พระเครื่อง

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เครื่องรางของขลังอย่าง เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อที่แตกต่างกัน แบบไหนที่ถูกต้องตามหลักความเชื่อต้องดูรายละเอียดตามตำราให้ดี

เขี้ยว งา กะลา เขา เป็นคำพูดที่พูดกันมานมนาน ซึ่งหมายถึง วัสดุที่นำมาสร้างเครื่องรางของขลังนั่นเอง  เครื่องรางที่สร้างจากเขี้ยวสัตว์นั้น ส่วนใหญ่จะเน้น เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และ เขี้ยวหมูป่า เป็นหลัก ส่วนที่สร้างจากงาคงเป็นแค่งาช้างเท่านั้น  จากกะลามะพร้าว ส่วนใหญ่จะใช้กะลามะพร้าวที่มีตาเดียว แต่ถ้าเจอกะลามะพร้าวที่มีห้าตา สิบตา ก็ยิ่งดี ถือว่าเป็นของหายาก  ส่วนจากเขาสัตว์นั้นจะเน้นไปทาง เขาวัวกระทิง เขาควาย และเขากวางเป็นหลัก วัตถุที่นำมาสร้างเครื่องรางของขลังเหล่านี้ เชื่อกันว่ามีความขลังในตัวอยู่แล้ว ยิ่งนำมาทำพิธีปลุกเสกด้วยแล้ว ยิ่งเพิ่มความขลังเป็นทวีคูณขึ้นหลายเท่า

 

เขี้ยว นับว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ที่ได้รับความนิยมสูงสุดชนิดหนึ่ง จากเครื่องรางยอดนิยมทั่วๆ ไป พระเกจิอาจารย์บางท่านที่นำเขี้ยวมาแกะสร้างเครื่องรางของขลัง จนได้รับความนิยม ให้นั่งอยู่แถวหน้า ประเภทเครื่องรางของขลังยอดนิยม เช่น  เขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน และเขี้ยวเสือแกะของอาจารย์เฮง วัดเขาดิน เป็นต้น

เขี้ยวสัตว์นั้นที่จริงมีด้วยหลายประเภท ที่นิยมนำมาสร้างเครื่องรางของขลังกัน แต่ที่จะเขียนถึงคราวนี้ จะเน้นเฉพาะ เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และ เขี้ยวหมูป่าเท่านั้น เพราะทั้งสามเขี้ยวนี้ เป็นวัสดุที่ทั้งพระเกจิอาจารย์ และฆราวาสนิยมนำมาสร้างวัตถุมงคลกันมาก และได้รับความนิยมกันแทบทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญ  ปัญหาอยู่ที่มีผู้ซักถาม และถกเถียงกันอยู่บ่อย เกี่ยวกับการแยกประเภทของเขี้ยวว่า เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และ เขี้ยวหมู นั้นแตกต่างกันอย่างไร บางท่านยังไม่ทราบ หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้ว และอีกหลายท่านก็ยังคงเดาๆ อยู่

เขี้ยวเสือแกะ เสือหุบปากขนาดใหญ่ รูเขี้ยวเป็นวงรี มีเงารัศมีแผ่ไปรอบๆ รูเขี้ยว

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน ผู้เขียนเองยอมรับว่าไม่ได้เก่งกาจอะไรมากเรื่องเครื่องรางของขลัง แต่เป็นคนที่ชอบวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางเอามาก ๆ คนหนึ่งเลยทีเดียว ชอบค้นคว้า ค้นตำราต่างๆ ถามผู้รู้ ผู้ชำนาญ เคยซื้อผิด ซื้อถูก ทุกอย่างผู้เขียนถือว่าเป็นครูเท่านั้น เมื่อได้ความรู้อะไรมาบ้างที่เห็นว่าสำคัญ และถูกต้องก็ถ่ายทอดกันต่อๆ ไป จะได้ไม่สูงหายไปจากวงการ

เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และ เขี้ยวหมู ถ้าเป็นอาจารย์เดียวกันสร้าง เขี้ยวเสือจะได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่ง รองมาก็คือ เขี้ยวหมี และเขี้ยวหมู เป็นอันดับท้าย คงเป็นความเชื่อเรื่องบารมีมหาอำนาจ ของเขี้ยวสัตว์แต่ละชนิดก็ได้  เสือซึ่งถือว่าเป็นเจ้าป่า และหายาก ฆ่าก็ยาก หมียังพอเห็นมากกว่า ส่วนหมูป่านั้นมีจำนวนมากมาย แต่ถ้าเป็นหมูที่มีเขี้ยวตัน หรือเขี้ยวยาวใหญ่ ก็ถือว่าหาชมได้ยากเช่นกัน ดังคำโบราณที่กล่าวว่า ถ้าจะเล่นเขี้ยวหมูต้องเล่นเขี้ยวตัน จะเล่นเขี้ยวเสือต้องเล่นเขี้ยวโปร่ง (โปร่งฟ้า)

