์ ของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ที่มีขนาดห้อยพกพาได้นั้น จะมีลักษณะกะทัดรัด แกะคม ลึก สวยงามได้สัดส่วน แห้งเก่า ตกแต่งด้วยตะไบจนบาง แบน น้ำหนักเบา ด้านหลังลงอักขระจารตามสูตร ตามฤกษ์ เป็นแบบมาตรฐาน ไม่วกไปวนมา

 

กะลาตาเดียวเต็มใบ แกะราหู 3 หน้า หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ลงอักขระยันต์เต็มสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

ด้านพุทธคุณพระราหูของสำนักศีรษะทองนั้น เชื่อกันว่าพุทธคุณเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือแกะจากช่าง หรือ อาจารย์องค์ไหน พุทธคุณไม่ต่างกันนัก เพราะคาถาที่ปลุกเสกมาจากคัมภีร์ใบลานของ "หลวงพ่อไตร" องค์เดียวกัน ผู้ได้ใช้พระราหูที่แกะจากกะลาตาเดียวของสายวัดศีรษะทองนั้น เชื่อกันว่า พุทธคุณครอบจักรวาล ช่วยปกป้องกันภัยต่าง ๆ เมื่อยามดวงชะตาตก กะลาพระราหูจะช่วยแก้ไข ช่วยพยุงเสริมให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม เรื่องเมตตา เชื่อว่าคนชังยังกลับมารัก และเป็นที่รักของทุกคน ด้านโภคทรัพย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์ท่านใด ๆ เช่นกัน

กะลาตาเดียวแกะราหู(ทรงกลมยุคแรกๆ) หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจาร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

กะลาตาเดียวแกะราหู(ยุคแรกๆ) หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจาร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

กะลาตาเดียวแกะราหู เลี่ยมนากเก่า หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ด้านหลังลงอักขระเหล็กจารครบสูตร จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง เชื่อเมื่อดวงตกคนเกลียด

ค่านิยมในตลาดพระเครื่อง ถือว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่มีผู้แสวงหาค่อนข้างมาก ราคาทั่วไปอยู่ที่หลักหมื่น ถึงหลักแสนต้น ขึ้นอยู่ที่ตามสภาพ ขนาด ลวดลาย และเอกลักษณ์ต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ

ประวัติ "หลวงพ่อน้อย" วัดศีรษะทอง พอสังเขป

หลวงพ่อน้อย เดิมชื่อว่า “น้อย” นามสกุล นารารัตน์ เกิด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์  (วันแห่งความรัก) พ.ศ. 2435  แรม 13 ค่ำ ปีมะโรง  ณ  ตำบล ศีรษะทอง บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นางมี หลวงพ่อน้อย เป็นลูกคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 5 คน

โยมบิดา เป็นหมอรักษาโรค แบบแผนโบราณ และเป็นหมอทางไสยศาสตร์ ที่เก่งกล้าทางคาถาอาคมมาก จนชาวบ้านพากันเรียกว่า “พ่อหมอ” คนทั่วไปเลื่อมใสพ่อหมอมาก เนื่องจากในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญนัก

ส่วนหลวงพ่อน้อยนั้น เป็นคนชอบศึกษาวิชาอักขระเลขยันต์ คาถาอาคม ตลอดจนตำรับตำรายาทั่วไปอยู่เสมอ จึงรู้ซึ่งเจนจบวิชาของโยมบิดาจนหมดสิ้น

เมื่อหลวงพ่อน้อยอายุได้ 21 ปี ตรงกับวันที่ 14 เมษายน 2456 ขึ้น 12 ค่ำ ปี ฉลู โยมบิดาและมารดา ก็บวชให้ท่านได้เข้าสู่บวรพุทธศาสนา 

โดยมี พระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแค เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการเกิด วัดงิ้วราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระภิกษุมุม วัดกลางคูเวียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

"หลวงพ่อน้อย" ได้รับฉายาว่า "คนธโธโต" จำพรรษา ณ วัดแค ระยะหนึ่ง แล้วจึงย้ายมาจำพรรษาที่วัดศีรษะทอง ในสมัย "หลวงพ่อลี" เป็นเจ้าอาวาส

 

เรื่อง : นุ เพชรรัตน์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