
อ.ชาญวิทย์ร่วมถก'ภารตศึกษา:ภาคกามสูตร'
อ.ชาญวิทย์ร่วมถก'ภารตศึกษา:ภาคกามสูตร : สำราญ สมพงษ์รายงาน
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมามูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดการเสวนา “ภารตศึกษา : ภาคกามสูตร” ขึ้นที่ห้อง 301 ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) ดร. มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ ดำเนินการ
ขณะเดียวกันเฟซบุ๊กนาม"ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat" ของ ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ ได้โพสต์ข้อความว่า
กามสูตร
"กามสูตร" (Kama Sutra) คือ ปกรณัมโบราณของอินเดีย เป็นเรื่องของเทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) ความเป็นมาแต่เดิมนั้น ในสมัยพระเวท กามเทพเป็นเทพที่ได้ทำให้ความปรารถนาแห่งจักรวาล หรือแรงกระตุ้นแห่งการสร้างสรรค์กลายเป็นบุคคลาธิษฐานขึ้นมา และได้รับการเรียกขานว่า"ปฐมเหตุแห่งการกำเนิดของความวุ่นวายสับสนในยุคเริ่มแรก" ซึ่งได้ทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการสร้างสรรค์ภายหลังต่อมาทั้งหมด
ในยุคต่อมา กามเทพได้รับการวาดขึ้นในฐานะที่เป็นบุรุษรูปงาม ที่อยู่ร่วมกับเทพธิดาที่เต็มไปด้วยความงดงามหลายองค์ พระองค์เป็นผู้แผงศรที่ทำขึ้นจากเกษรดอกไม้ เพื่อดลให้เกิดความรักขึ้น คันศรของพระองค์นั้นทำด้วยลำอ้อย ส่วนสายของคันศรเรียงร้อยขึ้นมาจากตัวผึ้ง
ครั้งหนึ่งพระองค์(กามเทพ)ทรงถูกควบคุมโดยเทพเจ้าองค์หนึ่ง เพื่อให้ไปกระตุ้นกำหนัดขององค์พระศิวะที่มีต่อพระนางปารวาตี พระองค์ได้ไปรบกวนการทำสมาธิของเทพเจ้าอันยิ่งใหญ่บนยอดบรรพต. การกระทำครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดการพิโรธขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ องค์พระศิวะจึงได้เผาพระองค์(กามเทพ)จนกลายเป็นจุลด้วยพระเพลิงแห่งดวงพระเนตรที่สาม. ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงกลายเป็นอนัตตา แต่ในบางเรื่องกล่าวว่า องค์พระศิวะ ในไม่ช้า ได้ทรงประทานอภัยและฟื้นคืนชีวิตให้กับองค์กามเทพ ภายหลังจากการขอร้องของพระมเหสีของพระองค์, คือพระนางราตี
สำหรับศัพท์คำว่า กาม ในภาษาสันสกฤต ยังหมายถึงการดำเนินชีวิตอันเหมาะสมของผู้ชาย ในบทบาทของเขาในฐานะที่เป็นผู้ครองเรือนหรือพ่อบ้าน ซึ่งเกี่ยวพันกับความพึงพอใจและความรัก
[หมายเหตุ : วิถีการดำเนินชีวิตของฮินดูแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ พรหมจรรย์(วัยอันบริสุทธิ์) คฤหัสถ์(วัยครองเรือน-หนุ่มสาว / เป็นวัยที่มีความข้องเกี่ยวกับกาม) วนปรัส(วัยปลดเกษียณหรือวางมือจากการงานอาชีพ ออกไปอยู่ป่า) สันยาสี(การแสวงหาความสงบ)]
ส่วนคำว่า กามสูตร เป็นชื่อของคัมภีร์คลาสสิคเล่มหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องกามวิสัยต่างๆ และรูปแบบอื่นๆเกี่ยวกับความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ของมนุษย์
เชื่อกันว่า กามสูตรเป็นงานของปราชญ์ วาสยะยานะ ในสมัยที่พุทธหายไปจากอินเดีย
----
กามสูตรคืออะไร มาจากไหน และเกี่ยวข้องอย่างไรกับศาสนาพุทธในอินเดีย?