ก่อนจะแยกแต่ละประเภทของเขี้ยวนั้น อยากพูดถึงลักษณะของการนำเขี้ยวมาแกะ ว่ามีลักษณะใดบ้าง คือมีทั้งทีแกะเต็มเขี้ยว ครึ่งเขี้ยว หรือ นำเอาเขี้ยวมาผ่าเป็นซีก แกะเป็นชิ้นเล็กๆ ก็มี

เขี้ยวเสือแกะเสทอขนาดเล็ก หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน รูเขี้ยงใต้ฐานเป็นวงรีมีรัศมีกระจายรอบรู

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

 

เต็มเขี้ยว หมายถึง เขี้ยวที่ถูกถอดรากออกจากเหงือกทั้งอัน ซึ่งยังมีปลายเขี้ยวแหลม ยาวอยู่ เช่น  เสือ หลวงพ่อนก วัดสังกะสี

ครึ่งเขี้ยว  หมายถึง เขี้ยวที่ถูกถอดรากออกจากเหงือกทั้งอัน แล้วนำมาตัดแบ่งครึ่ง ส่วนใหญ่นิยมเอาครึ่งแถบที่เป็นรากเขี้ยวมาแกะ เช่น เสือ หลวงพ่อปาน คลองด่าน  

เขี้ยวซีก หมายถึง การเอาเขี้ยวเต็มมาผ่าแบ่งเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาแกะ เป็นวัตถุมงคล อีกทีหนึ่ง เช่น เสือเขี้ยวซีก หลวงพ่อปาน คลองด่าน หรือ เสือ อาจารย์เฮง วัดเขาดิน

ใต้ฐานเขี้ยวเสือมีเงารัศมีรอบรู้ในเนื้อ 

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

การแกะวัตถุมงคลจากเขี้ยวซีกชิ้นเล็กๆ นั้น บางท่านอาจเข้าใจผิดว่าแกะมาจากปลายเขี้ยว ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะปลายเขี้ยวมีลักษณะ แข็งและกรอบ  ถ้าโดนแกะก็จะปริแตกไม่เป็นรูปทรง

ความจริงแล้ว เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และ เขี้ยวหมู มีลักษณะที่แยกออกจากกันได้ชัดเจน ผู้เขียนจะอธิบายไปทีละขั้น จะได้เข้าใจง่าย ไม่สับสน โดยดูรูปภาพประกอบจะเห็นได้ชัดเจน

เขี้ยวเสือแกะ เขี้ยวซีกที่แบ่งออกมาจะไม่เห็นรูเขี้ยว  แต่ร่องลอยเงาของรัศมียังอยู่กับรอยจารทำให้เราทราบว่า เป็นเขี้ยวอะไร และ อาจารย์ท่านใดสร้างครับ

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เขี้ยวเสือเต็มเขียว ปลายเขี้ยวจะมีเส้นเลือดเป็นเส้นคู่ขนาน กันข้างละ2เส้น

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เขี้ยวเสือ นั้นมีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของตัวเสือ เขี้ยวจะยาว เรียว ปลายแหลมคม โค้งพอประมาณ ดูจากปลายเขี้ยวจะเห็นเหลี่ยม เป็นร่องเล็ก ๆ อยู่แถบละสองร่อง ทั้งสองข้าง วิ่งเป็นแนวร่องเข้ามายังตัวเขี้ยวชัดเจน เราเรียกกันว่า ร่องเส้นเลือด และถ้านำเขี้ยวเสือมาตัดแบ่งครึ่ง เราจะเห็นรูตรงกลาง เป็นรูกลวงโปร่ง ไปสุดโคนเขี้ยว ซึ่งจะมีลักษณะกลม หรือกลมรีเล็กน้อย กว้างประมาณ 20-30% ของพื้นที่หน้าเขี้ยวทีเราตัดครึ่ง และจะมีคลื่นรัศมีวิ่งรอบปากรูเขี้ยวซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

