พระเครื่อง

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พระท่ากระดาน" พิมพ์แท้ดูไม่ยาก เนื้อตะกั่วที่เกิดสนิมแดงต้องมีลักษณะคล้ายวุ้น เกิดจากข้างในเนื้อพระลั่นออกมาด้านนอกผิวของพระจากการระอุของอากาศในเนื้อพระ ส่วนทองเดิมที่ติดมากับองค์พระนั้นจะต้องเป็นทองเก่ามีสีออกเหลืองซีด ๆ ไม่แวววาวและแนบสนิทกับเนื้อพระ

-"พระท่ากระดาน" ยอดขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

อายุการสร้าง "พระท่ากระดาน" เป็นพระกรุที่สร้างในสมัยอู่ทอง มีอายุการสร้างถึงประมาณ 600 กว่าปี ครั้งพระเจ้าศิริชัย เชียงแสนปกครองอาณาจักรอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างพระท่ากระดาน คือ ฤาษีตาไฟ โดยการอาราธนาของเจ้าเมืองท่ากระดาน เมื่อสร้างเสร็จแล้วนำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่าในสมัยนั้น

ผู้สร้างตามตำนานจากหลักฐานที่มีปรากฎขึ้นในลานเงิน ลานทอง ของการค้นพบพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤาษีทั้ง 11 ตน มีฤาษีอยู่ 3 ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในฤาษีทั้งปวง คือ ฤาษีพิลาลัย ฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว ในแผ่นจารึกกล่าวว่า ฤาษี 1 ในประธานพิธีการสร้างอยู่ในพันธุมบุรีคงได้แก่ พระฤาษีตาไฟ ท่านจาริกในย่านป่าเขาเขตกาญจนบุรี  มีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่าง ๆ เช่นที่ ถ้ำลั่นถม เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ ฤาษีผู้เรืองเวทย์นี้ปลุกเสกด้วยพระมนต์ พระคาถา และพระเวทย์ อานุภาพดุจกำแพงแก้วป้องกันภยันอันตรายได้ทั้งปวง

 

พุทธศิลป์ของพระท่ากระดาน เป็นศิลปอู่ทองบริสุทธิ์ ทุกพิมพ์ทรง จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ พระพักตร์ (ใบหน้า) จะไม่ออกคล้ายพระพุทธ แต่จะออกคล้าย ๆ กับพระฤาษี เหมือนกับพระผงสุพรรณ ที่มีลักษณะคล้ายกับพระฤาษีเช่นกัน ทำให้พุทธลักษณะของพระท่ากระดาน ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงยุคบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นพระที่มีพุทธปฏิมางดงามมาก โดยแสดงถึงความเคร่งขรึมที่แฝงไว้ด้วยอำนาจ บารมี แต่ก็มีแววยิ้มที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา

  พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุเก่า (กรุลั่นทม)เนื้อตะกั่วสนิมแดง ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี       

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

 

 

"พระท่ากระดาน" ได้มีการขุดพบจากกรุขึ้นครั้งแรกที่เป็นทางการก็ราวปี พ.ศ. 2460 ที่กรุวัดท่ากระดานกลาง ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี และมีการขุดพบกันอีกหลาย ๆ กรุในเวลาต่อมาภายใน จ.กาญจนบุรี ทั้งที่ขุดพบเป็นทางการและที่ไม่เป็นทางการ ส่วนที่ขุดพบเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ได้แก่

1. กรุวัดท่ากระดานกลาง อ.ศรีสวัสดิ์ ขุดพบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2460

 พิมพ์ใหญ่ กรุเก่า เนื้อตะกั่วสนิมแดง ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

 

2. กรุวัดท่ากระดานเหนือ (วัดบน) อ.ศรีสวัสดิ์ ขุดพบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2464

3. กรุวัดท่ากระดานใต้ (วัดล่าง) อ.ศรีสวัสดิ์ ขุดพบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2464  (ในปี พ.ศ. 2467 ขุดพบที่วัดท่ากระดานเหนือ และกรุวัดท่ากระดานใต้อีกครั้ง แต่จำนวนไม่มากนัก)

