
ธุดงควัตรกับพระอาจารย์อุเทนวัดท่าไม้
ธุดงควัตรสร้างบารมีกับ...พระอาจารย์อุเทน สิริสาโร วัดท่าไม้ : เรื่องและภาพ โดยไตรเทพ ไกรงู
"เดินธุดงค์ตามรอยบุญพระอาจารย์ จากหน้าอำเภอสวนผึ้งสู่ธรรมสถานวิโมกสิวาลัย" เป็นโครงการที่พระอาจารย์อุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาวัดท่าไม้ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และเจ้าสำนักธรรมสถานวิโมกสิวาลัย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จัดขึ้นทุกๆ ๓ เดือน ครั้งละ ๓ โดยครั้งล่าสุดได้จัดตั้งแต่วันที่ ๑๑-๑๓ สิงหาคม โดยในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ได้มีการเดินเป็นระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร
การเดินธุดงค์ครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ ๗.๐๐ น. นำโดยพระครูสมุห์ อุเทน พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ เกือบ ๒,๐๐๐ คน ร่วมกันเดินโดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ไปยังธรรมสถานวิโมกสิวาลัย ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติธรรมเนื้อที่กว่า ๗๐ ไร่ ใช้เวลาการเดินธุดงค์รวม ๔ ชั่วโมง ในช่วงบ่ายมีกิจกรรมปฏิบัติธรรม เดินจงกลม และแผ่ศีลภาวนา โดยผู้ร่วมเดินจะเน้นชุดสีกะและชุดขาว
ตลอดเส้นทางผู้เดินไม่ต้องมีอะไรต้องให้พะวง มีน้ำบริการจากศรัทธาของบริษัทบุญรอด จำกัด มาบริการตลอดทาง เมื่อไปถึงธรรมสถานวิโมกสิวาลัยก็ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหารการกิน เพราะมีศรัทธาของลูกศิษย์ไปตั้งโรงทานตลอดเวลาของการปฏิบัติธรรม รวมทั้งตำรวจ หมอ และพยาบาลก็จะอยู่ดูแลตลอด เรียกว่า “ไม่ต้องห่วงเรื่องทางโลกให้มุ่งเน้นปฏิบัติธรรมสร้างบารมีอย่าเดียวเท่านั้น”
พระอาจารย์อุเทน บอกถึงจุดประสงค์การเดินในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการฉลองครบรอบพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ รวมถึงเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งจะจัดในทุกๆ ๓ เดือน โดยครั้งแรกมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๕๐๐ คน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
จำนวนคณะญาติธรรมที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการบอกแบบปากต่อปาก และแรงศรัทธา ความแตกต่างอยู่ที่ ไม่ผู้นำ ไม่มีการสวดมนต์ ไม่มีผู้ชี้ทางให้การเดินธุดงค์ไม่จำเป็นต้องมาเดินกันฉัน ไม่จำเป็นต้องเดินจาก อำเภอสวนผึ้งไปถึงธรรมสถานวิโมกสิวาลัย ใครที่เดินธุดงค์ด้วยตัวเองก็มาปาวรณาตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงปู่รุ่งจากนั้นก็ไปเริ่มต้นเดินที่ไหนก็ได้ จากที่บ้านไปที่ทำงาน หรือจากที่ทำงานกลับบ้าน จะเป็นในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดก็ได้
"การมาธุดงค์ในครั้งนี้ทำให้ค้นพบพลังแห่งความศรัทธา ความตั่งมั่น ตั่งใจ ความพยายาม ความอดทน ความอุตสาหะ ความเพียร ความมานะ บากบั่น ซึ่งมันทำให้เราประสบผลสำเร็จดั่งที่เราตั่งใจ ทุกสิ่งในโลกล้วนได้มาจากความพยายาม อุตสาหะ อดทน และการละทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นทำให้าได้เข้าถึงพระธรรม ได้เข้าใจหลักธรรมคำสอนในพระศาสนา" พระอาจารย์อุเทนกล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า
ธรรมสถานวิโมกสิวาลัยใช้เวลาสร้างประมาณ ๓ ปี โดยใช้เงินจากคณะศรัทธาของศิษย์ไปกว่า ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งหลายคนมักจะตั้งคำถามในเชิงทางโลกว่า “มันคุมค่ากับการลงทุนหรือไม่” ฉันขอตอบว่า “ธรรมสถานวิโมกสิวาลัย สร้างจากแรงศรัทธาปัจจัยทำบุญของคณะศิษย์เพื่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม” ฉันยึดหลักในการก่อสร้างว่า “การสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาต้องสร้างพุทธศาสนิกชนควบคู่กันไปด้วย เพราะพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองได้นั้นต้องอยู่ที่พุทธศาสนิกชนเป็นอันดับแรก”