เขี้ยวหมี นั้นมีทั้งขนาดเล็ก และใหญ่เช่นกัน เขี้ยวหมีเมื่อดูภายนอกลักษณะทั่วไปคล้าย เขี้ยวเสือมาก คือมีความเรียว  โค้งยาว ปลายแหลมคม สิ่งที่แตกต่างจากเขี้ยวเสือนั้น คือปลายเขี้ยวหมี ก็มีร่องเลือดเหมือนกันแต่เป็นแบบ  เส้นเลือดสีน้ำตาลแดงวิ่งรอบเป็นวงเดือน จากปลายเขี้ยวเข้ามาด้านใน เป็นสิบๆ รอบ ซึ่งเรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัดเจน และเมื่อเรานำเขี้ยวมาตัดผ่าแบ่งครึ่ง ก็พบรูกลวงโปร่งเช่นเดียวเหมือนกับเขี้ยวเสือ แต่รูของเขี้ยวหมีจะกว้างกว่ารูของเขี้ยวเสือมาก บางเขี้ยวเจอรูกว้าง 70-80% ของหน้าเขี้ยวเลยทีเดียว

คชสีห์ อ.เฮง วัดเขาดิน แกะจากเขี้ยวเสือ (เขี้ยวซีก)

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เขี้ยวหมีแกะเสีอ หลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลา อาจารย์หลวงพ่อปาน คลองด่าน เนื้อเก่าฉ่ำจัด เป็นเทียนเลย เมื่อตัดเขี้ยวออกจะเห็นรูเขียวกว้างยาว เกือบเต็มรูเขี้ยว และไม่มีคลื่นรัศมี ชึ่งต่างจากเขี้ยวเสือชัดเจนเลยครับ

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เขี้ยวหมีเต็มเขี้ยว จะมีเส้นเลือดวิ่งรอบปลายเขี้ยวเป็นวงเดือน นับเป็น10ๆรอบเลยที่เดียวครับ

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

เขี้ยวหมูป่า มีลักษณะที่แตกต่างจาก เขี้ยวเสือ และเขี้ยวหมี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมาก เขี้ยวหมูป่านั้น มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีลักษณะค่อนข้างแบนเป็นเหลี่ยมโค้งยาว ปลายแหลม โค่นเขี้ยวเป็นรูกลวงลึกเข้าไปด้านในเกือบสุดปลายเขี้ยว เขี้ยวหมูป่าบางเขี้ยวนั้นยาวเอามากๆ จนเกือบจะเป็นครึ่งวงกลมเลยก็มี โดยทั่วไปเขี้ยวหมูป่าจะเป็นเขี้ยวกลวงเกือบทั้งนั้น จะหาเขี้ยวแบบตัน ๆ นั้นยากมาก และเมื่อตัดเขี้ยวแบ่งครึ่งออกจากกัน ก็จะเห็นรูของเขี้ยวหมูป่านั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม  ไม่เหมือนกับเขี้ยวเสือกับเขี้ยวหมี ที่มีรูลักษณะกลม หรือรูปวงรี

เขี้ยวหมูป่า เต็มเขี้ยวจะมีลักษณะยาวโค้งมนสวยงามได้สัดส่วน แต่เวลาตัดเขี้ยวออกมาแล้ว รูเขี้ยวจะมีลักษณะเป็น รูสามเหลี่ยมตามรูป เป็นโพรงตามเนื้อเขี้ยว แล้วไปตันตรงแถวๆปลายเขี้ยว ที่เล่ากันว่าาเขี้ยวหมูตันผู้เขียวสันนิษฐาน ว่าน่าจะเป็นปลายเขี้ยวช่วงที่ตันๆหรือเปล่า เพราะหมูป่าบางตัวก็ตัวใหญ่มีเขี้ยวที่ใหญ่มากเหมือนกันครับ

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก เขี้ยวหมูตัน

รู้จัก "เขี้ยวเสือ" เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูป่า ความเชื่อวัตถุมงคลแบบไหนดีนัก

สรุปได้ว่า เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี และเขี้ยวหมูป่านั้น มีลักษณะที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาแล้วก็สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน เมื่อท่านผู้อ่านมีโอกาสได้เครื่องรางของขลังประเภทเขี้ยวเหล่านี้ ก็ควรใช้ดุลพินิจ พิจารณา ข้อมูลของผู้เขียนอาจจะช่วยท่านได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ                                                                                                                             

เรื่อง : นุ  เพชรรัตน์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