4. กรุถ้ำลั่นถม อ.ศรีสวัสดิ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2497 สันนิษฐานว่า กรุถ้ำลั่นถมนี้เป็นต้นกำเนิดในการจัดสร้างพระพิมพ์ท่ากระดาน เพราะว่าในบริเวณถ้ำลั่นถมได้พบสิ่งของหลายอย่าง ที่ใช้ในการสร้างพระพิมพ์ท่ากระดานเอาไว้ เช่น พบเตาที่หลอม ชิ้นส่วนตะกั่วเก่า ที่ตัดปีกเหลือจากแม่พิมพ์ และที่สำคัญที่สุด คือ พบแม่พิมพ์ที่สร้างพระท่ากระดาน พระเครื่องตระกูลท่ากระดานทุก ๆ พิมพ์ คงจะสร้างจากที่ถ้ำลั่นถมนี้แน่ และค่อยนำไปบรรจุในกรุต่าง ๆ คราวต่อไป

5. กรุวัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) อ.ศรีสวัสดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2506 พบจำนวนไม่มากนัก

6. กรุวัดหนองบัว อ.เมือง พบปี พ.ศ. 2497 พระทั่วไปจำนวนมาก และพบพระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่อยู่ด้วยร่วม 100 องค์ องค์พระจะปิดทองค่อนข้างมาก

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

7. กรุวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) พบพระพิมพ์ทั่วไปจำนวนมาก พบพระท่ากระดาน พิมพ์นิยม ประมาณ 29 องค์ ปิดทองทุกองค์

พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) เนื้อตะกั่วสนิมแดง  อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง            

ข้อแตกต่างของพระท่ากระดาน แต่ละกรุตามที่พบเห็น

1. บางกรุมีหลายพิมพ์ บางกรุมีพิมพ์เดียว

2. ขนาดขององค์พระมีความหนา บาง ไม่เท่ากัน (พระพิมพ์เดียวกัน)

3. บางกรุมีสนิมแดงขึ้นหนามาก บางกรุขึ้นเบาบางธรรมดา

4. บางกรุมีตะกอน สนิมไขขาว หรือ ขี้กรุติดหนา (กรุที่พบแถวชายน้ำ)

5. บางกรุองค์พระปิดทองมาแต่เดิม (เช่น กรุเทวสังฆาราม)

ทั้งหมดนี้คือ ข้อแตกต่างตามภาพรวมกว้าง ๆ ซึ่งยังมีข้อที่แตกต่างในปลีกย่อยอีกมากมายหลาย ๆ อย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ หรือสภาพกรุที่บรรจุพระนั้น ๆ เช่น พระอาจอยู่กรุที่มีอากาศเย็น อากาศร้อน อยู่ที่สูง อยู่ใต้ดิน หรืออยู่ใต้น้ำ เป็นต้น สภาพพระย่อมเปลี่ยนไปตามสภาพกรุนั้น ๆ ถึงแม้ว่ากายภาพขององค์พระ เนื้อพระ จะเป็นอย่างเดียวกันก็ตาม

 

พระท่ากระดาน พิมพ์อู่ทอง กรุเก่า (กรุวัดท่ากระดาน )เนื้อตะกั่วสนิมแดง ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี 

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

สิ่งที่พระท่ากระดานทุกองค์ต้องมี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่า พระท่ากระดานแล้วไม่ว่าจะเป็นกรุไหน พิมพ์ไหนก็แล้วแต่ จะต้องมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ก็คือ

1. พิมพ์ต้องถูกคือ ทุกองค์แม้จะเป็นพิมพ์ทรงใดก็ตาม จะต้องมีลักษณะเค้าหน้าอย่างเดียวกัน คือ แบบฤาษี ไม่ออกคล้ายพระพุทธเจ้า และกายภาพรวมขององค์พระต้องเป็นศิลปะแบบอู่ทอง

