
หลวงปู่เขียน ปุญญกาโมกับสมญา'ญาท่านเขียนเหยียบลำน้ำโขง'
หลวงปู่เขียน ปุญญกาโมกับสมญา'ญาท่านเขียน เหยียบลำน้ำโขง' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู
พระครูสถิตปุญญานุวัฒน์ หรือ “หลวงปู่เขียน ปุญญกาโม” เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดดอนส้มป่อย ต.นาเลิง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันสิริอายุ ๙๓ ปี จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านโพนสิม ต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
ก่อนบวช ท่านเป็นวัยรุ่นคะนอง เดินข้ามความตายมานักต่อนัก ตอนเป็นนักเลงบางขุนพรหม ในขณะนั้นครูดีที่เป็นฆราวาสจอมขมังเวท 2 ท่าน สายพราหมณ์เก่าสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม สอนวิชาอาคมต่างๆ และสักยันต์ให้ คือ "ครูทองลือ" และ "ครูปลั่ง" ทำให้ท่านเก่งและกล้า เป็นนักเลงไม่กลัวใคร มีเรื่องกับขาใหญ่จนตำรวจขอร้อง
ต่อมาเริ่มเบื่อในชีวิตฆราวาส หันมาสนใจทางธรรม เข้าบวช มี พระครูสุจิตตานุวัตร วัดผักแว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบวิชาชั้นสูงจากพระอุปัชฌาย์วันดี วัดผักแว่น ศิษย์ในสาย ญาครูขี้หอม และสมเด็จลุน นครจำปาสัก พระมหาดำรงค์ วัดใต้ยางขี้นก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประทีปธรรมโสภณ วัดเหนือยางขี้นก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ปุญญกาโม"
หลังจากบวชแล้ว ท่านก็สนใจศึกษาเล่าเรียนทางธรรม ครั้งหนึ่งได้เข้าไปกราบเรียนวิชากับ ท่านเจ้าคุณนรรัตราชมานิจ ซึ่งท่านเจ้าคุณนรฯ ได้สอนเน้นกรรมฐานเพื่อเป็นพื้นฐานยกจิตให้สูง ให้พ้นโลกเหนือโลก จากนั้นได้กลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด จ.อุบลราชธานี แล้วไปเรียนวิชากับหมอธรรม ซึ่งท่านเป็นพระรูปเดียวที่สืบทอดวิชาสาย สมเด็จลุน นครจำปาสัก และญาท่านกรรมฐานพระครูธรรมบาล (เผย) มุ่งปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์มานานและออกบำเพ็ญเพียรในป่าเข้าไปในประเทศลาว เขมร พม่า จนได้สมณศักดิ์ "พระครูสถิตปุญญานุวัฒน์"
หลวงปู่เขียน เป็นพระที่สมถะเรียบง่าย ชอบแสวงหาความสงบวิเวก มีเจตนาแน่วแน่ แรงกล้า ตลอดเวลาท่านตั้งใจจักสร้างศาลาไว้ให้ญาติโยมปฏิบัติธรรม ด้วยการบอกบุญเชิญชวนลูกศิษย์ลูกหาและท่านผู้มีบุญมาร่วมสร้างบารมี การสร้างวิหารทาน เป็นทานวิเศษ ปัจจุบันหลวงปู่เขียนจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตำบลยางขี้นก (ป่าช้าบ้านโพนสิม) ต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่เขียนได้รับความนิยมทุกรุ่น ทั้งนี้ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เริ่มตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. เป็นต้นไป หลวงพ่อเขียนจะประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระขุนแผน ผงพรายกุมาร มนต์มหาจินดามณี พิธีบวงสรวงฯ พระภาวนาจารย์ ๙๙ รูป สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หลังเสร็จพิธี มีแจกวัตถุมงคล เป็นพระขุนแผน ผงพรายกุมาร หลังฝังกุมารทอง มนต์มหาจินดามณี (ไม่มีจำหน่าย) กับผู้ที่ไปร่วมงานทุกท่าน อาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์พุทธาคมหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จะประกอบพิธี เปิดฟ้า เปิดดิน เปิดบาดาล บวงสรวง พล.ต.ท.ม.ล.พันธ์ศักดิ์ เกษมสันต์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานในพิธี
ญาท่านเขียน เหยียบลำน้ำโขง
ต่อมาเริ่มเบื่อในชีวิตฆราวาส หันมาสนใจทางธรรม เข้าบวช มี พระครูสุจิตตานุวัตร วัดผักแว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบวิชาชั้นสูงจาก พระอุปัชฌาย์วันดี วัดผักแว่น ศิษย์ในสาย ญาครูขี้หอม และ สมเด็จลุน นครจำปาสัก พระมหาดำรงค์ วัดใต้ยางขี้นก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประทีปธรรมโสภณ วัดเหนือยางขี้นก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “ปุญญกาโม”
