พระเครื่อง

ผ้ายันต์ม้าเสพนางมหานิยมล้านนา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผ้ายันต์ม้าเสพนางมหานิยมที่ล้านนาแต่ที่อื่น"ลามก!" : พระองค์ครู โดยไตรเทพ ไกรงู

              จากกรณีที่มีกลุ่มชาวบ้านต.จำปาหล่อ อ.เมืองอ่างทอง ออกมารวมตัวขับไล่ พระอธิการพรหม กิจจกาโร เจ้าอาวาสวัดจำปาหล่อ หลังมีพฤติกรรมทำคุณไสย ทำเสน่ห์ ไม่ทะนุบำรุงศาสนา อีกทั้งยังออกผ้ายันต์ลามก รูปม้ามีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวเปลือย ซึ่งขนาดประมาณ ๓๐๓๐ ซม.มีอักขระยันต์เขียนไว้โดยรอบ และมีระบุชื่อ "พระอธิการพรหม กิจจกาโร" ไว้บนผ้ายันต์อย่างชัดเจน จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม รวมทั้งทำให้ชาวบ้านสูญเสียความเลื่อมใส

              อ.รามวัชรประดิษฐ์ นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี อธิบายให้ฟังว่า รูปยันต์ม้าเสพนางตามตำราของโบราณมีคติธรรมมีปริศนาธรรมแผงไว้ หาใช่เป็นเครื่องรางทางลามกอนาจารอย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ทำขึ้น โดยแผลงไปจากของโบราณคือให้เป็นไปทางตัณหาราคะอย่างเดียว ซึ่งผิดกับที่โบราณจารย์ท่านสร้างไว้

              ยันต์ม้าเสพนางหรือยันต์อิ่นม้าของล้านนานั้นมีคุณวิเศษอย่างมีประวัติม้าเสพนางเป็นที่รู้จักและนิยมในแวดวงเครื่องรางทางด้านเสน่ห์ของล้านนามานาน เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางที่มาจากทางพม่า เงี้ยว มีมาในล้านนาเมื่อไหร่ไม่มีไครทราบ แต่โบราณล้านนานิยมใช้ยันต์นี้กันมาก เนื่องจากให้ผลทางด้านเสน่ห์รุนแรง ผู้ชายจะไปเที่ยวหาสาวหากได้ติดตัวไปด้วยต้องได้สาว ม้าเสพนางเป็นหนึ่งใน ๔ สุดยอดเสน่ห์ โดยมี ๑.ม้าเสพนาง ๒.วัวเสพนาง ๓.หนูกินน้ำนมแมว และ ๔.วัวกินน้ำนมเสือ

              ตามตำนานเล่าไว้ว่ามีครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวสวยมาก ครอบครัวนี้เลี้ยงม้าตัวผู้อยู่หนึ่งตัวมีลักษณะงามยิ่งนัก หญิงสาวดูแลม้าทุกวันจนเกิดความใกล้ชิดกับอาชาหนุ่ม จึงบังเกิดความรักใคร่ต่อม้าหนุ่ม ต่อมาจึงได้เสพกามกับม้าหนุ่ม ผู้เป็นพ่อได้ทราบเรื่องนี้เข้าจึงโกธรและอับอายมาก ถึงกับฆ่าม้าตัวนั้นตาย หญิงสาวเสียใจมากจึงกลั้นใจตายตามม้าตัวนั้นไป

              อ.รามยังบอกด้วยว่าการทำผ้ายันต์ประเภทนี้ เป็นคติความเชื่อเรื่องการทำเสน่ห์ยาแฝดชนิดหนึ่ง โดยนำความเชื่อที่ว่าอวัยเพศม้ามีขนาดใหญ่โตจะทำให้เพศตรงข้ามเกิดความลุ่มหลง พบมากในทางภาคเหนือของไทย ลวาตอนเหนือ รวมทั้งชายพม่าที่ติดกับในทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นเชื่อในลักษณะเดียวกับเอาส่วนต่างๆ ของสัตว์มาพกติดตัวในลักษณะเครื่องรางของขลัง เขี่ยวหมูป่า งาช้าง เขี้ยวเสือ เขาควาย ต่อมาได้มีการพัฒนาแกะเป็นรูปต่างๆ แล้วแต่สำนักใด เช่น ปลัดขิก เสือ สิงห์ อิ้น เป็นต้น-สิ่งเหล่านี้เป็นพัฒนาการของความเชื่อในสังคมไทยที่หลากหลาย พกพาเพื่อเป็นกำลังใจ การถูกกล่าวหาว่าเป็นเดรัชฉานวิชาเป็นเรื่องธรรมดาของผู้นิยมเครื่องรางของขลัง

              อย่างไรก็ตามภาพลักษณะ"เชิงสังวาส" หรือ "ภาพการเสพเมถุน" ระหว่างคนกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ รวมทั้งคนกับคน มีซ่อนอยู่ในงานวาดจิตกรรมฝาหนังโบสถ์วิหารมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ช่างวาดภาพซ่อนไว้อย่างแนบเนียนชนิดที่เรียกว่าไม่เห็นแน่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