2. เนื้อต้องใช่ คือ เนื้อของพระท่ากระดาน จะต้องเป็นเนื้อตะกั่วอย่างเดียว ซึ่งเชื่อกันว่าตะกั่วที่นำมาสร้างพระนั้น เป็นตะกั่วที่ได้ทำการหลอมกันมานานเป็นพันปีแล้ว จึงมีการเรียกตะกั่วเก่าที่นำมาสร้างพระท่ากระดานนี้ว่า “ตะกั่วพันปี” ส่วนสนิมแดง และสนิมไขขาวนั้นจะเกิดขึ้นมากหรือเกิดขึ้นน้อย แล้วแต่กรุที่บรรจุพระเอาไว้ (แต่ต้องมีขึ้นทุกองค์)

3. ธรรมชาติต้องมี คือ ตะกั่วต้องได้อายุ เนื้อและสนิมจะต้องแห้งสนิท แกร่งในตัว สนิมแดงจะต้องเกิดจากเนื้อตะกั่วจริง ๆ มิใช่การใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วย คือ การเร่งให้สนิมเกิดเร็วขึ้น

 

 

 

การพิจารณาความแท้... สนิมของพระท่ากระดานปลอมนั้น ถ้าเราสังเกตให้ดี สนิมนั้นจะดูสดตา ไม่แห้ง ไม่ลั่นร้าว ไม่แกร่ง และตะกั่วจะนิ่มกว่าของแท้มาก ของปลอม การระเบิดของเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่จะระเบิดจากข้างนอกเข้าข้างใน ซึ่งเกิดจากการเร่งความร้อนจากภายนอกเข้าสู่องค์พระ ส่วนของเเท้นั้น การลั่นระเบิดหรือปริแยกของเนื้อพระนั้น จะเกิดจากข้างในเนื้อพระลั่นออกมาด้านนอกผิวของพระ ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากการระอุของอากาศในเนื้อพระ เมื่ออัดเก็บไว้เต็มที่ก็ระเบิดออกมา เนื้อตะกั่วที่เกิดสนิมแดงจัด ๆ จะมีลักษณะเเข็งใสคล้ายวุ้น เกาะเนื้อพระเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ดูด้านหรือดูนิ่ม ส่วนทองเดิมที่ติดมากับองค์พระนั้น จะต้องเป็นทองเก่า คือ จะมีลักษณะแห้งมาก สีออกเหลืองซีด ๆ ไม่แวววาว และแนบสนิทกับเนื้อพระ       ส่วนทองปลอมนั้น เท่าที่พบเห็น จะมีลักษณะสีจะออกส้มแกมแดง ดูสดและวาว ทองกับเนื้อพระถ้าสังเกตดูให้ดี จะดูรู้ว่าไม่เข้ากันเท่าที่ควร

พระท่ากระดาน พิมพ์เล็กกรุเก่า (กรุวัดท่ากระดาน)  

เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เนื้อพระต้องลั่นออกมาด้านนอก "พระท่ากระดาน" ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง          

พุทธคุณ..พระท่ากระดานนอกจากจะเป็นเพชรน้ำเอก พระเครื่องอันดับหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังเป็นหนึ่งในชุดไตรภาคียอดขุนพล และหนึ่งในชุดเบญจภาคี เนื้อชินยอดนิยม อันโด่งดังของประเทศไทย ถือว่าเป็นพระที่มีสนนราคาแพง พุทธคุณเปี่ยมล้นในทุก ๆ ด้าน สุดยอดยิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า มิเป็นสองรองใคร ดังคำกล่าวที่ว่า

                                         พระตะกั่ว             สนิมแดง             ดูแรงฤทธิ์

                                         แสนศักดิ์สิทธิ์         เหลือล้น           ชนกกล่าวขาน

                                         พระไหนไม่               เท่าพระ        ท่ากระดาน

                                          ของเมืองกาญจน์     เก่งกล้า            ยอดท้าทาย

 

เรื่อง : นุ เพชรรัตน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