
สุดยอดแห่งเหรียญดังเมืองนนท์'หลวงพ่อช่วง'
สุดยอดแห่งเหรียญดังเมืองนนท์'หลวงพ่อช่วง'วัดบางแพรกใต้ : คล้อยหวายเก้าเส้น
พระครูนนทวุฒาจารย์(ช่วงจันทโชโต)วัดบางแพรกใต้เกิดเมื่อวันที่๑๒พฤศจิกายน๒๔๐๔ที่บ้านในคลองบางบัวทองต.ท่าอิฐอ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรีโยมบิดาชื่อ"สิงโต"โยมมารดาชื่อ"เฟี้ยม"นามสกุล"เพ็งแจ่ม"
เมื่ออายุ๙ขวบบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดขวิด(วัดแสงสิริธรรม)ซึ่งอยู่ในละแวกบ้านต่อมาเมื่ออายุ๑๒ปีได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเขมาภิรตารามโดยมีพระครูเขมาภิมุขธรรมเป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นอายุ๑๙ปีได้ลาสิกขาออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ
ต่อมาท่านได้อุปสมบทที่วัดบางแพรกใต้จ.นนทบุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดาเมื่อวันที่๙มิถุนายน๒๔๒๔โดยมีพระอธิการทับวัดนครอินทร์เป็นพระอุปัชฌาย์พระอธิการศรีวัดบางแพรกใต้เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์เสือวัดนครอินทร์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า"จันทโชโต"
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางแพรกใต้โดยศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่านทั้ง๓รูปรวมทั้งด้านพุทธาคมต่างๆซึ่งท่านทั้ง๓รูปมีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น
นอกจากนี้ท่านยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงเรื่องวิชาโสฬสมงคลและไตรสรณคมเรียนวิชาทำผ้าประเจียดและธงแดงจากพระธรรมมานุสรี(สว่าง)วัดเทียนถวายเรียนวิชาทำผงวิเศษ๕ประการจากพระครูนิโรธมุนีวัดตำหนักเหนือและเรียนวิชาทางคงกระพันชาตรีกับหลวงพ่อสุ่นวัดศาลากุน
ต่อมาพ.ศ.๒๔๓๕พระอาจารย์ศรีเจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้มรณภาพลง ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อพ.ศ.๒๔๕๐หลังจากนั้น๓ปีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสวนใหญ่
หลวงปู่ช่วงเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลจารวัตรงดงามเคร่งครัดในระเบียบวินัย และมีเมตตาธรรมสูงจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมายท่านได้สร้างถาวรวัตถุต่างออาทิอุโบสถศาลาการเปรียญหอสวดมนต์กุฏิหอระฆังฯลฯทั้งยังได้เอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆตลอดมาจนทำให้วัดบางแพรกใต้คืนสภาพจากความเสื่อมโทรมสู่ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับดังที่เห็นในอยู่ทุกวันนี้หลวงปู่เป็นพระอุปัชฌายะบวชคนมาตั้งแต่บิดาจนถึงคนรุ่นลูกหลานเหลนนับอยู่ในเกณฑ์ยาวถึง๓-๔ชั้นแม้ในยามที่ชราภาพท่านก็สงเคราะห์อนุเคราะห์ทุกผู้ทุกคนที่มาขอความช่วยเหลือจากท่านตลอดมา
ในเทศกาลออกพรรษาจึงมีลูกศิษย์ของท่านมาให้ท่านช่วยลงกระหม่อมจำนวนมากโดยท่านจะใช้ดินสอพองที่ทำไว้มาลงให้
เรื่องวัตถุมงคลก็มีผ้าประเจียดเสื้อยันต์ตะกรุดพิศมรผู้ใดต้องการจะต้องนำวัตถุดิบมาขอให้ท่านทำให้ปัจจุบันหาดูได้ยากมาก
ท่านเคยสร้างพระเครื่องเนื้อดินสอพองผสมผงวิเศษและใบแคอัดพิมพ์เมื่อคราวสงครามเอเชียบูรพาปัจจุบันหาชมยากเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี๒๔๘๘ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเป็นรุ่นแรกเนื่องในโอกาสทำบุญฉลองอายุครบ๘๕ปีประกอบด้วยเหรียญเนื้อเงิน,เนื้อทองแดงและเนื้อฝาบาตรซึ่งทุกวันนี้เป็นเหรียญยอดนิยมที่มีผู้แสวงหากันมากจัดเป็นสุดยอดเหรียญดังเหรียญหนึ่งของเมืองนนท์ที่มีการเช่าหากันที่หลักแสนต้นถึงหลังแสนปลายเป็นเหรียญหายากและมีเหรียญปลอมมากมายเพราะมีกิตติศัพท์โด่งดังด้านแคล้วคลาดมหาอุดเป็นยอด
พ.ศ.๒๔๙๐ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น"พระครูนนทวุฒาจารย์"ต่อมาเมื่อปี๒๔๙๖วัดลานนาบุญได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ช่วงออกเป็นที่ระลึกในการจำลองพระคันธาราช
พ.ศ.๒๔๙๗วัดบางแพรกเหนือได้มีการยกเครื่องบนก่อสร้างอุโบสถในโอกาสนี้คณะกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงปู่ช่วงเพื่อสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่งเป็นรูปอาร์มเหมือนเหรียญรุ่นแรกแต่ย่อขนาดลง
เหรียญรุ่นสุดท้ายเป็นแบบรูปสามเหลี่ยมสองหน้าด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธโสธรด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ช่วงสร้างเมื่อปี๒๔๙๗แต่ทว่ายังไม่ได้นำออกมาแจกจนเมื่อท่านมรณภาพลงในปีต่อมาทางวัดจึงได้นำมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน
หลวงปู่ช่วงมรณภาพเมื่อปี๒๔๙๘สิริอายุ๙๔ปีพรรษา๗๔
(ข้อมูลจากหนังสือ"นครนนท์ชวนท่องเที่ยวเล่ม๒: ยอดพระคณาจารย์นนนทบุรี"จัดทำโดยเทศบาลนครนนทบุรี)