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่14 ในอินเดียสมัยนั้นลัทธิตันตระกำลังเฟื่องฟู ไม่ว่าศาสนาฮินดู หรือ พุทธก็ได้นำเองแนวคิดของตันตระเข้ามาผสมผสานด้วย หนึ่งในหลักปฏิบัตินั้นก็คือการเสพเมถุนอันจะนำไปสู่ภาวะแห่งการบรรลุธรรมสูงสุด ทำให้เกิดพุทธสายตันตระยานขึ้น ได้เดินทางไปยังหมู่วิหารฮินดูที่คาจูราโฮ ซึ่งถือเป็นหมู่วิหารที่มีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย ที่พิเศษก็คือภาพแกะสลักชายหญิงในอิริยาบถต่างๆของการเสพสังวาส ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก งานศิลปะแกะสลักเหล่านี้ทำให้เราได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นถึงแนวความคิดแบบตันตระที่แฝงอยู่ในศาสนาต่างๆในสมัยนั้นอย่างเข้มข้น ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ หรือเทพเจ้า ก็ไม่พ้นการเสพสังวาสทั้งสิ้น
ขณะเดียวกันที่ หมู่อารามสงฆ์ที่วงกลมรัตนคีรี ในรัฐโอริสสา เราได้เห็นความเป็นไปของพุทธตันตระยานที่เกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายก่อนที่พุทธจะเสื่อมสลายไปจากอินเดีย หลักฐานที่พบบอกได้ว่ารัตนคีรี ไม่ได้ถูกทำลายโดยสงคราม และยังเคยทำหน้าที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์เช่นกัน พุทธสถานในวงกลมรัตนคีรี อาจเป็นภาพสุดท้ายที่จะทำให้เราได้เห็นศาสนาพุทธในอินเดีย ก่อนที่พระสงฆ์จำนวนมากจะโยกย้ายไปสู่ดินแดนตอนเหนือ เช่นเนปาล และธิเบตต่อไป
การเสื่อมสลายไปของศาสนาพุทธในอินเดีย ทำให้เราต้องหันมามองว่าทำไมศาสนาอื่นอย่างเชน และฮินดูจึงยังยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่ง เหตุการณ์ในยุคนั้นเป็นอย่างไร เราได้เดินทางไปยังเมืองชัยปุระ ดินแดนแห่งการต่อสู้ของเจ้าราชบุตรผู้มีสายเลือดฮินดูอย่างเข้มข้น ความยิ่งใหญ่ของพระราชวังชัยปุระ และอาณาจักรสุลต่านเดลี คือภาพรวมสุดท้ายของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอินเดีย ก่อนที่พุทธจะไปงอกงามในดินแดนอื่น
อ้างอิง http://www.panoramaworldwide.com/panoramaspecails2.php
เรื่องย่อรายการ พาโนราม่า สเปเชียล ชุด "ตามรอยพระพุทธเจ้า"
กามสูตร (สันสกฤต: कामसूत्र, กามสูตฺร) เป็นคัมภีร์อินเดียสมัยโบราณ ว่าด้วยเพศศึกษา หรือพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นผลงานมาตรฐานว่าด้วยความรัก ในวรรณคดีสันสกฤต เขียนโดยวาตสยายน (วาต-สยา-ยะ-นะ) โดยมีชื่อเต็มว่า "วาตฺสฺยายน กาม สูตฺร" (คัมภีร์ว่าด้วยความรักของวาตสยายน) นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้านสังคมวิทยา และแพทยศาสตร์ ด้วย
เชื่อกันว่า วาตสยายน ผู้เขียนคัมภีร์เล่มนี้ มีชีวิตอยู่ในราว คริสต์ศตวรรษ ที่ 1 - 6 อาจจะอยู่ในสมัยคุปตะ ของอินเดีย แต่ไม่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัด
คัมภีร์กามสูตรประกอบด้วยโศลก 1,250 บท แบ่งเป็น 7 อธิกรณ์ (ภาค), 14 ปกรณ์ (ตอน) และ 36 อธยายะ (บท) ดังนี้
- สาธารณะ (साधारण Sadharna) (5 บท) ว่าด้วยความรัก การจำแนกประเภทของสตรี
- สัมปรโยคิกะ (सांप्रयोगिक Samparayogika) (10 บท) ว่าด้วยการจูบ การเล้าโลม การแสดงท่าร่วมรัก
- กันยาสัมปรยุกตกะ (कन्यासंप्रयुक्तक Kanya Samprayuktaka) (5 บท) ว่าด้วยการเลือกหาภรรยา การเกี้ยวพาราสี และการแต่งงาน
- ภารยาธิการิกะ (भार्याधिकारिक Bharyadhikarika) (2 บท) ว่าด้วยการประพฤติตัวอย่างเหมาะสมของภรรยา
- ปารทาริก (पारदारिक Paradika) (6 บท) ว่าด้วยการแอบมีชู้กับภรรยาคนอื่น หลักศีลธรรม
-ไวศิกะ (वैशिक Vaishika) (6 บท) ว่าด้วยหญิงคณิกา โสเภณี
- เอาปนิษทิกะ (औपनिषदिक Aupaniṣadika) (2 บท) ว่าด้วยการสร้างเสน่ห์ให้ตนเอง
กามสูตรกล่าวถึงท่าทางการร่วมเพศ 64 ท่า โดยเป็นการรวมวิธีร่วมรัก 8 วิธี และท่าเฉพาะของแต่ละวิธี 8 ท่า รวมทั้งหมด 64 ท่า ในคัมภีร์นี้เรียกว่า ศิลปะทั้ง 64 วาตสยายนเชื่อว่าเรื่องเพศนั้นไม่ใช่สิ่งผิด แต่การกระทำที่ผิดศีลธรรมเท่านั้นที่เป็นบาป
คัมภีร์กามสูตร เป็นคำสอนสำหรับหญิงชายที่ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาอย่างครบถ้วน และละเอียด อย่างน่าพิศวง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงศีลธรรมและการปฏิบัติทางเพศในอินเดียสมัยนั้นด้วย
คัมภีร์เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษ ที่เซอร์ ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน เมื่อ ค.ศ. 1883 http://www.sacred-texts.com/sex/kama/