ปัจจุบันธรรมสถานวิโมกสิวาลัยแห่งนี้รองรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมเดือนละ ๒,๕๐๐ คน นอกจากนี้แล้วธรรมสถานวิโมกสิวาลัย มีโครงการฝึกอบรมกรรมฐานให้นักเรียนในอำเภอสวนผึ้งทั้งหมด โดยเป็นการให้ฟรีทั้งหมด ส่วนปัจจัยที่นำไปสนับสนุนนั้นได้จากมูลนิธิวัดท่าไม้ และได้จากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าแต่ละรายการ
ส่วนจำนวนคนที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นนั้น พระอาจารย์อุเทนบอกว่า มีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เริ่มจากสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก สงบ ไปแล้วละพะวงเรื่องทางโลกได้ ๑๐๐% เมื่อได้เข้ามาปฏิบัติแล้วชีวิตก็ดีขึ้น ต่างคนต่างพาลูก พาสามี พาญาติพี่น้อง รวมทั้งพาเพื่อนมาปฏิบัติ จากสภาพสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และความขัดแย้งของผู้คน ทำให้ต่างแสวงหาความสงบทางธรรมะมากขึ้น ซึ่งอยากให้ทุกคนยึดหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ที่จะช่วยให้พบกับความสงบ และมีสติในการแก้ปัญหาต่างๆ พร้อมกับยึดหลักหิริ โอตัปปะ คือ การละอายและเกรงกลัวต่อบาป
อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนไม่น้อยมักมีข้ออ้างว่า "งานยุ่ง ธุรกิจรัดตัวจึงทำให้ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม" ทั้งนี้พระอาจารย์อุเทนแนนะนำว่า "การเข้าวัดปฏิบัติธรรมแล้ว จะเอาเวลาที่ไหนไปหางานหาเงินเลี้ยงชีวิต ฉันอยากบอกว่า เราสามารถเข้าวัด สามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกวันโดยไม่ต้องหยุดงาน ที่วัดท่าไม้มีนโยบายทีว่า ประตูวัดเปิดรับผู้ปฏิบัติธรรมตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อให้คนได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมตลอดเวลา ฉันจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า คนเราต้องรู้จักหา รู้จักใช้ รู้จักเก็บ และรู้จักให้”
ขณะเดียวกันพระอาจารย์เทนยังแนะนำเรื่องการทำบุญด้วยว่า "การทำบุญด้วยเของเงินทองในเป็นเรื่องง่ายใครๆ ก็ทำได้ แต่ไม่สู้การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม ซึ่งง่ายิ่งกว่าและได้บุญยิ่งกว่า ไม่ต้อใช้ทรัพย์ ไม่ต้องมีสถานที่ ปฏิบัติธรรมเมื่อไรก็ได้บุญเมื่อนั้น แค่สวดมนต์ทำสมาธิ นับลมหายใจเข้าออกเท่าอายุ ทุกๆ คืนก่อนนอน หรือทุกเช้าก่อนไปทำงานก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่แล้ว"
เส้นทางแห่งความเพียร ๑๘ กม.
พระอาจารย์อุเทน บอกว่า ฉันเดินธุดงค์มาตั้งแรกบวชใหม่ เพื่อแก้ความกลัว สร้างความเพียร บำเพ็ญบารมี จริงๆ แล้วฉันจัดเดินธุดงค์มานานแล้ว แต่คนไม่เยอะเริ่มจากหลัก ๕๐๐ คน แต่ทุกวันนี้เป็นหลักพันแล้ว เดินตั้งแต่อำเภอสวนผึ้งไปถึงธรรมสถานวิโมกสิวาลัย จะใส่รองเท้าหรือไม่ใส่ก็ได้ ส่วนเสื้อผ้านั้นให้ใส่ ๒ สี คือ สีกลัก และสีขาว กำหนดระยะเดิน ๑๘ กิโลเมตร เดินทั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๕ โมงครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาฉันเพล
ไม่มีการพักระหว่างทาง โดยจะสวดมนต์ตลอดทาง ในบทสรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และสวดแผ่เมตตา เมื่อถึงธรรมสถานวิโมกสิวาลัย หลังจากรับทานอาหารพักผ่อนตามอัธยาศัยแล้วก็จะเริ่มปฏิบัติกันเลย โดยจะแยกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑.ผู้ที่มาใหม่เริ่มบวชและรับศีล ๒.กลางใหม่กลางเก่าให้สวดมนต์แปล สวดพระไตรปิฎกแปล และ ๓.ฝึกกรรมฐาน โดยจะเลิกเอาเช้าวันรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง จากนั้นก็ทำวัตรเช้า กินข้าว จากนั้นก็แบ่งฝึกตามกลุ่มต่อไปจนถึงบ่าย ๓ โมง ของวันสุดท้าย
"ทุกคนไปเดินแล้วชีวิตการงานดีขึ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการเดินธุดงค์ก็จะอธิฐานสิ่งที่พึงประสงค์ เช่น การงานสำเร็จ พ่อแม่พี่น้องที่ป่วยก็ให้หายป่วย ให้ลูกหายดื้อ ให้การงานการเงินสะดวกเหมือนกับการเดินธุดงค์ ขอให้สำเร็จในสิ่งประสงค์" พระอาจารย์อุเทนกล่าว