
ธุดงค์ธรรมชัยVS13ธุดงควัตร
ธุดงค์ธรรมชัยVS13ธุดงควัตร : สำราญ สมพงษ์รายงาน
มีปัญหาเรื่องเรียนทุกข์ปีสำหรับการเดินธุดงค์ธรรมชัยของพระวัดธรรมกายโดยเฉพาะเดินเข้าในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลส่งให้การจราจรติดขัดหลายชั่วโมง ส่งผลให้“นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต(พศ.) ต้องออกมาชี้แจงว่า ได้ให้ทาง พศ.เรียกหารือแล้วและจะต้องเข้าดูในเรื่องการประพฤติปฏิบัติของสำนักพระธรรมกายด้วย
และวันที่ 30 ม.ค.เป็นวันประชุมมหาเถรสมาคมพอดี พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ในฐานะประธานคณะเลขานุการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวภายหลังการประชุมมส.ว่า ตนได้หารือนอกรอบกับนายพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(ผอ.พศ.) หลังการประชุมมส.แล้ ทราบว่าทางวัดพระธรรมกายแจ้งว่า ได้ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวต่อประชาชนไปแล้ว จึงไม่สามารถที่จะงดการดำเนินการได้ ดังนั้น คณะสงฆ์จึงขอให้จัดการเดินธุดงค์ให้เร็วที่สุด และให้งดโปรยดอกไม้ เพื่อให้เสร็จภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจร
ขณะที่นายพนม บอกว่า จะประสานกับวัดพระธรรมกายได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม พศ.ทราบว่า การเดินธุดงค์จะสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2558นี้
ทางด้านพระพรหมเมธี(จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการและโฆษกมหาเถรสมาคม (มส.) กล่าวว่า การเดินธุดงค์มีมานานแล้วเป็นกิจของพระสงฆ์ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งในกรณีของธุดงค์ธรรมชัยนั้น เห็นว่าแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน หากมองในเป็นเรื่องที่ดี ก็เป็นการที่พระสงฆ์ถึง 1,130 รูป ได้เดินมาให้บุญถึงหน้าบ้านของประชาชน แต่หากมองอีกแง่หนึ่งก็เป็นการมองไปที่ผู้จัดงาน ซึ่งมีทั้งผู้ที่เลื่อมใสและไม่เห็นด้วย ขณะที่หากเป็นหน่วยงานอื่นๆ จัด ก็อาจจะไม่มีปัญหา หรือการร้องเรียนเช่นนี้ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ทาง มส. ยืนยันว่าได้รับฟังข้อมูลต่างๆ เพื่อดูแลพระพุทธศาสนา ไม่ให้เสียหาย
เพื่อความชัดเจนมาดูว่า ธุดงค์ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกมีอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับธุดงควัตร 13 ประการคือ 1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร 3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร 4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร 5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร 6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร 7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร 8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร 9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร 10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร 11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร 13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
เว็บไซต์ธรรมจักร(http://www.dhammajak.net/phrapa/13.html) ได้รวบรวมไว้ว่า การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง
อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร
ขณะที่ธุดงค์ธรรมชัยคือการที่พระวัดธรรมกายหุ่มดองถือกรดเดินไปแถวไปตามถนนโดยมีลูกศิษย์นำดอกมาโรยให้เหยียบนั้น จัดเข้าในธุดงควัตร 13 ประการนั้นข้อไหน วิญญูชนคงพอจะพิจารณาได้