
ยันต์หลังเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์
ยันต์หลังเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ หลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อพุ่ม หลวงพ่อคง หลวงปู่ศุข : ชั่วโมงเซียน อ.โสภณ
การจัดเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์นั้น เดิมทีประกอบด้วย ๑.เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. สร้างปี ๒๔๖๗ ๒.เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างปี ๒๔๖๙ ๓.เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท สร้างปี ๒๔๖๖ ๔.หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี สร้างปี ๒๔๖๕ และ ๕.เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม. สร้างปี ๒๔๗๗ ซึ่งปัจจุบันนี้เหรียญเหล่านี้มีค่านิยมหลักหลายๆ ล้าน
แต่ปัจจุบันชุดเบญจภาคีเหรียญ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปบ้าง คือ เหรียญหลวงพ่อกลั่น จากอันดับสอง เลื่อนขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่ง แล้วเหรียญหลวงปู่เอี่ยม ก็ลดลงมาอยู่อันดับสอง และเหรียญหลวงพ่อพุ่ม ซึ่งนับวันจะหาของไม่ค่อยมี จึงได้มีการเอาเหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ เหรียญพระครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง หรือเหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม เหรียญใดเหรียญหนึ่งเข้าไปแทน
แม้ว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์จะขึ้นชื่อว่ามีค่านิยมสูง แต่มีอยู่เหรียญหนึ่งที่สูงกว่า คือ หลวงปู่ไข่ อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน รุ่นแรกสร้าง ปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ ถือว่าเป็นเหรียญเนื้อทองแดงแพงสุดๆ ที่มีค่านิยมสูงถึง ราคา ๒๕ ล้านบาท เหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุคก่อนๆ ว่า “เหรียญหลวงปู่ไข่ เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่าเป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ”
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เซียนและนักเล่นพระต่างรู้ดีกว่า เหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ มีอะไรบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า "อักขระเลขยันต์ที่ปรากฏบนเหรียญนั้นมีอะไรบ้าง"
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร วัดหนัง พระภาวนาโกศลเถระ ถือเป็นเหรียญสุดยอดนิยมของพระเครื่องประเภทเหรียญ ในชุดเบญจภาคีเหรียญ และมีมูลค่าราคาสูงมาก
ด้านหน้า “พุท โธ” เป็นนามพระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้รู่ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ไกลจากกิเลศทั้งหลาย
ด้านหลัง ๑.ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ หรือ แม่ธาตุใหญ่ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” โดย ตัวยะเขียนไว้ตรงกลางครอบด้วยตัว นะ
๒.หัวใจพระตรัยปิฎก ที่ว่า “ มะ อะ อุ” ภายหลังมีการตีความ “ มะ อะ อุ” เป็นพระอัครสาวก ๓ องค์ คือ พระมหากัสสปะ พระอานนท์ และ พระอุบาลี ที่ชำระพระตรัยปิกฎกครั้งแรก
๓.หัวใจธาตุ ๔ ที่ ว่า “นะ มะ พะ ทะ” และ ๔.ชื่อหลวงเอี่ยมเขียนเป็นภาษาขอมว่า “พระภาวนาโกศลเถระ” ส่วนมากไม่ค่อยพบเห็น อย่างกรณีหวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ โดยเขียนชื่อของท่านเป็นภาษาขอมไว้ใต้รูปภาพว่า “หลวงพ่อพรหม ถาวโร”
ส่วนยันต์บน "เหรียญหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๘๔" อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ด้านหลังเป็น ยันต์น้ำเต้า ภายในเป็น ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ หรือ แม่ธาตุใหญ่ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ส่วนคาถา ๔ แถวล่างคาถาให้พรพระ โดยสามารถอ่านตามอักขะที่ปรากฏได้ ๒ แถวเท่านั้น คือ แถวแรกอ่านว่า “สัพ พะ พุท ธา นุ ภา เว นะ” และ แถวที่ ๓.สัพ พะ ปร มัส สัม ปัน โน” ส่วน ๒ แถวที่เหลือการแกะไม่มีความคมชัด อยากต่อการเดา เกรงว่าจะผิดเพี้ยน ทั้งนี้ หากนำคำแปล ของแถวแรกกับแถวที่สามมาตี ทั้ง ๔ แถวามเป็นคาถาภาวนาให้พร โดยอ้างถึงอนุภาพของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่ "เหรียญหลวงปู่ศุขนื้อทองคำ ปี ๒๔๖๖ ยันต์กลับ" ยันต์ที่เขียนรอบๆ เหรียญมี ๒ ชุด ด้านบนไม่ใช้คาถา แต่เป็นคำให้พรที่ว่า "อา ยุ วัน โณ สุข ขัง พลัง" โดยเขียนเป็นตัวขอม ส่วนด้านล่างเป็นคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ หรือแม่ธาตุให่มี่ว่า ที่ว่า "นะ โม พุ ธา ยะ" เช่นเดียวกับ ยันต์บน "พระหลวงปู่ศุขพิมพ์บัวเล็บช้างทองคำ ๒๔๖๐"