หลังจากบวชแล้ว ท่านก็สนใจศึกษาเล่าเรียนทางธรรม ครั้งหนึ่งได้เข้าไปกราบเรียนวิชากับ ท่านเจ้าคุณนรรัตราชมานิจ ซึ่งท่านเจ้าคุณนรฯ ได้สอนเน้นกรรมฐานเพื่อเป็นพื้นฐานยกจิตให้สูง ให้พ้นโลกเหนือโลก จากนั้นได้กลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด จ.อุบลราชธานี แล้วไปเรียนวิชากับหมอธรรม ซึ่งท่านเป็นรูปเดียวที่สืบทอดวิชาสาย สมเด็จลุน นครจำปาสัก และ ญาท่านกรรมฐานพระครูธรรมบาล (เผย) มุ่งปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์มานานและออกบำเพ็ญเพียรในป่าเข้าไปในประเทศลาว เขมร พม่า จนได้สมณศักดิ์ “พระครูสถิตปุญญานุวัฒน์”
จากนั้นท่านทิ้งสมณศักดิ์ตำแหน่งต่างๆ แล้วลาออกมาเป็นหลวงตาธรรมดา ปลูกเพิงพักในป่าช้า ตอนที่หลวงปู่เขียนเดินธุดงค์ มีคนเห็นเป็นร้อยว่า ญาท่านเดินข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งลาว ด้วยเท้าเปล่าได้ เมื่อถามหลวงปู่ท่านตอบว่า “พระน้าบ่ใช่เป็ดบ่ใช้ห่านจะได้ลอยน้ำ” ชาวบ้านให้สมญาท่านว่า “ญาท่านเขียน เหยียบลำน้ำโขง”
หลวงปู่เขียน เป็นที่พึ่งของชาวบ้าน โดยส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณอย่างมาก จุดไหนที่เป็นที่ดินผี ที่ป่าโปร่ง ที่นาอาถรรพณ์ ต้องมากราบอาราธนานิมนต์ให้ท่านไปเหยียบนาฝังรอยเท้าท่านไว้ ว่ากันว่าผีอาถรรพณ์วิญญาณร้ายหายสิ้น ข้าวกล้าเติบโตงอกงามผลผลิตมากกว่าเขา ขนาดโดนพายุฝนถล่มนาอื่นเสียหายพังหมด ผืนนาที่ท่านเหยียบรอดปลอดภัยได้ผลแปลงเดียวในตำบล
พระขุนแผน หลวงปู่เขียน
พระขุนแผน ผงพรายกุมาร มนต์มหาจินดามณี เนื้อผงผสมว่าน ผงและว่าน ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ ที่เก็บสะสมไว้มอบให้ และจากอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ มอบให้ เช่น ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ปี ๑๗ ที่หลวงปู่ทิมได้อธิษฐานจิตไว้ก่อนจะละสังขาร, ผงตะไบพระกริ่งชินบัญชร พลอยเสก ผงยาวาสนาจินดามณี ตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ผงกระเบื้องเก่า ๑๕๕ ปี จากปล้องไฉน องค์พระปฐมเจดีย์ มอบให้โดยพระธรรมปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ผงพุทโธ นิลกาล อธิษฐานธรรมโดยแม่ชีบุญเรือน มอบให้โดย พระเทพปัญญามุนี เจ้าอาวาสวัดอาวุธฯ บางพลัด กรุงเทพฯ ผงเจ้าแม่ตะเคียนทองพันปี เหล็กไหลน้ำ จากแม่น้ำโขง ผงใบลาน ว่านพญาดอกทอง พระธาตุสิวลี มอบให้โดย พระอาจารย์ซิง เจ้าอาวาสวัดไตรมิตร อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ผงตะเคียนตายพราย ผงมะยมตายพราย ผงมะขามตายพราย ผงต้นสักตายพราย ผงมะดันตายพราย ผงมะรุมตายพราย ผงขนุนตายพราย และผงโลกธาตุ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี และมวลสารต่างๆ
ปลุกเสกวาระที่ ๑ พร้อมพระกริ่งชินบัญชร รุ่น บรรจุหัวใจหลวงปู่ทิม ของมูลนิธิหลวงปู่ทิม ณ มณฑลพิธีวัดละหารไร่ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปลุกเสกวาระที่ ๒ ศาลขุนแผน วัดหนองประชุม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โดย อาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ภายในอุโบสถ วัดหนองประชุมฯ โดยพระเกจิอาจารย์ดัง พร้อมพิธีพระกริ่งโลกธาตุ เหรียญหลวงปู่ยิ้ม เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
ปลุกเสกวาระที่ ๓ ภายในพระอุโบสถวัดไตรมิตรฯ กรุงเทพฯ โดยพระพรหมมังคลาจารย์ ท่านเจ้าคุณธงชัยฯ พร้อมพระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศ ในพิธีพุทธาภิเษก ขันน้ำมนต์สุนทรีวาณี รูปหล่อพระสุนทรีวาณี ขนาดบูชา เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ (วันลอยกระทง)
พระขุนแผน ผงพรายกุมาร มนต์มหาจินดามณี ชุดนี้ มีหลายเนื้อ ทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ ฝังตะกรุดทองคำ ตะกรุดเงิน มีโค้ด มีหมายเลข กำกับทุกองค์ สร้างตามจำนวน เพื่อหาเงินรายได้ปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในสำนักสงฆ์วัดป่าช้าบ้านโพนสิมฯ และบริจาคให้การกุศลต่างๆ ฯลฯ ติดสอบถามได้ที่ ๐๘-๑๘๐๘-๗๑๙๘, ๐๘-๑๙๘๗-๐๗๕๑