พระเครื่อง

'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร'จุดประกายไทยปรองดอง

'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร'จุดประกายไทยปรองดอง

01 ก.ค. 2557

'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร'จุดประกายไทยปรองดอง พระพรหมบัณฑิตแนะสร้างเอกภาพอาเซียนบนความแตกต่าง : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร รายงาน

               "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" เป็นเพลงที่ "น้ำมนต์"ธีรนัยน์ ณ หนองคาย ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม จากเวทีคมชัดลึก อวอร์ด 2555  ร่วมกับ "ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพ" จำนวน 13 คนที่ประกอบด้วยและเยาวชนอาเซียน  10 ประเทศ และ 3 คือ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น และนิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)รุ่นที่ 1 และ 2 จุดเทียนสันติภาพขับร้องให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ นิสิต นักศึกษาทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต และนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอวังน้อยและบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยาและประชาชนทั่วไปกว่า 3,500 รูป/คนได้รับฟัง


               ถือเป็นการปิดฉากงาน "มหกรรมภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมอาเซียน" ลงอย่างยิ่งใหญ่ ที่สถาบันภาษาร่วมกับศูนย์อาเซียน และหลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ในฐานะผู้อำนวยการและหัวหน้าหลักสูตร จัดขึ้นโดยการสนับสนุนจาก มจร มูลนิธิมิราเคิลออฟ์ไลฟ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มูลนิธิเสาหลักแห่งแผ่นดินใต้พระบารมี  มีแนวคิดหลักว่า  “เอกภาพในความแตกต่าง” (Unity in Diversity) ที่หอประชุมใหญ่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2557ที่ผ่านมา


นิทรรศการตระการตาแฝงความรู้สื่อสันติภาพ


               ตลอดทั้งงานได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ไปร่วมงานเป็นอย่างมากแม้นว่าจะอยู่ห่างไกลชุมชนบ้างก็ตาม เพราะมีกิจกรรมที่หลากหลาย  ทั้งในมิติของนิทรรศการ “คาบสมุทรแห่งวัฒนธรรมแหลมทอง" (The Sea of Golden cultures) โดยนำ "เรือ" มาเป็นตัวเดินเรื่องเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญที่ว่า เรือคือเครื่องมือสำคัญในอดีตที่จะพากลุ่มคนต่างๆ ในอาเซียนเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน และอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง แต่สะท้อนวิถีชีวิตอาเซียน

               โครงการปริญญาโท สาขาสันติศึกษา นำเสนอนิทรรศการ เรื่อง "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" โดยแสดงให้เห็นถึงกลุ่มคนในโลกนี้และสังคมไทยที่อาศัยอยู่ร่วมกันในทิศทั้ง 4 จะผนึกกำลังในการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อเชื่อมสมานเป็นหนึ่งเดียวประดุจเกลียวคลื่น

               ขณะที่สถาบันภาษานำเสนอแง่มุมที่สำคัญที่ว่า "ภาษาเปลี่ยนชีวิตคุณได้" และภาษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำพากลุ่มคนต่างๆ ในอาเซียนเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีที่แตกต่าง ภาษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมสมานชาติพันธุ์ต่างๆ ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

               การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเที่ยวเชิงพุทธในอาเซียนเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาสามารถพาคนเที่ยวไปในแดนธรรมได้อย่างล้ำลึก

               หลักสูตรเสาหลักแผ่นดินใต้ร่มพระบารมีจะนำเสนอนิทรรศการเรื่อง "จากเมล็ดข่าวเมล็ดเดียวสู่ความกลมเกลียวของอาเซียน" เพื่อชี้ให้นำให้แต่ละคนได้เห็นความสำคัญของเม็ดข้าวที่พระพุทธสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้เศรษฐกิจฐานรากเกษตรกรรม จนก้าวไปสู่การนำรวงข้าวมาเป็นสัญลักษณ์ของประชาคมอาเซียน

                คณะพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย นำเสนอนิทรรศการที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละคณะเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและแลกเปลี่ยนต่อไป

               รวมถึงการประกวดสุนทร์พจน์ภาษาอังกฤษชิงถ้วยประทานจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนพรรณาวดี และทุนการศึกษาจากหลักสูตรเสาหลักเพื่อแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี   ผู้ที่ได้รับวางวัลชนะเลิศคือ  Ven.Suraj Maharja วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ, นิสิตปี 3 คณะพุทธศาสตร์ มจร ในหัวข้อ"ความรู้สู่ความเจริญตามพระบรมราโชวาท : จากเมล็ดข้าวเมล็ดเดียวสู่ความกลมเกลียวของประชาคมอาเซียน"

               แต่ที่น่าประทับใจยิ่งก็การทำหน้าที่ของ "ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพ" ตั้งแต่การแสดงวัฒนธรรมอาเซียนประกอบแสง สี และเสียง เรื่อง "ลมหายใจแห่งเอกภาพ" ร่วมกับทีมนักแสดง คิดบวกสิปป์ ผู้ผ่านเวทีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ และการตอนรับผู้เข้าร่วมงานร่วมกับพี่ๆนิสิตสันติศึกษา สะท้อนให้เห็นได้จากผู้ร่วมงานได้เข้าไปขอถ่ายภาพกับพวกเขาเป็นจำนวนมาก

 

พระพรหมบัณฑิตแนะสร้างเอกภาพอาเซียนบนความแตกต่าง


               พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมงานได้รับคำแนะนำจากพระธรรมสุธี  นายกสภามหาวิทยาลัย ในฐานะประธานเปิดงาน โดยได้ย้ำเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของภาษา และวัฒนธรรมว่า ภาษาถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำกลุ่มคนต่างๆ ในประชาคมอาเซียนให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจซึ่งกันและกันท่ามกลางความแตกต่างมากยิ่งขึ้น  การไม่เข้าใจภาษาจะทำให้ยากที่จะเข้าใจวิถีชีวิตอื่นๆ เพราะตัวแปรสำคัญในการสื่อความคือภาษา   

               ขณะที่พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร กรรมการมหาเถรสมาคม ได้กล่าวปาฐกถาความว่า ประชาคมอาเซียนมีความแตกต่างทั้งมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตที่ต่างๆ 

               "การพยายามที่จะเรียนรู้ความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และท่าทีต่อพลเมืองที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน ดังนั้นภาษาจึงมีส่วนสำคัญ มจร ต้องการที่จะเข้าไปส่งเสริมงานอาเซียนจึงได้สถาบันภาษาและศูนย์อาเซียนขึ้นมาเพื่อรองรับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาคมอาเซียนมีความเป็นเอกภาพบนความแตกต่างและประเทศไทยก็ควรจะยอมรับมตินี้ด้วย" อธิการบดี มจร  กล่าว

 

รักษาการปลัดยธ.แนะวิธีสร้างปรองดอง


               แต่การบ่มเพาะสันติภาพให้เกิดขึ้นภายในยังคงดำเนินต่อเนื่อง โดยวันที่ 28 มิ.ย.นิสิตสันติศึกษาทั้ง 2 รุ่นได้รับฟังการบรรยายจากนายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวข้อ "ความปรองดองในสังคมไทย: อะไร และอย่างไร"  ณ ห้อง 401 สำนักงานอธิการบดี มจร  เพื่อเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้ร่วมกันสร้างสุนทรียสนทนา

               ทั้งนี้นายชาญเชาว์แนะว่า จะต้องมองว่าความขัดแย้งและความปรองดองเป็นคู่ขนานที่อยู่ในเนื้อเดียวกันที่แยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น จะทำอย่างไรให้คนเรามีความรู้สึกว่าเราอยู่ร่วมกับความขัดแย้งอย่างมีความสุข ทั้งนี้ก็จะต้องมีองค์ประกอบเริ่มจาก 1.สร้างการเรียนรู้ 2.สร้างกระบวนการประชาธิปไตย 3.สร้างการมีส่วนร่วม 4.สร้างเครือข่ายเริ่มจากจุดเล็กๆคือพลังชุมชน 5.มีการประเมินอยู่บนหลักของเหตุผล

               ต่อจากนั้นเป็นการระดมความเห็นของนิสิตทั้ง 2 รุ่นตามหลักสันติวิธี โดยความสรุปเป็นข้อเสนอในการสร้างความปรองดองว่า จะต้องยึดพระพุทธศาสนาตามหลักอริยสัจ 4  คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ และก็มรรค โดยจะต้องรู้ว่า ความขัดแย้งคือทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ  แล้วพยายามละสาเหตุแห่งความขัดแย้งนั้นก็คือสมุทัย โดยใช้วิธีตามหลักมรรค 8 ประการเริ่มจากความเห็นที่ถูกต้องงดการว่าร้ายกัน ก็จะเกิดความปรองดองเชิงพุทธคือนิโรธอย่างแน่นอนและหยั่งยืน


ยุวชนอาเซียนวาดรูปดำนาถักทอสันติภาพ


               ด้านยุวชนสันติภาพอาเซียนนั้นพระมหาหรรษาเปิดเผยว่า ได้นำพาทำกิจกรรมภาคสนามช่วงบ่ายของวันที่ 27 มิ.ย. โดยเดินทางไปที่ศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อค้นหาสันติภาพด้วยการวาดภาพ (Art for Peace)  เริ่มจากล่องเรือและทานอาหารร่วมกันรอบเกาะ สนทนาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภาพภายนอกสะท้อนภาพภายใน นั่งวาดภาพแห่งความทรงจำ  เขียนสันติภาพภายในใจ ชื่อภาพว่า "ต้นไม้แห่งสันติภาพ" น้อมกิ่งก้านเพื่อสร้างความร่มเย็นแก่เจดีย์ ประดุจดังการใช้ทุกวินาทีแห่งลมหายใจเพื่อส่งต่อสันติสุขแก่เพื่อนร่วมโลก

\'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               พาเยี่ยมชิมไร่นาสวนผสมของนางเหลือง เกษตรกรพอเพียงชื่อดังของอำเภอวังน้อย  ที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพีย เธอย้ำเสมอว่า ปลูกเอาไว้กิน และแบ่งปันเหลือจาน หลังจากนั้นได้นำไปขายในท้องตลาด ได้เงินมาส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ทำให้ยุวชนอาเซียนสามารถเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ตัวเองประสบในประเทศของตัวเอง  บทเรียนเหล่านี้จะให้เกิดคุณูปการต่อการชีวิตของเด็กเหล่านี้ต่อไป

               วันที่ 28 มิ.ย.ได้พายุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพเดินทางไปที่บ้านท่าคอยนาง ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ มีผู้นำส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านผู้สูงอายุจะอยู่ประจำหมู่บ้านให้การต้อนรับ โดยวันที่ 29 มิ.ย. ทำพิธีเปิดกิจกรรมมอบอุปกรณ์กีฬาให้แก่เด็กนักเรียน  กราบผู้สูงอายุในหมู่บ้าน และสนทนาเพื่อรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่าง เพื่อน้อมนำไปสู่การปฏิบัติในวิถีชีวิตต่อไป \'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               พาเดินเยี่ยมชมหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง และโชคดีที่ได้มีโอกาสพบปะ "ปููสีทา" หมอแคนที่ดังมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เด็กๆ จึงได้สนุนสนานกับแคนที่ปู่สีทาได้ขับขาน จนเด็กๆ ไม่สามารถยืนนิ่งๆ ได้ จึงพากันฟ้อนรำด้วยความสนุนสนานด้วยอานุภาพของเสียงแคนแห่งสันติสุข

               เข้าสู่วันที่ 30 มิ.ย. ได้ทำกิจกรรมรับอรุณท่ามกลางสายฝนโปรยปราย ร่วมสร้างสันติภายในด้วยการทำวัตรเช้า สวดมนต์เพื่อสันติ ภาวนาเพื่อสันติ และแผ่เมตตาให้แก่มวลมนุษยชาติที่รักสุขเกลียดกลัวความทุกข์ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ภาษาใด ศาสนาใด ล้วนสามารถเข้าถึงความสุขภายในได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ความสุขภายในเป็นความสุขที่ไม่มีเงื่อนไข และไม่มีบุคคลใดสามารถแย่งชิงไปได้จากใจของเรา \'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               พร้อมกับชาวบ้านร่วมกันทำบุญตักบาตรในยามเช้า วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาติพันธุ์กูย เขมร และลาวในการเริ่มต้นทำสิ่งดีงามคือ การใส่ซิ่นไหม และผ้าโสล่งไหมทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล ยุวชนเหล่านี้จึงได้มีโอกาสใส่ชุดเหล่านี้โดยชาวบ้านได้มอบเป็นของขวัญ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ทรงคุณค่าที่ยุวชนเหล่านี้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมสวมใส่ และวัฒนธรรมการทำบุญอย่างมีความสุข \'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               หลังจากนั้นได้ร่วมกันถอนกล้าและดำนา เพื่อเข้าใจและเรียนรู้ถึงความสำคัญเกี่ยวกับเมล็ดข้าวเมล็ดเดียวนำไปสู่ความกลมเกลียวของอาเซียนจนกลายเป็นข้าว 10  รวงได้อย่างไร ยุวชนเหล่านี้เข้าใจถึงที่มาของข้าวที่อยู่ในหม้อทุกเช้าที่ตัวเองรับประทาน อีกทั้งเข้าใจวิถีอาเซียนที่เป็นวิถีแห่งเกษตรกรรมที่เป็นจุดแข็งของอาเซียนมาช้านาน เชื่อมั่นว่า เมื่อเห็นเมล็ดข้าวครั้งใด ยุวชนเหล่านี้จะกลับมาตระหนักรู้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลจากการที่แต่ละคนได้ลงพื้นที่ทำนาด้วยมือของตัวเอง

               ช่วงบ่ายได้ไปที่ที่อาคารหอประชุมของโรงเรียนบ้านท่าคอยนางผ่านการใช้งานมาหลายปี อีกทั้งน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว จึงทำให้สีลอกออกเป็นจำนวนมาก จากความจำเป็นดังกล่าว ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพจึงได้ร่วมกันตั้งใจทาสีโรงเรียนอย่างมีความสุข เพื่อคืนอาคารหอประชุมหลังใหม่ให้แก่หนูๆ เด็กนักเรียนได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

 

สู่ขวัญและแสดงวัฒนธรรมก่อนร่ำลา


               ตกตอนเย็นมีพิธีสู่ขวัญ เพื่อส่งขวัญ และรำจองไดก่อนผูกข้อต่อแขนให้ยุวชนอาเซียนมาดีมีชัยกลับไปมีสุข ก่อนที่จะเข้าสู่บทสรุปสุดท้ายคือการแสดงเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างศิลปะการแสดงประเพณีท้องถิ่นกับวัฒนธรรมการแสดงของยุวชนในประชาคมอาเซียน 10  ประเทศ บวก จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เอกภาพในความแตกต่างได้สะท้อนวัฒนธรรมการแสดงอย่างประสานสอดคล้อง

\'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               แม้ยุวชนในอาเซียนกับยุวชนในท้องถิ่นจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการเชื่อมโยงด้วยพลังของการแสดงออกอย่างมีเอกภาาพ ท่ามกลางรอยยิ้ม และความสันติสุขอันเกิดจากความรักในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่แต่ละฝ่ายเฝ้าถักทอและมอบให้แก่กันและกันด้วยหัวใจความเป้นมนุษย์


สวดมนต์เพื่อสันติภาพบริเวณผามออีแดงใกล้พระวิหาร

               รุ่งเช้าของวันที่ 1 ก.ค.ได้พายุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพเดินทางไปที่ผามออีแดงใกล้ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งสถานที่และดินแดนแห่งนี้ เคยเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้งและสงคราม จนนำไปสู่ความสูญเสียทรัพย์สิน และชีวิตของประเทศทั้งสองที่เป็นญาติ เป็นพี่เป็นน้องของกันและกัน ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพล้วนเข้าใจอย่างแจ่มชัด และตระหนักรู้ประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดของประเทศทั้งสองเป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อสันติภาพ ณ ดินแดนอันงดงามแห่งนี้ โดยมีพี่ๆ ตำรวจ ตชด. นำโดยหมวดวีรชัยให้การต้อนรับ และดูแลตลอดการศึกษาดูงาน

\'ยุวชนเออีซี-สันติศึกษามจร\'จุดประกายไทยปรองดอง

               ยุวชนจากประเทศกัมพูชาทั้งสอง คือ "ปัญญา กับวุฑฒา" ได้ถามไถ่ในประเด็กนี้อย่างน่าสนใจ เพราะทั้งสองแม้จะทราบดีถึงข้อขัดแย้ง แต่นี้เป็นครั้งแรกที่เด็กทั้งสองได้ข้ามฝั่งมาเยือนอีกฝากหนึ่งของประเทศกัมพูชา ทั้งสองพูดตรงกันว่า เมื่อมองจากฝากของกัมพูชาทำให้ไม่เข้าใจทั้งความรู้สึก และดินแดนของประเทศไทย และชาวไทยอย่างชัดแจ้้ง แต่เมื่อมาอยู่ฝากของคนไทยและประเทศไทย ทำให้เข้าใจความรู้สึกของคนไทยมากยิ่งขึ้น เชื่อมั่นว่า จากการพูดคุยกับพี่ๆ ตชด. จะทำให้ยุวชนทั้งสองของกัมพูชา และประเทศอาเซียนอื่นๆ รวมถึงจีน เกาหลี และญี่ปุ่นมีโลกทัศน์ต่อความขัดแย้งในดินแดนนี้อย่างรอบด้าน และเป็นไปในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น

               ก่อนเดินทางไปดูประสาทหินพนมรุ้ง เด็กๆ ยุวชนอาเซียนได้ร่วมกันสวดมนต์เพื่อสันติภาพ อีกทั้งแผ่เมตตาให้พี่น้องของทั้งสองประเทศสามารถหาทางออกกของความขัดแย้งโดยใช้สันติวิธีตามมิติของศาลโลก และตามกรอบของกฎบัตรอาเซียนที่เน้นให้ใช้สันติวิธีเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้งและความรุนแรงในประชาคมอาเซัยนต่อไป เพื่อให้ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนสันติสุขของกลุ่มสองประเทศ เพื่อต้อนรับการเข้าสู้ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ต่อไป

               "ทั้งนี้ยุวชนอาเซียนจะทำกิจกรรมในพื้นที่จนถึงวันที่ 3 ก.ค.และจะเดินทางกลับประเทศของตนในวันที่ 5  ก.ค."หัวหน้าหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษาระบุ

               การบ่มเพาะสันติภาพภายในมีเป้าหมายสร้างเอกภาพบนความแตกต่างของนิสิตสันติศึกษา"มจร"และยุวชนสันติภาพอาเซียนจากกิจกรรมต่างๆดังกล่าว คงจะเป็นจุดประกายในการารสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทยและอาเซียนได้  หรือต้อง "เอหิปัสสิโก" เชิญเข้ามาพิสูจน์ในหลักสูตรสันติศึกษา"มจร"รุ่นต่อไป