ยันต์รูป ๓ เหลี่ยม คือ หัวใจปิฎก เรียกว่า ตรีปิฎกธรรมชันธา หมายถึง ธรรมอันยิ่งใหญ่ ๓ ประการ หรือพระไตรปิฎกนั้นเอง ใช้ว่า "มะ อะ อุ"
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์สายอยุธยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนิยมใช้ ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ และ ยันต์เฑาะว์ ลงบนเหรียญ เช่น หลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลวงพ่อปานวัดบางนมโค หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม เป็น แสดงว่ายันต์ทั้ง ๒ ชุด มีพุทธคุณสูง
ขอบคุณภาพ จาก “WWW.SOONPRARATCHADA.COM" นอกจากนี้แล้วยังมีภาพรวมทั้งพระองค์ที่ขึ้นชื้อว่าสวยแชมป์ สามารถเข้าชมความงามของพุทธศิลป์ของพระเนื้อทองคำชุดอื่นๆ ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ วัดสร้างเพื่อนำปัจจัยไปซ่อมแซมอุโบสถที่เก่าและชำรุดมากในปี ๒๔๖๙ ด้านหน้าระบุไว้ว่า "หลวงพ่ออุปัชฌาย์ กลั่น วัดพระญาติ" "พ.ศ. ๒๔๖๗" ด้านหลังระบุ "ที่รฤกในการปฏิสังขรณ์อุโบสถ"
เหรียญหลวงพ่อกลั่นที่นิยม เขาเรียกกันว่า รุ่น "ขอเบ็ด" เนื่องจากปลายยันต์ด้านหลัง มีลักษณะคล้ายๆ "ขอเบ็ดตกปลา" พบในเหรียญรุ่นแรก ซึ่งสร้างในปี ๒๔๖๙ เพียงรุ่นเดียว เหรียญรุ่นนี้มีการทำปลอมมากที่สุด
ด้านหน้า ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ หรือ แม่ธาตุใหญ่ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ”
ด้านหลัง ๑.หัวใจยอดศีล ที่ว่า “พุท ธะ สัง มิ” ๒.ยันต์เฑาะว์โดยหนุมวน ๔ ชั้น ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะพบ ๓ ชั้นเท่านั้น เป็นการเขียนป้องคุ้มกันภัย
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์สายอยุธยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะใช้ ยันต์เฑาะว์ ลงบนเหรียญ เช่น หลวงปู่ดู่ วัดสะ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม
พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพันเมตตามหานิยม แต่ที่ดังสุดๆ ของท่านคือ ความเหนียวเป็นเลิศ
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก
หลวงพ่อพุ่ม จนฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางโคล่นอก ท่านเป็นชาวหนามแดง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เกิดเมื่อปี ๒๓๙๙ ตอนเด็กเรียนหนังสือที่วัดหนามแดง ต่อมาบวชเป็นสามเณรแล้วเข้ามาศึกษาที่วัดไทร ถนนตก กรุงเทพฯ จนอายุครบบวช ท่านจึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโปรดเกศฯ มีพระอาจารย์คง เจ้าอาวาสวัดบางโคล่นอก เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายา "จันทโชโต" ไปจำพรรษา ณ วัดบางโคล่นอก เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติ จนได้รับได่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางโคล่ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๔ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนรังษี และในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๖๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัฌชาย์ หลวงพ่อมรณภาพเดือน ธันวาคม ๒๔๘๙ รวมศิริอายุ ๘๙ ปี ๖๙ พรรษา
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญรุ่น แรก พ.ศ. ๒๔๗๗ ออกเนื่องในโอกาศทำบุญครบรอบอายุ ๗๗ ปี โดยพระครูวินัยธรสวัสดิ์ สำนักวัดมหาธาตุ ศิษย์เอกของท่านเป็นธุระในการออกแบบจัดสร้าง ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ค่อนข้างกลมแบบหูเชื่อม ขอบเหรียญด้านหน้าและหลังยกเป็นสองชั้น ชั้นนอกเป็นเส้นหนา ชั้นในเป็นเส้นเล็กเรียวเหมือนเส้นลวดทำให้เหรียญดูมีมิติคือดูลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง
ด้านหน้าไม่มีการเขียนข้อความใดๆ เลย แม้กระทั่งชื่อท่านเองก็ไม่ลงไว้ สมัยท่านไม่มีการลงเลย ด้านหลังเป็นยันต์ มีอักขระด้านบนเป็นตัว อุณาโลม (แปลว่าขนระหว่างคิ้ว) อักขระในยันต์น้ำเต้าทองคือตัว นะ ด้านล่างทำเป็นแถวเดียวเขียนอักขระ มะ อะ อุ การเขียนตัว นะ ลักษณะเป็นการเขียนตัว นะ ปิด ซึ่งเป็นการเน้นพุทธคุณด้านมหาอุด และแคล้วคลาด เล่าสืบทอดกันมา พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม