พระเครื่อง

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ...'อ.ตรียัมปวาย'

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ...'อ.ตรียัมปวาย'

14 ส.ค. 2555

มาตรฐานพระสมเด็จฯเรื่องขนาดของพระ..."อ.ตรียัมปวายกับเสี่ยกล้า" : เรื่อง / ภาพโดย ไตรเทพ ไกรงู 0

              "ประเภทของหนังสือพระ" หากพิจารณาตามหลักความเก๊แท้ของภาพพระที่ปรากฏในหนังสือ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ประเภท คือ ๑.หนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ๒.หนังสือพระเก๊ทั้งเล่ม และ ๓.หนังสือพระแท้ปนกับพระเก๊ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า หนังสือพระแท้ทั้งเล่มมีจำนวนมากและครองส่วนแบ่งตลาดหนังสือพระมากที่สุด แต่ที่น่าสนใจคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดหนังสือพระ และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
 
              การจัดพิมพ์หนังสือที่มีภาพพระเก๊ ทั้งเล่ม เท่าที่พบในปัจจุบันมากที่สุดต้องยกให้ การจัดพิมพ์หนังสือพระสมเด็จซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ เล่ม ส่วนพระอื่นๆ ยังไม่มีให้เห็น ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะคุณภาพหนังสือภายนอกไม่เกี่ยวกับภาพพระและเนื้อหาภายใน หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มพิมพ์ได้ดีไม่แตกต่างจากหนังสือพระแท้ทั้งเล่ม ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ หนังสือพระเก๊ทั้งเล่มคุณภาพการพิมพ์และออกแบบดีกว่าด้วยซ้ำ
 
              กรณีการจัดพิมพ์หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมีนายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี วางจำหน่ายตามแผงหนังสือชั้นนำ แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม
 
              ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลใน "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งพระเครื่องไทย" ก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะข้อมูลที่เขียนถึงการวัดขนาดของพระสมเด็จด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์ ซึ่งเมื่อครั้งที่ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย ผู้ขนานนาม "พระเครื่องชุดเบญจภาคี" พิมพ์หนังสือ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อ พระสมเด็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นต้นตำรับแห่งหนังสือพระสมเด็จ ก็มีการใช้เครื่องมือวัดทางวิทยศาสตร์เช่นกัน
 
              ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม ๑ เรื่อง พระสมเด็จ อ.ตรียัมปวาย ได้เขียนถึงขนาดของพระสมเด็จฯ ว่า “เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดขนาดพระสมเด็จเป็นมาตรฐาน เพราะพระสมเด็จนั้นถูกสร้างด้วยพิมพ์หลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็มีขนาดแตกต่างออกไปบ้าง ขณะเดียวกันส่วนผสมของเนื้อไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน บางชนิดเวลาผ่านไปเนื้ออาจจะฟูขึ้น บางชนิดกลับหดตัวลง รวมทั้งการตัดพิมพ์บางคนก็ตัดชิด บางคนก็เหลือปีกไว้มาก ส่วนขนาดความหนาก็เอาความแน่นอนไม่ได้บางคนมือหนักบางคนมือเบา
 
              ทั้งนี้ อ.ตรียัมปวาย ได้วัดนาดของพระไว้ ทุกพิมพ์เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ทรงใหญ่ กว้าง ๒.๓๐ ซม. ยาว ๓.๓๕ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๗๐ ชม. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม. พระสมเด็จวัดบางขุนพรหง พิมพ์ทรงเจดีย์ กว้าง ๒.๒๐ ซม. ยาว ๓.๔๐ ซม. หนา ๐.๔๐-๐.๖๕ ชม.
 
              ส่วนการวัดขนาดของพระสมเด็จในหนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จักรพรรดิแห่งประเครื่องไทยก็มีเช่นกัน แต่วัดคนละจุดกันคือ วัดซุ้มครอบแก้ว ทั้งนี้เสี่ยกล้า ได้อธิบายว่า ขนาดกรอบนอกนั้นเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเป็นมาตรฐาน เพราะขึ้นอยู่กับการตัดในแต่ละครั้ง ขณะเดียวกันด้วยระยะเลาที่สร้างนานการหดตัวของมวลสารองพระแต่ละองค์ย่อมไม่เท่ากัน แต่ที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกองค์ คือ “ซุ้มครอบแก้ว” ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีผู้รู้ ไม่มีหนังสือคู่มือพระสมเด็จเล่มใดเขียนถึง ทั้งนี้ไม่มีการวัดอย่างละเอียด เพียงบอกความสูงขององค์พระโดยประมาณ ทั้งนี้คำว่า “โดยประมาณ” ก็ไม่ได้มีการวัดไม่มีมาตรฐานที่แท้จริง จุดสำคัญนี้ไม่มีเปิดเผย เรียนรู้ยาก จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผิดพิมพ์” หรือไม่ก็ “องค์นี้เล็กไป องค์นี้ใหญ่ไป” ทั้งนี้หากวัดเฉพาซุ้มขอบแก้ว จะได้ข้อยุติเรื่องขนาดของพระสมเด็จ ด้วยเหตุที่ว่า
 
              ๑.ซุ้มครอบแก้วเป็นแม่พิมพ์ส่วนหนึ่งซึ่งแกะพร้อมกับองค์พระ ความสูงของครอบแกวตั้งอยู่ระหว่าง ๓๔.๗ มิลลิเมตร - ๓๕.๓ มิลลิเมตร
 
              ๒.ความสูงของซุ้มครอบแก้ว เป็นส่วนสูที่สุดของแม่พิมพ์ ศึกษาและวิเคราะห์สังเกตได้ง่ายที่สุด
 
              ๓.เมื่อนำพระสมเด็จพิมพ์เดียวกันหลายองค์มาวัดอย่างละเอียด จะพบว่าจะมีขนาดเท่ากัน ใช้เป็นมาตรฐานสากล ส่วนขนาดขององค์นั้นพิมพ์เดียวกันถ้าตดขอบไม่เท่กัน  รวมทั้งเก็บในสภาพต่างกันการหดตัวของมวลสารย่อมไม่ท่ากัน ขนาดภายถึงไม่เป็นมาตรฐาน
 
              “ความสูงของซุ้มครอบแก้วเป็นขนาดที่วัดด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ได้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีความแม่นยำในจุดนี้ย่อมสามารถนำไปเปรียบเทียบเป็นต้นแบบในการพิจารณาพระสมเด็จได้เป็นประกรแรก จากนั้นก็พิจารณาเรื่องมวลสารซึ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ด้วยเหตุที่ว่าในการจัดสร้างพระสมเด็จนั้น ใน ๑ พิมพ์ จะมีกันหลายเนื้อ เพราะว่าระยะเวลาการสร้างนั้นนาน” เสี่ยกล้ากล่าว

ทางเลือกของคนเล่นพระสมเด็จฯ

              เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม ในฐานะที่คนทำหนังสือ เสี่ยกล้า บอกว่า “รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้โกรธแค้นคนที่มาสวดหนังสือแต่อย่างไร ผมทำหนังสือเพื่อขายให้คนที่สนใจพระสมเด็จในแนวของผม ผิดด้วยหรือที่ผมจะซื้อขายพระสมเด็จที่ผมคิดว่าแท้ด้วยเงินของผม ซึ่งที่ผ่านมาผมไม่เคยโต้ตอบหรือสวดพระขององค์กรอื่นๆ น่าจะเปิดใจให้กว้างในเรื่องการเรียนรู้พระเครื่อง
 
              วงการพระเครื่องจะอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน
 
              สำหรับความเห็นที่ไม่ตรงกันขระหว่างกลุ่มผู้เล่นพระนั้น เสี่ยกล้า บอกว่า มีมาอย่างต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงในการจัดสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุ ฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าท่านลงมือสร้างเมื่อใด แต่ก็มีผู้สันนิษฐานที่แอบอ้างว่ามีการสร้างจำนวนน้อย เช่น อ้างว่ามี ๔ พิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีเพียง ๔-๕ แบบบล็อกแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งมีปัญหาว่าทั้งๆ ที่ผู้แอบอ้างว่ารู้ดีนั้นก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน ทำไมจึงไม่คิดว่าแนวการเล่นของกลุ่มตนเป็นการเล่นในแนวที่คับแคบ หลงผิด หรือเล่นเพื่อผูกขาดตัดตอน เคยคิดบ้างไหมว่าแนวทางที่เล่นนั้นผิด ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลายบล็อกแม่พิมพ์อื่นๆ ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นมา